วันพุธที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2563

Gabapentin (กาบาเพนติน) คุณกำลังทานยานี้อยู่หรือเปล่า

  Gabapentin (กาบาเพนติน)  ถูกนำมาใช้รักษาอาการปลายประสาทอักเสบ เป็นส่วนใหญ่ 



แต่ จริง ๆ แล้ว  Gabapentin (กาบาเพนติน)  เป็นยาในกลุ่มยากันชัก (Anticonvulsant) ที่ส่งผลต่อสารเคมีและระบบประสาทในสมองที่เป็นสาเหตุของอาการชัก และยังในบางกรณี โดยกลไกในการออกฤทธิ์ของยาดังกล่าว คือ เมื่อยากาบาเพนตินเข้าสู่ร่างกาย ตัวยาจะเข้าไปจับกับตัวรับที่อยู่ในสารสื่อประสาท ทำให้อาการชักค่อย ๆ ทุเลาลง ...


สธ.ประกาศใช้นโยบายใช้ยาอย่างสมเหตุผล ลดปัญหาผลข้างเคียง-เชื้อดื้อยา



ผลข้างเคียงที่ร้ายแรง

Gabapentin อาจทำให้เกิดผลข้างเคียงที่รุนแรง ผลข้างเคียงเหล่านี้เป็นเรื่องผิดปกติ อย่างไรก็ตามอาจพบได้บ่อยในผู้ที่เป็นโรคจิตเวช ได้แก่ :

  • พฤติกรรมรุนแรงความก้าวร้าวหรือความโกรธ
  • ความกังวลหรือกระสับกระส่าย
  • ความวิตกกังวลที่เกิดขึ้นใหม่หรือแย่ลง
  • ภาวะซึมเศร้าที่เกิดขึ้นใหม่หรือแย่ลง
  • ความหงุดหงิดที่เกิดขึ้นใหม่หรือแย่ลง
  • คลุ้มคลั่ง
  • การโจมตีเสียขวัญ
  • ความคิดหรือพฤติกรรมฆ่าตัวตาย
  • นอนไม่หลับ (นอนไม่หลับ)
    โทรหาแพทย์ของคุณได้ทันทีหากคุณมีอาการเหล่านี้

ปฏิกิริยาการแพ้

Gabapentin อาจทำให้เกิดอาการแพ้อย่างรุนแรงหรือเป็นอันตรายถึงชีวิต อย่างไรก็ตามนี่เป็นเรื่องที่หายากมาก อาการเหล่านี้อาจเป็นสัญญาณแรกของปฏิกิริยาที่รุนแรง:

  • ผื่นที่ผิวหนัง
  • ลมพิษ
  • หายใจลำบาก
  • ไข้
  • ต่อมบวมที่ไม่หายไป
  • บวมที่ใบหน้าริมฝีปากลำคอหรือลิ้น
  • ผิวเหลืองหรือตาขาว
  • รอยช้ำหรือเลือดออกผิดปกติ
  • อ่อนเพลียหรืออ่อนแออย่างรุนแรง
  • ปวดกล้ามเนื้อโดยไม่คาดคิด
โทรหาแพทย์ของคุณได้ทันทีหากคุณมีอาการเหล่านี้
หรือหากคุณคิดว่าอาการของคุณเป็นอันตรายถึงชีวิต

ผลข้างเคียงของการใช้ผิดประเภท



Gabapentin ไม่ให้ผลเช่นเดียวกับยาที่มักใช้ในทางที่ผิดเช่นเบนโซไดอะซีปีนและยาหลับใน ยังคงมีรายงานการใช้กาบาเพนตินในทางที่ผิด มีกรณีการถอนที่เกิดขึ้นได้ยาก อาการถอน ได้แก่ :
  • ความวิตกกังวล
  • ความสับสน
  • อัตราการเต้นของหัวใจอย่างรวดเร็ว
  • เหงื่อออก
ผลกระทบเหล่านี้เกิดขึ้นเฉพาะในผู้ที่ใช้กาบาเพนตินในปริมาณสูงเป็นระยะเวลานานเพื่อรักษาอาการเจ็บป่วยที่ยาไม่ได้รับการอนุมัติ

