วันศุกร์ที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2558

แนะนำยาแก้ท้องผูกที่ดีที่สุด Senokot







เซนโนไซด์ (Sennosides) หรือที่มักรู้จักกันในชื่อการค้าว่า ยาเซโนคอต (Senokot) เป็นอนุพันธุ์ของสาร Anthraquinone มนุษย์สกัดได้จากใบของต้นมะขามแขก (จึงเป็นที่มาของอีกชื่อ ของยาตัวนี้ คือ ‘มะขามแขก’) นำมาใช้ประโยชน์เป็นยาระบาย (ยาแก้ท้องผูก) ตลาดวงการยาบ้านเราสามารถพบในรูปแบบของสารสกัดแล้วนำมาผลิตเป็นยาเม็ดหรือยาแค็ปซูล หรือรูปแบบของชาชงดื่มโดยใช้ใบมะขามแขกแทนใบชา หรือผลิตเป็นรูปยาน้ำสำหรับเด็ก สำหรับประเทศไทยมีการจดทะเบียนยาทั้งแผนปัจจุบัน (รูปแบบของสารสกัด) และยาแผนโบ ราณ (รูปแบบชาชง) ถือเป็นทางเลือกของประชาชนในการใช้ผลิตภัณฑ์ หาซื้อได้ตามร้านขายยาทั่วไป อีกทั้งยังมีใช้ในหลายโรงพยาบาล
การใช้ยาเซนโนไซด์ให้ถูกต้องและปลอดภัย ควรต้องปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรทุกครั้ง และผู้ป่วยมักจะได้รับคำแนะนำให้หยุดใช้ยาเมื่อระบบการขับถ่ายกลับมาเป็นปกติ

ยาเซนโนไซด์มีสรรพคุณ (คุณสมบัติ) อย่างไร?

สรรพคุณของยาเซนโนไซด์ คือ
เป็นยาระบาย (ยาแก้ท้องผูก) บำบัดรักษาอาการท้องผูก
ยาเซนโนไซด์มีกลไกการออกฤทธิ์อย่างไร?

กลไกการออกฤทธิ์ คือ หลังรับประทานยาเซนโนไซด์ ตัวยาจะถูกเปลี่ยนโครงสร้างโดยแบคทีเรียภายในลำไส้ และได้สารสำคัญคือ Rheinanthrone ซึ่งจะช่วยให้ลำไส้ใหญ่มีการ เคลื่อนตัวมากขึ้นส่งผลให้เกิดความรู้สึกอยากขับถ่ายในที่สุด โดยกระบวนการดังกล่าวจะเกิดขึ้นหลังรับประทานยาไปแล้ว 6 – 12 ชั่วโมง
ยาเซนโนไซด์มีรูปแบบการจัดจำหน่ายอย่างไร?

ยาเซนโนไซด์มีการจัดจำหน่ายในรูปแบบของ ยาเม็ด โดยมีปริมาณสารสำคัญ 7.5 มิลลิ กรัมต่อเม็ด
ยาเซนโนไซด์มีขนาดรับประทานอย่างไร?

ขนาดรับประทานของยาเซนโนไซด์ คือ
ผู้ใหญ่และเด็กอายุมากกว่า 12 ปี รับประทาน 2 – 5 เม็ดต่อวัน
เด็กที่อายุมากกว่า 6 ปี รับประทาน 1 – 2 เม็ดต่อวัน
ทั้งนี้ สามารถรับประทานยาเซนโนไซด์ ก่อนหรือหลังอาหารก็ได้ และควรฝึกการขับถ่ายให้เป็นไปตามธรรมชาติและหยุดการใช้ยา
เมื่อมีการสั่งยา ควรแจ้งแพทย์/พยาบาล และเภสัชกรอย่างไร?
 เมื่อมีการสั่งยาทุกชนิดรวมถึงยาเซนโนไซด์ ผู้ป่วยควรแจ้งแพทย์/พยาบาล และเภสัชกร ดังนี้
ประวัติแพ้ยาทุกชนิด เช่น กินยาแล้ว คลื่นไส้มาก ขึ้นผื่น หรือ แน่นหายใจติดขัด/หายใจลำบาก
มีโรคประจำตัวต่างๆ รวมทั้งกำลังกินยาอะไรอยู่ เพราะยาเซนโนไซด์ อาจส่งผลให้อา การของโรคเหล่านั้นรุนแรงขึ้น หรือเกิดปฏิกิริยาระหว่างยากับยาอื่นๆที่กินอยู่ก่อน
หากเป็นสุภาพสตรี ควรแจ้งว่าอยู่ในภาวะตั้งครรภ์ หรือ กำลังให้นมบุตร เพราะยาหลาย ประเภทสามารถผ่านทางน้ำนมหรือรกและเข้าสู่ทารก จนก่อให้เกิดผลข้างเคียงได้
หากลืมรับประทานยาควรทำอย่างไร?
 หากลืมรับประทานยาเซนโนไซด์ สามารถรับประทานเมื่อนึกขึ้นได้ ถ้าเวลาใกล้เคียงกับการรับประทานยาในมื้อถัดไป ไม่จำเป็นต้องเพิ่มปริมาณยาเป็น 2เท่า
ยาเซนโนไซด์มีผลไม่พึงประสงค์อย่างไร?

