ฟักทองแบ่งออกเป็น 2 ตระกูล ตระกูลแรกก็คือ ตระกูลฟักทองอเมริกัน (Pumpkin) ผลใหญ่ เนื้อยุ่ย และตระกูลสควอช (Squash) ซึ่งได้แก่ฟักทองไทยและฟักทองญี่ปุ่น โดยฟักทองไทยนั้น ผิวของผลขณะยังอ่อนจะเป็นสีเขียว เมื่อแก่แล้วจะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองสลับเขียว ผิวมีลักษณะขรุขระเล็กน้อย เปลือกจะแข็ง เนื้อด้านในเป็นสีเหลือง พร้อมด้วยเมล็ดสีขาวแบน ๆ ติดอยู่
ฟักทองอุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุมากมายที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย เช่น วิตามินเอ วิตามินบี 1 วิตามินบี 2 วิตามินบี 3 วิตามินบี 5 วิตามินบี 6 วิตามินซี วิตามินอี ธาตุฟอสฟอรัส ธาตุแคลเซียม ธาตุโพแทสเซียม ธาตุโซเดียม ธาตุแมงกานีส ธาตุเหล็ก ซิงค์ เป็นต้น
ฟักทองยังเป็นอาหารเพื่อสุขภาพของผู้ที่ต้องการลดน้ำหนักอีกด้วย เพราะฟักทองมีกากใยที่สูงมาก มีแคลอรีและไขมันน้อย จึงเหมาะกับผู้ที่ต้องการลดความอ้วนและควบคุมน้ำหนักได้เป็นอย่างดี เพียงแค่รับประทานฟักทองหนึ่งถ้วยหรือ 3 กรัม จะให้ร่างกายรู้สึกอิ่มได้นานขึ้น
ฟักทอง แม้จะมีประโยชน์ต่อร่างกายอยู่มาก แต่การรับประทานอย่างไม่เหมาะสมก็อาจเกิดโทษได้เช่นกัน เนื่องจากฟักทองนั้นมีฤทธิ์อุ่น ไม่เหมาะกับผู้ที่กระเพาะร้อน เช่น ผู้ที่มักมีอาการกระหายน้ำ ปัสสาวะเหลือง ท้องผูก มีแผลในช่องปาก เหงือกบวมเป็นประจำ เป็นต้น ซึ่งผู้ที่มีอาการเหล่านี้ไม่ควรรับประทานฟักทองในปริมาณที่มากเกินไปหรือบ่อยเกินไป แม้กระทั่งในคนปกติเองก็ตาม ก็ไม่ควรรับประทานอย่างไร้สติ เพราะอาจจะทำให้เกิดอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ ไม่สบายท้องได้
ประโยชน์ของฟักทอง
ฟักทองมีสารต่อต้านอนุมูลอิสระที่มีส่วนช่วยในการชะลอวัยและความแก่ชรา
ช่วยฟื้นบำรุงสุขภาพผิวให้เปล่งปลั่งสดใสและช่วยปกป้องผิวไม่ให้เหี่ยวย่น
ช่วยบำรุงและรักษาสายตา
ฟักทองมีส่วนช่วยบำรุงสุขภาพร่างกาย
ช่วยเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันให้แก่ร่างกาย
น้ำมันจากเมล็ดฟักทองมีส่วนช่วยบำรุงประสาท
เมล็ดฟักทองช่วยทำให้อารมณ์ดี เพราะมีสารที่ช่วยในการสร้าง Serotonin ซึ่งมีผลต่ออารมณ์
มีฤทธิ์ในการช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด
เป็นอาหารที่เหมาะกับผู้ที่ต้องการควบคุมน้ำหนักหรืออยากลดความอ้วน เพราะมีไขมันน้อย กากใยสูง
ฟักทองมีกรดโปรไบโอนิค ซึ่งมีส่วนทำให้เซลล์มะเร็งอ่อนแอลง
มีส่วนช่วยป้องกันและลดความเสี่ยงจากการเกิดโรคมะเร็ง