หมายเหตุ: Withdrawal Symptoms ความหมายคือ อาการถอนยา, อาการที่เกิดขึ้นเมื่อขาดเหล้า, อาการแสดงของการขาดยา, อาการของการอดยา

ในบรรดาผู้ที่ใช้ยาผิดประเภทส่วนใหญ่มีประวัติการใช้สารเสพติดในทางที่ผิดหรือใช้กาบาเพนตินเพื่อช่วยในการถอนจากสารอื่น พูดคุยกับแพทย์ของคุณหากคุณมีประวัติติดยาหรือใช้ในทางที่ผิด ข้อมูลนี้สามารถช่วยให้แพทย์ของคุณตัดสินใจได้ว่าความเสี่ยงของการใช้ในทางที่ผิดมีมากกว่าประโยชน์ที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้กาบาเพนตินหรือไม่

==========================================================
Gabapentin / Neurontin ยาบรรเทาอาการปวดปลายประสาท ใช้อย่างไร ให้ได้ผลและปลอดภัย

ยาตัวนี้ คนไข้มักงงๆเดินมาถามเภสัชกรร้านยาว่า มันใชัรักษาโลกลมชักหรือปวดปลายประสาท กันแน่นะ

หรือไม่ก้อ gabapentin ต่างจาก pregabalin ไหม? มาฟังคำตอบจากเภสัชกรกันดีกว่า

#gabapentinใช้รักษาโรคอะไรกันแน่?
ความจริงแล้ว Gabapentin เป็นยากันชัก โดยอาจให้คู่กับยากันชักอื่น หรือใช้เดี่ยวๆ หรือใช้ในอาการปวดที่มีสาเหตุจากระบบประสาท ในภาษาทางเภสัชว่า neuropathic pain ซึ่งเป็นกันเย้อะมาก (ฟังคำตอบจากข้างล่างนะ) หรืออาการทางระบบประสาทอื่นๆ

#Neuropathic_painคืออะไรอ่ะ??
ความปวดที่เกี่ยวเนื่องกับระบบประสาท Neuropathic Pain หรือ NeP) คือความปวดเรื้อรังซึ่งเกี่ยวเนื่องกับความผิดปรกติของระบบประสาทอาจเกิดจากการบาดเจ็บของเส้นประสาท ไม่ว่าจะเป็นระบบประสาทรอบนอกหรือระบบประสาทส่วนกลางก็ตาม

อาการของความปวดที่ เกี่ยวเนื่องกับระบบประสาท คืออาการเจ็บปวดที่เกิดจากการบาดเจ็บหรือความผิดปรกติของระบบประสาท เช่น

มีอาการเจ็บเหมือนโดน “แทง” หรือ “เจ็บเหมือนถูกไฟดูด” ปรกติแล้วอาการจะแย่ลงในตอนกลางคืนและมักจะมีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น นอนไม่หลับ ซึมเศร้า หงุดหงิด ไม่มีแรง

โดยอาการทั่วไปของความปวดที่เกี่ยวเนื่องกับระบบประสาท ได้แก่

อาการเจ็บปวดผิดปรกติจากการสัมผัส (Allodynia) หมายถึง การเจ็บปวดที่มีสาเหตุจากสิ่งที่โดยปรกติแล้วจะไม่ทำให้เจ็บ เช่น การสัมผัสเบา ๆ,

อาการเจ็บปวดจากความรู้สึกไวผิดปรกติ (Hyperesthesia) หมายถึง ความเจ็บปวดที่เกิดจากการตอบสนองต่อการสัมผัสไวผิดปรกติ เช่น การสัมผัสกับผ้าปูที่นอน,

อาการเจ็บปวดจากการตอบสนองมากผิดปรกติ (Hyperalgesia) หมายถึง ความเจ็บปวดจากการตอบสนองมากผิดปรกติต่อสิ่งที่ปรกติทำให้เจ็บปวดอยู่แล้ว,

อาการเจ็บปวดยืดเยื้อ (Hyperpathy) หมายถึง อาการเจ็บปวดที่ยังยืดเยื้อหลังจากสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการได้รับการบำบัดหรือกำจัดไปแล้ว