ผลไม่พึงประสงค์ของยาเซนโนไซด์ คือ อาจก่อให้เกิดอาการไม่สบายในระบบทางเดินอาหาร รบกวนสมดุลของเกลือแร่ในร่างกายโดยเฉพาะเกลือโพแทสเซียม บางคนอาจมีอาการท้องเสีย และลำไส้ใหญ่จะทำงานน้อยลง เพราะต้องการยาเข้าไปกระตุ้นหรือพูดเป็นภาษาง่าย ๆว่าลำไส้เริ่มดื้อยา
มีข้อควรระวังการใช้ยาเซนโนไซด์อย่างไร?

ข้อควรระวังในการใช้ยาเซนโนไซด์ คือ
ห้ามใช้ยาเซนโนไซด์กับผู้ป่วยที่มีภาวะลำไส้อุดตัน
ห้ามใช้ยาเซนโนไซด์กับผู้ที่มีอาการปวดท้อง เช่น เป็นไส้ติ่งอักเสบ แผลในกระเพาะอาหาร และ/หรือในลำไส้ เป็นต้น
ระวังการติดยาเซนโนไซด์ และควรฝึกขับถ่ายตามธรรมชาติ
การใช้ยาเซนโนไซด์เป็นเวลานานๆ ต้องระวังเรื่องลำไส้อักเสบติดตามมา
ระวังเรื่องการขาดน้ำและเกลือแร่ เพราะเซนโนไซด์มีฤทธิ์เป็นยาระบาย
ห้ามใช้ยาเซนโนไซด์กับหญิงมีครรภ์ในช่วง 3 เดือนแรก
ห้ามใช้ยาหมดอายุ
***** อนึ่ง
ทุกคนต้องตระหนักถึงความปลอดภัยจากการใช้ยาที่รวมถึง ยาแผนปัจจุบันทุกชนิด(รวมยาเซนโนไซด์ด้วย) ยาแผนโบราณทุกชนิด และสมุนไพรต่างๆเสมอ เพราะยามีทั้งให้คุณและให้โทษ ดังนั้นเมื่อมีการใช้ยาทุกชนิด ควรต้องปฏิบัติตามข้อปฏิบัติพื้นฐานในการใช้ยาทุกชนิดเสมอ (อ่านเพิ่มเติมได้ในเว็บ haamor.com บทความเรื่อง ข้อปฏิบัติพื้นฐานในการใช้ยาทุกชนิด) รวมทั้งควรต้องปรึกษาเภสัชกรประจำร้านขายยาก่อนซื้อยาใช้เองเสมอด้วยเช่นกัน
ยาเซนโนไซด์มีปฏิกิริยาระหว่างยากับยาตัวอื่นอย่างไร?

