วันอังคารที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2566

วิธีคํานวณค่า BMI สูตรคำนวณดัชนีมวลกาย บอกอะไรได้บ้าง

 

“การคำนวณค่า BMI” เป็นวิธีการประเมินลักษณะร่างกายของมนุษย์ในยุคปัจจุบันที่ได้รับการยอมรับในระดับสากล โดยทุกสถาบันการรักษา ความงาม หรือฟิตเนส และสถาบันอื่น ๆ ต่างใช้สูตรคำนวณ BMI เพื่อหาค่าดัชนีมวลกายของผู้ใช้บริการ มาเป็นปัจจัยหลักในการดำเนินธุรกิจ 

ดังนั้นเราจะพาผู้อ่านทำความเข้าใจเรื่องการคำนวณค่า BMI ที่ดูเป็นการคาดคะเนผลลัพธ์ BMI ที่ดูซับซ้อน ให้เป็นเรื่องที่เข้าใจง่าย และคุณสามารถนำตัวคำนวณ BMI สูตรนี้ ไปใช้งานได้จริง ซึ่งเนื้อหาโดยรวมเป็นอย่างไรบ้าง ไปเรียนรู้พร้อมกันได้ในบทความนี้ 

ค่าดัชนีมวลกาย (BMI)

ค่าดัชนีมวลกาย (BMI : Body Mass Index) เป็นข้อมูลดัชนีทางคณิตศาตร์ ที่ใช้การวัดจากน้ำหนัก (Weight) และส่วนสูง (Height) มาคำนวณค่า BMIเพื่อหาค่าผลลัพธ์ของปริมาณไขมันทั้งหมด เมื่อหาคำนวณมวลร่างกายเรียบร้อย ทางแพทย์จะนำคำตอบนี้ในการประเมินสภาวะลักษณะร่างกายของผู้ใช้บริการในปัจจุบัน ว่าเกณฑ์น้ำหนักของคุณถูกประเมินอยู่ในระยะร่างกายรูปแบบไหน

วิธีคำนวณ BMI ในการหาค่าดัชนีมวลกาย = น้ำหนักตัว [กิโลกรัม] ÷ ส่วนสูง [เมตร] ยกกำลังสอง


ยกตัวอย่างเช่น ผู้หญิง น้ำหนัก 50 กิโลกรัม ส่วนสูง 160 เซนติเมตร 

ดัชนีมวลกาย (BMI) = 50 ÷ (1.60 * 1.60)

ดัชนีมวลกาย (BMI) = 50 ÷ 2.56 

ดัชนีมวลกาย (BMI) = 19.5 

ขี้เกียจคำนวนเอง ใช้ โปรแกรมคำนวณ เลยค่ะ

เมื่อได้คำตอบค่าคำนวณดัชนีมวลกายแล้ว ให้นำตัวเลขนี้ไปเปรียบเทียบตารางเกณฑ์ BMI ตามเพศสภาพของตัวเอง(หรืออ่านข้อมูลด้านล่าง)

ตารางเปรียบเทียบค่า BMI


ระดับ < 18.5 สภาวะ “น้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์”

บุคคลที่มีค่า BMI ในเกณฑ์ระดับน้ำหนักต่ำกว่ามาตรฐาน มีภาวะความเสี่ยงสูงที่ร่างกายขาดสารอาหารในการหล่อเลี้ยงภายในร่างกายได้ไม่เพียงพอ ส่งผลกระทบให้ร่างกายอ่อนเพลียง่าย ภูมิคุ้มกันพกบร่อง การออกกำลังกายควบคู่กับการรับประทานอาหารที่มีส่วนประกอบโปรตีนสูง จะช่วยทำให้กล้ามเนื้อแข็งแรงและมีสารอาหารมากพอไปซ่อมแซมการทำงานของอวัยวะภายในได้อย่างเพียงพอ
 
ระดับ 18.5 - 22.9 สภาวะ “น้ำหนักสมส่วน”

บุคคลที่ค่า BMI อยู่ในเกณฑ์ระดับน้ำหนักตามมาตรฐาน เป็นกลุ่มบุคคลที่มีภาวะเสี่ยงต่อโรคแทรกซ้อนจากโรคอ้วนได้น้อยที่สุด ควรรักษาความสุมดลของค่า BMI ระดับนี้ไว้อย่างสม่ำเสมอ และหมั่นตรวจเช็คการคำนวณค่า BMI จากการตรวจสุขภาพประจำปี เพื่อเป็นผลชี้วัดในการตรวจเช็คมวลร่างกายอยู่เสมอ
 
