ยาคลายกล้ามเนื้อ (Muscle Relaxants หรือ Skeletal Muscle Relaxants) คือ กลุ่มยาที่ใช้ลดหรือผ่อนคลายความตึงของกล้ามเนื้อ ยาส่วนใหญ่จะมีผลโดยตรงต่อกล้ามเนื้อ ในขณะที่ยาบางตัวมีผลต่อการทำงานของสมองและระบบประสาทบริเวณไขสันหลังที่ใช้ควบคุมกล้ามเนื้อ โดยตัวอย่างยารักษาที่อยู่ในกลุ่มนี้ ได้แก่ ไดอะซีแพม (Diazepam) บาโคลเฟน (Baclofen) แดนโทรลีน (Dantrolene) ทิซานิดีน (Tizanidine) โบทูลินัม ท็อกซิน (Botulinum Toxin) และสารที่สกัดจากกัญชา ซึ่งเป็นยาในกลุ่มควบคุม ต้องใช้ภายใต้คำสั่งจากแพทย์เท่านั้น
ยาคลายกล้ามเนื้อแบ่งเป็น 3 ชนิดหลักด้วยกัน ได้แก่
- ยาหย่อนกล้ามเนื้อ (Neuromuscular Blocking Agents) จะออกฤทธิ์กับตัวรับแอซิติลโคลีน (Acetylcholine) ไปกีดขวางการทำงานของสารสื่อประสาทที่มีผลต่อกล้ามเนื้อ อาจใช้ยากลุ่มนี้ร่วมในขั้นตอนการให้ยาสลบ เพื่อคลายกล้ามเนื้อไม่ให้เกิดการเคลื่อนไหวในระหว่างที่แพทย์ทำการผ่าตัด
- ยาคลายกล้ามเนื้อสูตรผสม (Skeletal Muscle Relaxant Combinations) เป็นยาที่มีส่วนผสมของยาคลายกล้ามเนื้อและยาแก้ปวดรวมกันอยู่ในเม็ดเดียว ยาจะช่วยลดความตึงตัวของกล้ามเนื้อลาย ทำให้กล้ามเนื้อที่หดคลายตัวลง มักใช้รักษาภาวะกล้ามเนื้อหดตัว หรือภาวะที่เกี่ยวกับระบบกล้ามเนื้อและกระดูก
- ยาคลายกล้ามเนื้อหดเกร็ง (Skeletal Muscle Relaxants) เป็นยาที่ใช้ลดหรือผ่อนคลายความตึงของกล้ามเนื้อ ตัวยาจะออกฤทธิ์ปิดกั้นการทำงานของระบบประสาทสมองและไขสันหลัง ซึ่งจะลดและป้องกันการเกิดปฏิกิริยาของกล้ามเนื้อจนเกิดอาการกล้ามหดเกร็งหรือแข็งตัวจากการรับสารสื่อประสาท
การออกฤทธิ์ของยาคลายกล้ามเนื้อแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ
รักษาอาการกล้ามเนื้อหดตัว (Muscle Spasm) ที่อาจเกิดขึ้นอย่างชั่วคราว หรือต่อเนื่องเรื้อรัง เช่น ปวดหัวจากความเครียด ปวดหลังเรื้อรัง โดยยาที่ได้รับอนุญาตให้ใช้รักษากล้ามเนื้อหดตัว ได้แก่ บาโคลเฟน (Baclofen) แดนโทรลีน (Dantrolene) และทิซานิดีน (Tizanidine)
รักษาภาวะกล้ามเนื้อหดเกร็งหรือแข็งตัว (Spasticity) จากการเจ็บป่วยด้วยโรคที่เกี่ยวกับกล้ามเนื้อและเส้นประสาท เช่น โรคปลอกประสาทอักเสบ (Multiple Sclerosis) โรคสมองพิการ (Cerebral Palsy) เส้นเลือดในสมองแตกหรือตีบตัน โดยยาที่ได้รับอนุมัติให้ใช้รักษากล้ามเนื้อหดเกร็งหรือแข็งตัว ได้แก่ คาริโซโพรดอล (Carisoprodol) คลอร์ซ็อกซาโซน (Chlorzoxazone) ไซโคลเบนซาพรีน (Cyclobenzaprine) เมตาซาโลน (Metaxalone) เมโทคาร์บามอล (Methocarbamol) และออร์เฟเนดรีน (Orphenadrine)
ตัวอย่างรายชื่อยาในกลุ่มยาคลายกล้ามเนื้อ