และอาการเจ็บปวดแบบ Paresthesias และ Dysesthesias เป็นความรู้สึกชา เจ็บหรือรู้สึก ผิดปรกติ โดยผู้ป่วยจะให้คำจำกัดความว่า “เจ็บแปลบ” และ “เหมือนโดนเข็มแทง”

โดยปรกติความปวดที่เกี่ยวเนื่องกับประสาทแบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ

1. #ความเจ็บปวดที่ระบบประสาทรอบนอก (Peripheral NeP) มีสาเหตุจากการ บาดเจ็บหรือผิดปรกติของระบบประสาทรอบนอก ได้แก่

การเจ็บปวดที่เกี่ยวเนื่องกับโรคเบาหวาน (Diabetic Peripheral Neuropathy หรือ DPN) ซึ่งเป็นภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวานที่ส่งผลกระทบต่อเนื้อเยื่อประสาท

โรคงูสวัด (Postherpetic Neuralgia หรือ PHN) มีอาการ เจ็บแปลบเรื้อรังหรือเป็น ๆ หาย ๆ บริเวณที่เป็นผื่นงูสวัด

อาการปวดหลังที่เกี่ยวข้องกับระบบประสาท อาการปวด ที่เกี่ยวเนื่องกับเส้นประสาทสมองคู่ที่ห้า (Trigeminal Neuralgia) ซึ่งมีอาการเจ็บแปลบบนใบหน้าบริเวณจมูก ตา ริมฝีปาก และหูเป็นครั้งคราว
อาการปวดที่เกี่ยวเนื่องกับการกดทับของระบบประสาท ซึ่งรวมถึงเส้นประสาทบริเวณข้อมือซึ่งทำให้มีอาการเจ็บปวดที่มือและข้อมือ

อาการเจ็บปวดหลังการตัดขา คือความรู้สึกเจ็บจากบริเวณ ที่ขาถูกตัดออกไป

อาการเจ็บปวดที่เกี่ยวข้องกับระบบประสาทรอบนอกอัน สืบเนื่องจากการติดเชื้อ HIV เป็นอาการเจ็บปวดหลากหลายรูปแบบ ที่พบในผู้ป่วยที่ติดเชื้อ HIV โดยผู้ป่วยที่ติดเชื้อ HIV ถึง 50% จะประสบกับอาการเจ็บปวดชนิดนี้ไปตลอด

อาการเจ็บปวดที่เกี่ยวกับระบบประสาทอันสืบเนื่องจากโรคมะเร็ง (รวมถึงเนื้องอกหรือการรักษาโดยเคมีบำบัด)

อาการเจ็บปวดที่เกี่ยวกับระบบประสาทอันสืบเนื่องจากการ ใช้ยา

2. #ความเจ็บปวดที่ระบบประสาทส่วนกลาง (Central NeP) มีสาเหตุจากการบาดเจ็บหรือผิดปรกติของระบบประสาทส่วนกลาง (รวมถึงสมอง ก้านสมองและกระดูกสันหลัง) ได้แก่

การบาดเจ็บของกระดูกสันหลัง เกิดที่กระดูกสันหลังโดยตรงหรือบริเวณอื่น เช่น การบาดเจ็บของกระดูกและเนื้อเยื่ออ่อน และเส้นเลือดฝอยบริเวณกระดูกสันหลัง

โรคปลอกหุ้มเส้นประสาทอักเสบ (Multiple Sclerosis: MS) มีอาการเจ็บปวดบริเวณปลายมือและเท้าหลายแห่ง

อาการเจ็บปวดภายหลังจากเส้นโลหิตในสมองแตก หมายถึง อาการเจ็บปวดที่เกี่ยวเนื่องกับประสาทในบริเวณที่ได้รับผลกระทบจากเส้นโลหิตในสมองแตก

อย่าไปท่องจำเลยครัช มีอาการอย่างไหน ไปหาหมอดีกว่า เค้าจะช่วยดูแลอาการสารพัดทั้งหลายให้คุณๆเอง