ระดับ 23.0 - 24.9 สภาวะ “น้ำหนักเกินมาตรฐาน”
 
บุคคลที่มีค่า BMI อยู่ในเกณฑ์ระดับเกินตามมาตรฐาน มีภาวะความเสี่ยงที่เกิดโรคแทรกซ้อนที่เกิดจากโรคอ้วนได้ ควรควบคุมปริมาณไขมันในร่างกายตัวเอง ด้วยการเลือกทานอาหารที่มีโปรตีนสูง หมั่นออกกำลังกาย และพักผ่อนให้เพียงพอตลอดกิจวัตรประจำวัน เพื่อลดระดับไขมันให้กลับมาอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน
 
ระดับ 25.0 - 29.9 สภาวะ “อ้วน”
 
บุคคลที่คํานวณค่า BMI แล้วอยู่ในเกณฑ์ระดับเกินตามมาตรฐานมาก มีภาวะความเสี่ยงที่เกิดโรคแทรกซ้อนที่เกิดจากโรคอ้วนได้สูง ควรควบคุมปริมาณไขมันในร่างกายตัวเองแบบเร่งด่วน ด้วยการปรับเปลี่ยนวิถีการกินที่เน้นสุขภาพให้มากขึ้น พร้อมออกกำลังกาย และงดทานของจุบจิบในยามท้องว่าง แล้วดื่มน้ำอย่างต่ำ 8 แก้วต่อวัน พร้อมกับพักผ่อนให้เพียงพอ และติดตามผล BMI ตลอดในช่วงควบคุมน้ำหนัก
 
ระดับ 30.0 > สภาวะ “อ้วนมาก”
 
บุคคลที่มีค่า BMI อยู่ในเกณฑ์ระดับสูงเกินตามมาตรฐานมาก มีภาวะความเสี่ยงที่เกิดโรคแทรกซ้อนที่เกิดจากโรคอ้วนได้สูงที่สุด ควรทำการนัดพบแพทย์เพื่อรับยาในการควบคุมปริมาณน้ำตาลในเลือด พร้อมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการทานให้เป็นอาหารสุขภาพ งดทานอาหารที่เพิ่มมวลไขมันแก่ร่างกาย และหมั่นออกกำลังกายเป็นกิจวัตรประจำวันอย่างสม่ำเสมอ พักผ่อนให้เพียงพอ แล้วดื่มน้ำอย่างต่ำ 10-12 แก้วต่อวัน และติดตามผล BMI ตลอดในช่วงควบคุมน้ำหนัก

ข้อจำกัดของค่า BMI

เนื่องจากการคำนวณดัชนีมวลกายเพื่อหาความสัมพันธ์เกี่ยวกับปริมาณไขมันในมวลร่างกายของผู้ใช้บริการนั้นมีข้อจำกัดทางด้านเพศ อายุ รวมถึงปริมาณกล้ามเนื้อของบุคคลบางกลุ่ม ที่ทำให้ผลการคำนวณค่า BMI มีผลที่แตกต่างออกไป ดังต่อไปนี้

 การคำนวณ BMI ผู้หญิง มีแนวโน้มที่ปริมาณไขมันในร่างกายสูงกว่าผู้ชาย เนื่องจากฮอร์โมนเพศหญิงช่วยเร่งสารอาหารให้เป็นไขมันได้ง่ายกว่าผู้ชาย ซึ่งทำให้การคำนวณดัชนีมวลกายผู้ชายในการตรวจดูไขมัน พบแค่ 15% ในขณะผู้หญิงพบถึง 25% ของมวลไขมันทั้งหมด

ผู้ที่อายุมากกว่า มีโอกาสสูงที่ปริมาณไขมันสะสมมากกว่าผู้ที่อายุน้อยกว่า

นักกีฬาที่ได้รับการฝึกฝนร่างกายทางกายภาพสูง จะมีผลการคำนวณค่า BMI ที่มีมวลกล้ามเนื้อสูงกว่าปริมาณไขมันในองค์ประกอบร่างกายมากกว่าคนทั่วไป