- ไดอะซีแพม (Diazepam) เป็นยานอนหลับชนิดหนึ่ง มีทั้งรูปแบบยารับประทาน ยาแบบฉีด และยาสวนทางทวาร แม้ไม่ได้ออกฤทธิ์โดยตรงต่อกล้ามเนื้อ แต่ออกฤทธิ์ต่อสารเคมีในสมอง ช่วยให้ผู้ป่วยเกิดความรู้สึกผ่อนคลายและทำให้ง่วงนอน
- โบทูลินัม ท็อกซิน (Botulinum Toxin) เป็นสารที่ใช้ในรูปแบบฉีด ใช้ปิดกั้นสารสื่อประสาทที่ควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อ นอกเหนือจากการใช้เพื่อศัลยกรรมความงาม ยังสามารถใช้รักษาในผู้ป่วยภาวะกล้ามเนื้อคอบิดเกร็ง (Cervical Dystonia) ภาวะกล้ามเนื้อหดตัวในบริเวณต่าง ๆ และภาวะเหงื่อออกมากผิดปกติ (hyperhidrosis)
- บาโคลเฟน (Baclofen) เป็นยาคลายกล้ามเนื้อและแก้อาการเกร็งตัวของกล้ามเนื้อ ใช้ในรูปแบบรับประทานและสามารถหาซื้อได้ตามร้านขายยาทั่วไป มักใช้รักษาอาการหดเกร็ง หรือกล้ามเนื้อแข็งตัวจากโรคปลอกประสาทอักเสบ หรือรักษาผู้ป่วยที่กล้ามเนื้อหดเกร็งจากการเจ็บป่วยหรือได้รับบาดเจ็บบริเวณไขสันหลังได้ด้วย
- แดนโทรลีน (Dantrolene) ช่วยรักษาระดับแคลเซียมในกล้ามเนื้อให้เป็นปกติ ช่วยป้องกันหรือลดอุณหภูมิร่างกายไม่ให้เพิ่มสูงจนเกินไป เป็นยาในรูปแบบยารับประทานและยาฉีดเข้าเส้นเลือด ใช้ภายใต้คำสั่งแพทย์เท่านั้น ใช้เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนเป็นอาการไข้สูงอย่างร้าย (Malignant Hyperthermia) ซึ่งอาจทำให้ผู้ป่วยเสี่ยงอันตรายถึงชีวิตจากการใช้ยาสลบ โดยอาจใช้ก่อนหรือหลังการให้ยาสลบและการผ่าตัด หรืออาจใช้ในกรณีอื่น ๆ ตามดุลยพินิจของแพทย์
- ทิซานิดีน (Tizanidine) เป็นยาอันตรายที่ใช้รักษาภายใต้คำสั่งแพทย์ในระยะสั้น ออกฤทธิ์ปิดกั้นสารสื่อประสาทไม่ให้ส่งสัญญาณไปยังสมองที่จะกระตุ้นให้เกิดความเจ็บปวดได้ ใช้ผ่อนคลายความตึงตัวของกล้ามเนื้อเพียงชั่วคราว ต้องใช้ยาอย่างถูกต้องเคร่งครัดภายใต้การดูแลของแพทย์เท่านั้น เพื่อป้องกันการเกิดผลข้างเคียงที่เป็นอันตรายตามมา
- ออร์เฟเนดรีน (Orphenadrine) ใช้รักษาภาวะอาการเจ็บป่วยทางกล้ามเนื้อในระยะสั้น ๆ ทำให้กล้ามเนื้อผ่อนคลายและบรรเทาความเจ็บปวดจากกล้ามเนื้อหดเกร็ง โดยอาจใช้ยารักษาร่วมกับการทำกายภาพบำบัดและการให้ผู้ป่วยพักผ่อนอย่างเพียงพอ
- ยาลดการอักเสบแบบไม่ใช่สเตียรอยด์ (Nonsteroidal Antiinflammatory Drugs: NSAIDs) ช่วยยับยั้งการอักเสบ และบรรเทาความเจ็บปวดที่เกิดขึ้นจากกระบวนการอักเสบ ตัวอย่างยาที่เป็นที่รู้จักและใช้กันอย่างแพร่หลายในกลุ่มนี้ คือ แอสไพริน ไอบูโพรเฟน ไดโคลฟีแนค และนาพร็อกเซน เป็นต้น
คำเตือนของการใช้ยาคลายกล้ามเนื้อ
- ในปัจจุบันมีข้อมูลและหลักฐานสนับสนุนประสิทธิภาพทางการรักษาของยาคลายกล้ามเนื้อน้อยมาก ดังนั้น ไม่ควรใช้ยาคลายกล้ามเนื้อเป็นการรักษาหลัก แต่อาจใช้เมื่อรักษาด้วยวิธีการอื่นแล้วไม่ได้ผลเท่านั้น
