วันพฤหัสบดีที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2565

ปวดไหล่ ในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง!

ปวดไหล่ !



หนึ่งในภาวะแทรกซ้อนที่พบได้บ่อยในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง มีรายงานว่า ผู้ป่วยที่มีภาวะอัมพาตครึ่งซีกกว่า 48 - 84% มีภาวะปวดไหล่ และมักพบมากในช่วง 6 เดือนแรกหลังเกิดโรคหลอดเลือดสมอง  และในผู้ป่วยที่ไม่สามารถสื่อสารได้ หรือมีปัญหาเรื่องการสื่อสาร จะยิ่งเกิดภาวะปวดไหล่เพิ่มมากขึ้นอีก ทำให้การยกแขน หรือขยับแขนข้างอ่อนแรงทำได้ยากมากขึ้นเกิดการรบกวนการใช้ชีวิตประจำวัน และยังเป็นอุปสรรคที่สำคัญต่อการฟื้นตัวของผู้ป่วย 

‘สาเหตุ’ ที่สำคัญของการปวดไหล่ในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง มักเกิดจาก ข้อไหล่เลื่อนหลุด (shoulder subluxation) ทำให้เกิดการบาดเจ็บ และอักเสบของเยื่อหุ้มข้อไหล่ อาจเกิดจากการบาดเจ็บของเส้นประสาทรอบข้อไหล่ได้เช่นกัน รวมถึงการจัดท่าทาง หรือการวางแขนที่ไม่เหมาะสม เช่น นอนทับแขนเป็นเวลานาน ยก หรือเหวี่ยงแขนแรงเกินไป ก็ทำให้เกิดการบาดเจ็บของข้อไหล่ได้เหมือนกัน

‘การป้องกัน’ ควรเริ่มต้นจากการดูแล จัดท่าทางของแขนให้เหมาะสม เช่น ไม่นอนทับแขนข้างที่อ่อนแรงเป็นเวลานาน ไม่ยกแขน หรือกระชากแขนของผู้ป่วยแรงเกินไป และถ้าจำเป็นต้องนั่งเป็นเวลานาน ให้หาตัวช่วยในการพยุงไม่ให้ไหล่ตก เช่น เครื่องพยุงไหล่อย่าง Bobath sling หรือ Shoulder support มาใส่ให้แขนข้างที่อ่อนแรง หรืออาจจะใช้การรองหมอนไว้บริเวณข้อศอกของผู้ป่วยตอนนั่งก็สามารถช่วยป้องกันการตกของข้อไหล่ได้เช่นกัน

การป้องกันและดูแล ไม่ให้เกิดการปวดไหล่เป็นสิ่งที่สำคัญมากที่สุด ควรจะต้องดูแลและระมัดระวังไว้ตั้งแต่เนิ่น ๆ ไม่ให้เกิดการบาดเจ็บของข้อไหล่ ยิ่งในช่วง 6 เดือนแรกหลังจากเกิดโรคหลอดเลือดสมอง ขอย้ำอีกครั้งว่าการจัดท่าทางของแขนเป็นสิ่งที่สำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้ป่วยที่ติดเตียง หรือไม่สามารถสื่อสารได้

Credit: https://tinyurl.com/mw782e9a



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น