ความเสื่ยงเมื่อมีค่า BMI สูงเกินไป


โดยทั่วไป ความเสี่ยงของค่าเฉลี่ยจากการคำนวณค่า BMI ที่สูงเกินไป มีปัจจัยการเกิดปัญหาโรคอ้วนต่างๆ ดังต่อไปนี้

  •  โรคความดันโลหิตสูง
  • โรคไขมันในเลือดสูง
  • โรคตับ นิ่วในถุงน้ำดี
  • โรคเบาหวาน
  • โรคหลอดเลือดสมอง
  • โรคนอนหลับแล้วหยุดหายใจ

    วิธีควบคุมค่า BMI ให้อยู่ในเกณฑ์เหมาะสม
1. การออกกำลังกาย
การออกกำลังกาย ช่วยพัฒนาศักยภาพทางด้านกายภาพของผู้ป่วยให้มีความแข็งแรงมากขึ้น เพิ่มภูมิต้านทาน ช่วยทำให้สภาพจิตใจเบิกบานแจ่มใส ลดความเครียด อีกทั้งระบบภายในร่างกายสามารถทำงานได้ดียิ่งขึ้น ช่วยชะลออายุอวัยวะภายในให้มีการใช้งานที่ยืนยาว และสร้างภูมิคุ้มกันให้ร่างกายป้องกันจากโรคแทรกซ้อนจากโรคอ้วนอีกด้วย

เมื่อผู้ป่วยออกกำลังกายเป็นกิจวัตรประจำวัน จะช่วยทำให้สรีระร่างกายที่เคยอ้วนท้วม กลับมามีรูปร่างที่สมส่วน กระชับ และเปลี่ยนปริมาณไขมันบางส่วนให้เป็นกล้ามเนื้อที่แข็งแรง การคำนวณค่า BMI ที่มีค่าเฉลี่ยตัวเลขสูงก็จะลดลงตามความถี่ของผู้ป่วย มีวินัยในการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ  

2. การเลือกรับประทานอาหารที่มีไขมันต่ำ



ในกรณีที่ผู้ป่วยมีเกณฑ์การคำนวณค่า BMI ที่อยู่สูงกว่าระดับมาตรฐาน การเลือกรับประทานอาหารที่มีไขมันต่ำแต่ให้พลังงานสูง จะช่วยทำให้อิ่มท้อง และได้รับสารอาหารที่มีประโยชน์ในการหล่อเลี้ยงไปตามส่วนต่าง ๆ ของอวัยวะภายในของร่างกาย และลดความเสี่ยงการเกิดโรคอ้วนอีกเช่นกัน

ยกตัวอย่างสารอาหารที่เป็นโปรตีนอย่าง เนื้อปลา อกไก่ และถั่วตระกูลอัลมอนต์ ที่ให้คุณค่าทางสารอาหารแก่ร่างกาย และควรหลีกเลี่ยงวัตถุดิบอย่าง น้ำมัน แป้ง ในการมาเป็นส่วนประกอบอาหารที่เพิ่มปริมาณไขมันในร่างกาย
 
3. พักผ่อนให้เพียงพอ
การพักผ่อนให้เพียงพอ อย่างน้อยวันละ 8 ชั่วโมง เป็นอีกหนึ่งวิธีการที่ช่วยป้องกันการเกิดโรคอ้วนและโรคแทรกซ้อนต่าง ๆ ได้อย่างดี เนื่องจากช่วงเวลาพักผ่อน อวัยวะภายในจะทำการซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ ที่ได้รับภาระการทำกิจกรรมหนัก ๆ มาทั้งวัน ทำให้เป็นวิธีฟื้นฟูสภาพร่างกายให้กลับมาแข็งแรง และฟื้นฟูสภาพจิตใจของผู้ป่วยให้มีสุขภาพจิตที่แจ่มใส พร้อมใช้ชีวิตวันรุ่งขึ้นได้ต่อไป
 

3 ความคิดเห็น:

  1. ของเรา 17.9 น้ำหนักน้อย / ผอม ต้องกินอีก

    ตอบลบ
  2. สามารถกดคำนวนได้ที่ลิ้งค์นี้
    https://www.bangkokhospital.com/page/bmi

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. กดไม่ได้ ก็อปปีี้ไปวางในไลน์หรือ เมสเซ็นเจอร์ก่อนก็ได้ค่ะ

      ลบ