“หลอดเลือดสมองแตก ไม่เท่ากับ ติดเตียง”
📍 หลายคนคงเคยได้ยินคำพูดว่า "เป็นหลอดเลือดสมอง ต้องติดเตียงแน่นอน" "เป็นโรคนี้แล้วจะกลายเป็นอัมพฤกษ์ อัมพาต ติดเตียงในที่สุด"
แต่ ‘คำพูดเหล่านี้ไม่ได้เป็นจริงเสมอไป’ ไม่จำเป็นว่าผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองทุกคนจะกลายเป็นผู้ป่วยติดเตียง
📍 ภายหลังจากการเกิดโรคหลอดสมองไม่ว่าจะเป็นตีบ แตก หรืออุดตัน แน่นอนว่าความสามารถในการทำงานของสมองส่วนที่ได้รับความเสียหายย่อมเกิดขึ้น ทำให้เกิดความผิดปกติตามมา เช่น กล้ามเนื้ออ่อนแรง ชาแขนขา ยืนเดินไม่ได้ ทำให้ช่วงแรกของการฝึก อาจเกิดความยากลำบาก มีอาการเกร็ง ชา ทรงตัวไม่อยู่ ทำให้ผู้ป่วยหลายคนท้อ และหมดกำลังใจในการฝึก ซึ่งเป็นที่มาของการ ‘ติดเตียง’
—
❤️ ดังนั้น การฟื้นฟูสมองในส่วนอื่น เพื่อให้สามารถทำงานทดแทนสมองในส่วนที่ได้รับความเสียหาย จึงเป็นสิ่งที่สำคัญ โดยเฉพาะในช่วง ‘6 เดือนแรก’
หลังจากเกิดโรคหลอดเลือดสมอง การฟื้นฟูการทำงานของสมอง คือ สร้างการเรียนรู้การทำงานของสมองใหม่ จากส่วนที่เสียหายไป โดย ‘การออกกำลังกายหรือเคลื่อนไหวซ้ำ ๆ อย่างสม่ำเสมอ’ สมองจะค่อย ๆ เรียนรู้และพัฒนาความสามารถในการเคลื่อนไหว ทำให้มีกำลังกล้ามเนื้อเพิ่มมากขึ้น เคลื่อนไหวได้ดีขึ้น ช่วยเหลือตัวเองได้มากขึ้น และมีโอกาสติดเตียงน้อยลง
❤️ นอกเหนือจากแรงกายที่ทำให้ผู้ป่วยแข็งแรงขึ้นแล้ว แรงใจจากคนรอบข้างก็เป็นสิ่งสำคัญเช่นกัน "เราขอเป็นหนึ่งกำลังใจ” ให้กับผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง และครอบครัวของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองทุกคน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น