#ยารักษาโรคปวดปลายประสาทใช้ตัวไหนได้บ้าง?
ในการรักษาคนไข้ที่มีความทุกข์ทรมานจากความเจ็บปวดเรื้อรัง หลายท่านมีความเชื่อว่า ยาแก้ปวดทั่วไปที่เราใช้กันเป็นประจำ น่าจะช่วยเหลือคนไข้ได้
เช่นยาในกลุ่มต่อไปนี้

o Non-opiods ซึ่งได้แก่ acetaminophen, non-steroidal anti-anflammatory agent (NSAIDs),

#Opiods และ co-analgesics

โดยทั่วไป ยาในกลุ่ม non-opiods ใช้ได้ผลดีในรายที่ได้รับบาดเจ็บตามธรรมดา (acute pain) แต่จะไม่ค่อยได้ผลในรายที่เป็นการอาการจาก neuropathic pain

ในคนไข้ที่เป็น neuropathic pain จะตอบสนองต่อยาแก้ปวดในกลุ่ม opioids และ co-analgesicsเพียง 30 % เท่านั้นเอง

ปัจจุบัน FDAได้ยอมรับยา 5 ตัว ให้นำมาใช้รักษาคนไข้ neuropathic pain
ซึ่งได้แก่:

#Carbamazepine (#Tegretol) ใช้รักษาโรค trigeminal neuralgia

#Gabapentin (#neurontin) และ Transdermal lidocaine ใช้รักษาพวก postherpetic neuralgia

#Duloxetine (#cymbalta) สำหรับ diabetic neuropathy และ

#Pegabalin (#Lyrica) ใช้รักษา diabetic neuropathy และ prosthetic neuropathic neuralgia

ในปัจจุบัน มียาหลายตัวที่ถูกพิจารณาว่า เป็นยา First-line ที่รับการยอมรับว่า เป็นยาที่ใช้รักษาคนไข้
ที่มีอาการneuropathic pain ซึ่งได้แก่:

o Gabapentin
o 5% lidocaine transdermal patch
o Opiod analgesics
o tramadol hydrochloride
o Tricyclic antidepressants
o Serotonin norepinephrine re-uptake inhibitor (SNRIs)
o Anti-depressant และ
o Pegabalin

ทั้งหมด จัดเป็น first-line drugs ที่นำมาใช้รักษาคนไข้ที่เป็น neuropathic pain

#gabapentinคือยาอะไร?
มาถึง ยาตัวเก่งของเราแล้ว กาบาเพนติน (Gabapentin) เป็นยาที่รู้จักกันดีในชื่อการค้าว่า นิวรอนติน (Neurontin) ผู้ผลิตคือ บริษัท Pfizer แต่ตอนนี้มีบริษัทยาในไทยผลิตออกมาตรึม ลองถามเภสัชกรดูนะ

ยานี้ถูกสังเคราะห์ให้มีโครงสร้างคล้ายสารสื่อประสาทของสมองมนุษย์ที่เรียกว่า GABA และถูกนำไปใช้รักษาอาการชัก รวมไปถึงอาการปวดตามเส้นประสาท

#กาบาเพนตินใช้รักษาโรคอะไร?
1. ใช้รักษาอาการชักชนิดที่เรียกว่า Partial Seizures

2. รักษาอาการ #ปวดตามเส้นประสาท

#กาบาเพนตินมีกลไกการออกฤทธิ์อย่างไร?
ยากาบาเพนตินจะออกฤทธิ์ยับยั้งการหลั่งของสารสื่อประสาท ที่เรียกว่า Mono-amine neurotransmitters อีกทั้งลดความตื่นตัวของเซลล์ประสาทส่วนที่เรียกว่า แอกซอน(Axon) นอกจากนี้ยังเข้าไปรบกวนการแลกเปลี่ยนแคลเซียมของเซลล์ประสาทในสมอง (Cortical Neurons) ด้วยกลไกข้างต้น จึงสามารถบรรเทาอาการชักและลดอาการเจ็บปวดที่เกิดจากเส้นประสาทได้

#กาบาเพนตินมีรูปแบบการจัดจำหน่ายอย่างไร?
กาบาเพนติน มีรูปแบบการจัดจำหน่าย ดังนี้คือ