ปฏิกิริยาระหว่างยาของยาเซนโนไซด์กับยาอื่น คือ
การใช้ยาเซนโนไซด์ร่วมกับยาต้านการอักเสบสเตียรอยด์ (Steroid) อาจเสี่ยงกับภาวะร่างกายขาดน้ำและเกลือแร่โดยเฉพาะเกลือโพแทสเซียม เป็นเหตุให้เกิดภาวะกล้ามเนื้ออ่อนแรง การหายใจ และการกลืนลำบาก หัวใจเต้นผิดจังหวะเป็นตะคริวที่ท้อง สับสน คลื่นไส้ อา เจียน ปากแห้ง กระหายน้ำ เจ็บหน้าอก ขาบวม ยาต้านการอักเสบดังกล่าว เช่น Hydrocorti sone, Prednisolone, Triamcinolone
การใช้ยาเซนโนไซด์ร่วมกับยาลดอาการบวมน้ำ อาจก่อให้เกิดภาวะขาดน้ำและเกลือแร่ เป็นสาเหตุให้เกิดอาการเหล่านี้ตามมา เช่น หัวใจเต้นผิดจังหวะ ชัก ไตทำงานผิดปกติ วิงเวียน ปากแห้ง ร่างกายอ่อนแรง ปัสสาวะน้อยลง เป็นตะคริว ยาลดอาการบวมน้ำดังกล่าว ได้แก่ Chlo rothiazide, Hydrochlorothiazide, ยา Furosemide
การใช้ยาเซนโนไซด์ร่วมกับยาต้านเชื้อแบคทีเรีย (ยาปฏิชีวนะ) บางตัว อาจเพิ่มความเสี่ยงกับการลดระดับแมกนีเซียมและโพแทสเซียมในร่างกาย และนำมาซึ่งอาการต่างๆเหล่านี้ เช่น วิงเวียนศีรษะ เป็นลม อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย ง่วงนอนสับสน ปวดกล้ามเนื้อ เป็นตะคริว คลื่นไส้ อาเจียน ยาต้านเชื้อแบคทีเรียดังกล่าว เช่น Azithromycin, Ciprofloxacin, Erythromy cin, Sparfloxacin
การใช้ยาเซนโนไซด์ร่วมกับยารักษาภาวะซึมเศร้าหรือกลุ่มยารักษาโรคจิต สามารถก่อ ให้เกิดภาวะเกลือแร่บางตัวในร่างกายตกต่ำ และมีอาการต่างๆเหล่านี้ตามมา เช่น วิงเวียนศีรษะ อ่อนเพลีย เป็นลม ปวดกล้ามเนื้อ เป็นตะคริว คลื่นไส้อาเจียน สับสน หัวใจเต้นผิดจังหวะ ยารัก ษาภาวะซึมเศร้าหรือโรคจิตดังกล่าว ได้แก่ Fluoxetine และ Perphenazineตามลำดับ
ควรเก็บรักษายาเซนโนไซด์อย่างไร
 
การเดินทางของยาทางปาก
อาหารเข้าสู่ร่างกายผ่านทางปากซึ่งจะมีการเคี้ยว การดำเนินการนี้จะช่วยในการสลายอาหารที่ทำให้มันถูกกลืนและใส่หลอดอาหาร / ท่ออาหาร การดำเนินการเคี้ยวยังปล่อยเอนไซม์ที่ช่วยในการทำลายลงอาหารในการเตรียมความพร้อมสำหรับกระบวนการย่อยอาหาร

Oesophagus / ท่ออาหาร (หลอดอาหาร)
เม็ด Senokot เดินทางลงหลอดอาหารตามปกติ

กระเพาะอาหาร
ในกระเพาะอาหารเม็ด Senokot จะแบ่งออกเป็นอนุภาคขนาดเล็กปล่อย sennosides ซึ่งเป็นส่วนผสมที่ใช้งานที่รับผิดชอบในการบรรเทาอาการท้องผูก

ลำไส้เล็ก
sennosides ผ่าน unabsorbed ลำไส้เล็กแล้วผ่านเข้าสู่ลำไส้ใหญ่ในทางปกติ

ลำไส้ใหญ่ (Colon)
sennosides จะเปิดใช้งานแล้วและเริ่มที่จะค่อยๆกระตุ้นกล้ามเนื้อในผนังของลำไส้ใหญ่ ในการทำเช่น sennosides ช่วยส่งเสริมการหดตัวของกล้ามเนื้อปกติและการพักผ่อนและช่วยฟื้นฟู peristalsis นี้จะช่วยให้การใด ๆ อุจจาระแข็งและแห้งที่ได้สะสมในลำไส้ใหญ่และทวารหนักที่จะผ่านออกจากร่างกายในทางปกติ

ไส้ตรง
นี้เป็นหลักอ่างเก็บน้ำเก็บรักษาที่ปลายของลำไส้ใหญ่และอยู่ติดกับทวารหนักสำหรับสะสมอุจจาระก่อนที่จะมีการกำจัดออกจากร่างกาย

2 ความคิดเห็น:

  1. คุณกำลังโพสต์โพสต์ดีมาก คำแนะนำที่ให้ไว้ในบล็อกนี้เป็นสิ่งที่สำคัญที่เกิดขึ้นจริงสำหรับเรา ให้ใช้งานร่วมกันในอนาคต

    ลดความอ้วน | การควบคุมน้ำหนัก

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. ขอบคุณที่ให้กำลังใจค่ะ เขียนมาอีกนะคะ

      ลบ