- ไม่ควรใช้ยาคลายกล้ามเนื้อในสตรีมีครรภ์ ผู้สูงอายุ ผู้ที่อยู่ในภาวะซึมเศร้า และผู้ที่มีประวัติเคยใช้ยาเสพติดหรือเสพติดแอลกอฮอล์
- ไม่ควรใช้ยาหากมีประวัติอาการแพ้ส่วนผสมใด ๆ ในตัวยาชนิดนั้น
- ยาคลายกล้ามเนื้อส่วนใหญ่มักมีผลข้างเคียงเป็นอาการง่วงนอน และอ่อนเพลีย จึงควรระมัดระวังในการทำกิจกรรมใด ๆ ควรหลีกเลี่ยงการทำงานร่วมกับเครื่องจักร หรือการขับขี่ยานพาหนะในขณะใช้ยา
- ยาคลายกล้ามเนื้อแต่ละชนิดมีส่วนผสมและการออกฤทธิ์แตกต่างกัน จึงควรศึกษาข้อมูลที่ระบุบนฉลากยาเกี่ยวกับวิธีการใช้ยา การเก็บรักษา และคำเตือนของยาแต่ละชนิดให้ดีก่อนใช้ยา
- ต้องใช้ยาอย่างถูกต้องภายใต้คำแนะนำของแพทย์ ไม่ใช้ยาเกินขนาด และซักถามแพทย์หรือเภสัชกรเมื่อมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการใช้ยา
- หากมีอาการแพ้ยา อย่างมีผดผื่นแดง ตัวบวมหน้าบวม หายใจติดขัด แน่นหน้าอก ควรไปพบแพทย์หรือขอความช่วยเหลืออย่างเร่งด่วน
ผลข้างเคียงจากการใช้ยาคลายกล้ามเนื้อ
โดยส่วนใหญ่ ยาคลายกล้ามเนื้อจะมีผลข้างเคียงหลังการใช้ยา คือ
- อ่อนเพลีย เมื่อยล้า หมดแรง
- ง่วงนอน ง่วงซึม
- วิงเวียนศีรษะ
- ปากแห้ง
- ปัสสาวะไม่ออก
- อาจเกิดการเสพติด หรือ ใช้ยาผิดจุดประสงค์ได้
อย่างไรก็ตาม ยาคลายกล้ามเนื้อแต่ละชนิดอาจมีผลข้างเคียงที่แตกต่างกันไป จึงควรศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับวิธีการใช้ยาแต่ละชนิดให้ดีก่อนใช้ยาเสมอ
ทั้งนี้ ผู้ป่วยควรรีบขอความช่วยเหลือหรือไปพบแพทย์ทันทีเมื่อมีอาการที่เป็นสัญญาณของการแพ้ยา เช่น
- มีไข้สูง
- มีผดผื่นแดง หรือผื่นคัน
- หน้าบวม ปากบวม แขนขาบวม
- แน่นหน้าอก หายใจไม่ออก
- วิงเวียนศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน
CR: https://tinyurl.com/yybkr5zj
================================================
================================================
รีวิวโดยทีมแพทย์และเภสัชกร HonestDocs วันที่ 14/03/2562
อาการปวดคอ หรือหลัง หรืออาการกล้ามเนื้อหดเกร็งจากภาวะอื่นๆ หากใช้ ยาคลายกล้ามเนื้อ จะช่วยทำให้กล้ามเนื้อส่วนหนึ่ง หรือหลายส่วนหยุดเกร็ง หรือกระตุก ซึ่งอาการเหล่านี้อยู่นอกเหนือการควบคุม เกิดได้จากหลายสาเหตุและบางครั้งก็สร้างความเจ็บปวดร่วมด้วย
ในปัจจุบันการรักษาอาการทางกล้ามเนื้อมีหลายวิธีขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของแพทย์รวมถึงข้อบ่งชี้ของอาการด้วยว่า เหมาะกับการรักษาวิธีใด ทั้งนี้ยาคลายกล้ามเนื้อเป็นอีกวิธีหนึ่งที่ช่วยรักษาอาการทางกล้ามเนื้อได้
คุณต้องได้รับยาคลายกล้ามเนื้อเมื่อไร?