1. ชนิดบรรจุแคปซูล ขนาดความแรงยา 100, 300, 400 มิลลิกรัม

2. ชนิดเม็ด ขนาดความแรงยา 600 มิลลิกรัม

#กาบาเพนตินมีขนาดรับประทานอย่างไร?
ไม่แนะนำให้ไปซื้อหามากินเองครับ มีอาการปวดใดๆไปหาหมอเถิดครับ

กาบาเพนตินนี้ สามารถรับประทานก่อนหรือหลังอาหารก็ได้ แพทย์จะเป็นผู้พิจารณาสั่งจ่าย พร้อมปรับขนาดการรับประทานตามความเหมาะสม

#ขนาดที่รักษาอาการชัก
ในผู้ใหญ่และเด็กอายุ 12 ปีขึ้นไป รับประทาน 900 – 3,600 มิลลิ กรัม/วัน โดยแบ่งรับประทานในวันแรก รับประทานครั้งละ 300 มิลลิกรัม วันละ 3 ครั้ง จากนั้นแพทย์จะปรับขนาดรับประทานตามความเหมาะสม และผู้ป่วยสามารถรับยาได้สูงสุดไม่เกิน 3,600 มิลลิกรัม/วัน

#ขนาดที่รักษาอาการชักในเด็ก อายุ 3 - 12 ปี รับประทาน 10–15 มิลลิกรัม/น้ำหนักตัวเด็ก 1 กิโลกรัม/วัน โดยแบ่งรับประทานวันละ3 ครั้ง จากนั้นแพทย์จะเป็นผู้ปรับขนาดการรับประทานตามอายุ และตามอาการของเด็ก

#ขนาดที่ใช้รักษาอาการปวดของเส้นประสาท ในผู้ใหญ่รับประทาน 900 มิลลิกรัม/วัน โดยแบ่งรับประทาน 3 ครั้ง/วัน และปรับขนาดรับประทานสูงสุด (โดยแพทย์) ไม่เกิน 3,600 มิลลิกรัม/วัน

หากผู้ป่วยมีไตทำงานบกพร่อง แพทย์จะเป็นผู้ปรับขนาดการรับประทานยาอย่างเหมาะสมเป็นรายๆไป

#กาบาเพนตินมีผลไม่พึงประสงค์อย่างไร?
กาบาเพนตินนี้ มีผลข้างเคียงดังนี้จ้า
ให้เกิดอาการหน้าบวม มีความดันโลหิตสูง กล้ามเนื้ออ่อนแรง ท้องอืด เบื่ออาหาร เวียนศีรษะ วิตกกังวล และ/หรือความ รู้สึกและการตอบสนองของร่างกายต่อสิ่งต่างๆลดลง อาจติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ อาจมีการมองเห็นภาพพร่ามัว/ตาพร่า/ตามัว ในเด็กอาจพบว่า มีอาการไข้ คลื่นไส้หรืออาเจียน และ/หรือสามารถพบการติดเชื้อไวรัสร่วมด้วยได้

#ข้อควรระวังการใช้ยากาบาเพนติน?
ข้อควรระวังในการใช้ยากาบาเพนติน ได้แก่

ห้ามใช้กับผู้ที่แพ้ยานี้

ห้ามใช้กับผู้หญิงมีครรภ์และหญิงที่อยู่ในภาวะให้นมบุตร ด้วยก่อให้เกิดการวิกลรูปของ ทารก อีกทั้งขับออกทางน้ำนม

ขณะใช้ยาไม่ควรทำงานกับเครื่องจักรหรือขับขี่ยานพาหนะ เพราะการควบคุมการทำงานของร่างกาย อาจไม่เป็นไปตามปกติ จนก่อให้เกิดอุบัติเหตุได้

การได้รับยาเกินขนาดจะส่งผลให้มีอาการดังนี้ วิงเวียนจนเสียการทรงตัว ตาพร่ามัว พูด จาไม่ชัด ง่วงนอน ท้องเสีย ควรต้องรีบนำส่งแพทย์เพื่อทำการรักษาโดยเร็ว

ไม่แน่ใจอะไร แวะไปถาม #เภสัชกรใจดี ที่ร้านยาใกล้ๆบ้านคุณได้เลยน้าาาาาา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น