มีส่วนช่วยป้องกันการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจและโรคหัวใจ
ช่วยบรรเทาอาการปวดเมื่อยบริเวณข้อเข่า บั้นเอว
มีส่วนช่วยป้องกันโรคผิวหนัง
เปลือกฟักทองมีคุณสมบัติในการกระตุ้นการหลั่งอินซูลินในร่างกาย ซึ่งช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ป้องกันการเกิดโรคเบาหวาน
ช่วยฟื้นฟูร่างกายหลังออกกำลังกายหรือหลังจากร่างกายทำงานอย่างหนัก และทำให้กล้ามเนื้อทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ
รากฟักทองนำมาต้มกับน้ำดื่มช่วยแก้และบรรเทาอาการไอ
ฟังทอกจัดว่ามีกากใยอาหารสูง ซึ่งมีส่วนช่วยในการขับถ่าย
ฟักทองมีฤทธิ์อุ่นซึ่งจะช่วยย่อยอาหารได้เป็นอย่างดี
ช่วยป้องกันการเกิดโรคมะเร็งในกระเพาะปัสสาวะ
มีส่วนช่วยในการขับปัสสาวะ
ช่วยป้องกันการเกิดโรคนิ่ว
ช่วยป้องกันไม่ให้ต่อมลูกหมากขยายใหญ่มากขึ้น
ช่วยปรับระดับฮอร์โมนเพศชายที่ได้จากลูกอัณฑะให้อยู่ในระดับปกติ
ช่วยขับพยาธิตัวตืด โดยนำเมล็ดฟักทองประมาณ 50 กรัม นำมาตำให้ละเอียดแล้วผสมกับน้ำตาล นม และเติมน้ำลงไปจนได้ประมาณ 500 มิลลิลิตร แล้วนำมาแบ่งรับประทานเป็น 3 ครั้ง ทุก ๆ 2 ชั่วโมง
ช่วยบำรุงตับและไตให้แข็งแรง
รากฟักทองเมื่อนำมาต้มดื่มจะช่วยถอนพิษจากแมลงกัดต่อย ถอนพิษของฝิ่นได้
เยื่อกลางของผลฟักทอง สามารถนำมาใช้พอกแผล แก้อาการฟกช้ำ อาการปวดและอักเสบได้
ใช้รับประทานเป็นอาหารว่าง อย่างน้ำฟักทองคั้นสด พายฟักทอง
นำมาใช้ในการประกอบอาหารได้ย่างหลากหลาย เช่น ซุปฟักทอง แกง กินกับน้ำพริก เป็นต้น
คุณค่าทางโภชนาการของฝักทอง ต่อ 100 กรัม
พลังงาน 26 กิโลแคลอรีประโยชน์ของฟักทอง
คาร์โบไฮเดรต 6.5 กรัม
น้ำตาล 2.76 กรัม
เส้นใย 0.5 กรัม
ไขมัน 0.1 กรัม
โปรตีน 1 กรัม
วิตามินเอ 476 ไมโครกรัม 53%
เบตาแคโรทีน 3,100 ไมโครกรัม 29%
ลูทีนและซีแซนทีน 1,500 ไมโครกรัม
วิตามินบี 1 0.05 มิลลิกรัม 4%
วิตามินบี 2 0.11 มิลลิกรัม 9%
วิตามินบี 3 0.6 มิลลิกรัม 4%
วิตามินบี 5 0.298 มิลลิกรัม 6%
วิตามินบี 6 0.061 มิลลิกรัม 5%
ฟักทองวิตามินบี 9 16 ไมโครกรัม 4%
วิตามินซี 9 มิลลิกรัม 11%
วิตามินอี 0.44 มิลลิกรัม 3%
วิตามินเค 1.1 ไมโครกรัม 1%
ธาตุแคลเซียม 21 มิลลิกรัม 2%
ธาตุเหล็ก 0.8 มิลลิกรัม 6%
ธาตุแมกนีเซียม 12 มิลลิกรัม 3%
ธาตุแมงกานีส 0.125 มิลลิกรัม 6%
ธาตุฟอสฟอรัส 44 มิลลิกรัม 6%
ธาตุโพแทสเซียม 340 มิลลิกรัม 7%
ธาตุโซเดียม 1 มิลลิกรัม 0%
ธาตุสังกะสี 0.32 มิลลิกรัม 3%
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น