แพทย์อาจแนะนำให้คุณใช้ยาแก้ปวดที่หาซื้อได้ตามร้านขายยาทั่วไป เช่น อิบูโพรเฟน ไทลีนอล เพื่อบรรเทาอาการเจ็บปวดกล้ามเนื้อก่อน แต่หากใช้ยาเหล่านี้ไม่ได้ผล หรือคุณอยู่ในกลุ่มที่ไม่สามารถใช้ยาเหล่านี้ได้ เนื่องจากมีปัญหาโรคตับ หรือมีแผลในกระเพาะอาหาร คุณอาจต้องใช้ยาคลายกล้ามเนื้อแทน นอกจากนี้หากคุณมีอาการเจ็บปวดที่รบกวนการนอนหลับ ยาคลายกล้ามเนื้ออาจเป็นตัวเลือกการรักษาสำหรับคุณ เนื่องจากยาคลายกล้ามเนื้อมีฤทธิ์ทำให้ง่วงนอนได้
ผลข้างเคียงของยาคลายกล้ามเนื้อ
ไม่ว่าคุณจะใช้ยาคลายกล้ามเนื้อชนิดใดก็ตาม ย่อมมีผลข้างเคียงจากยาอย่างน้อยหนึ่งอย่างแน่นอน แต่ยาคลายกล้ามเนื้อบางตัวก็อาจมีผลข้างเคียงรุนแรงกว่าตัวอื่น เช่น ก่อความเสียหายต่อตับ ทั้งนี้แพทย์จะเป็นผู้พิจารณาการใช้ยาเพื่อหาว่า ยาตัวไหนเหมาะสมกับคุณที่สุด
ผลข้างเคียงของยาคลายกล้ามเนื้อที่พบได้บ่อยที่สุด ดังนี้
- เหนื่อยล้า ง่วงนอน หรือกดประสาท
- อ่อนแรง
- วิงเวียน
- ปากแห้ง
- ซึมเศร้า
- ความดันโลหิตลดลง
ข้อควรระวังในการใช้ยาคลายกล้ามเนื้อ
- ไม่ควรดื่มแอลกอฮอล์ขณะที่รับประทานยาคลายกล้ามเนื้อ เนื่องจากจะทำให้ยาออกฤทธิ์ได้ไม่เต็มที่ อีกทั้งการรับประทานยาร่วมกับแอลกอฮอล์จะทำให้เพิ่มความเสี่ยงต่ออุบัติเหตุมากขึ้นได้
- ไม่ควรขับรถ หรือใช้งานเครื่องจักรหนักใดๆ หากต้องใช้ยาคลายกล้ามเนื้อ เนื่องจากยาบางตัวจะออกฤทธิ์หลังจากรับประทานเข้าไปแล้ว 30 นาที และอาจออกฤทธิ์ได้นาน 4 ถึง 6 ชั่วโมง
การเสพติดและการใช้ยาคลายกล้ามเนื้อผิดวิธี
ผู้ใช้ยาคลายกล้ามเนื้ออาจเกิดเสพติดยาได้หากใช้ยาโดยไม่ได้ปรึกษาแพทย์ หรือใช้ยาเกินขนาดที่แพทย์แนะนำไว้ ตัวอย่างยาคลายกล้ามเนื้อในกลุ่มนี้ เช่น ยาคาริโซโพรดอล (carisoprodol) เป็นยาที่อยู่ในสูตรผสมของยาแก้ปวดซึ่งจัดเป็นยาควบคุมในประเภทที่ 4 (schedule IV controlled substance) ยาไซโคลเบนซาพริน (เฟลซิริน) เป็นต้น
การติดยาคลายกล้ามเนื้ออาจหมายถึง ร่างกายของคุณจำเป็นต้องได้รับยาเพื่อให้สามารถทำงานได้ตามปกติ หากสังเกตถึงการเสพติดนี้ หรือสังเกตเห็นอาการนอนไม่หลับ อาเจียน หรือวิตกกังวลเมื่อหยุดยา แสดงว่า คุณกำลังอยู่ในระยะถอนยาซึ่งเป็นเรื่องอันตรายมาก ดังนั้นควรรีบปรึกษาแพทย์เพื่อให้ลดปริมาณยาที่ได้รับไปเรื่อยๆ อย่างช้าๆ เพื่อเลี่ยงอาการถอนยาที่รุนแรงเกินไป
ไซโครเบนซาพรีน (Flexeril, Amrix) คืออะไร
(ยานี้ยกเลิกทะเบียนแล้ว และไม่มีขายในประเทศไทย - ณ เดือน ก.ค. 2561)
ไซโครเบนซาพรีนเป็นชื่อสามัญของยายี่ห้อ Flexeril Amrix Fexmid และ FusePaqTabradol เป็นยาคลายกล้ามเนื้อที่ช่วยลดอาการปวดและความไม่สบายตัวที่มีสาเหตุมาจากกล้ามเนื้อตึง เคล็ดขัดยอก และอาการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อ
ยาคลายกล้ามเนื้อชนิดนี้ มักใช้เป็นส่วนหนึ่งของแผนการรักษาเพื่อฟื้นฟูกล้ามเนื้อ และยังรวมไปถึงการใช้เพื่อการพักกล้ามเนื้อและการกายภาพบำบัด ไซโครเบนซาพรีนยังมีไว้เพื่อรักษาอาการโรคเรื้อรังที่มีอาการปวดกล้ามเนื้อและกระดูก ความอ่อนล้า และความไวต่อความเจ็บปวดในบริเวณที่มีอาการ (fibromyalgia)
ไซโครเบนซาพรีนจะออกฤทธิ์ต่อระบบประสาทส่วนกลางซึ่งจะปิดกันการกระตุ้นของเส้นประสาท (หรืออาการปวด) ที่ถูกส่งจากสมองไปยังกล้ามเนื้อ ไซโครเบนซาพรีนเป็นตัวยาทางเคมีที่ออกฤทธิ์แบบเดียวกับกลุ่มของยารักษาอาการซึมเศร้า (antidepressants) หรือที่เรียกว่า tricyclic antidepressants
ไซโครเบนซาพรีนได้รับการอนุญาตให้ใช้ครั้งแรกโดยสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (FDA) ในปี 1997 ภายใต้ยี่ห้อ Flexeril ซึ่งปัจจุบันผลิตโดยบริษัท PD-RX Pharmaceuticals
ข้อควรระวังในการใช้ยาไซโครเบนซาพรีน
ห้ามใช้ยานี้หากคุณได้รับยา a monoamine oxidase inhibitor (MAOIs) เมื่อ 2 สัปดาห์ที่ผ่านมา ซึ่งยา MAOIs ที่ใช้รักษาภาวะซึมเศร้าและโรคพาร์กินสันที่ว่านี้ ได้แก่
โฆษณาจาก HonestDocs
หากคุณรู้สึกว่าตัวเองมีความบกพร่องในด้านของความเข้าใจ
เราอยากชวนคุณมาทดลองงานวิจัยกับเรา
คลิก
- Isocarboxazid (Marplan)
- Linezolid (Zyvox)
- Phenelzine (Nardil)
- Rasagiline (Azilect)
- Selegiline (Emsam)
- Tranylcypromine (Parnate)
การใช้ยา MAOI กับ cyclobenzaprine ทั้งสองอย่างร่วมกัน อาจก่อให้เกิดผลข้างเคียงที่ร้ายแรงและเป็นอันตรายถึงชีวิต ห้ามรับประทานยาคลายกล้ามเนื้อชนิดนี้หากมีประวัติเกี่ยวกับโรคหัวใจ โรคหัวใจวาย หรือการเต้นของหัวใจผิดปกติ การอุดตันในเส้นเลือดของหัวใจ หรือภาวะหัวใจล้มเหลวด้วย ผู้ที่มีอายุ 65 ปีหรือมากกว่า 65 ปีไม่ควรใช้ยานี้เนื่องจากจะเกิดผลข้างเคียงมาก มียาที่สามารถใช้รักษาอาการเหล่านี้ได้ปลอดภัยกว่าและมีผลข้างเคียงน้อยกว่าสำหรับผู้ป่วยในกลุ่มอายุดังกล่าว
ผู้ป่วยที่เป็นโรคตับ (ตับวาย) มักไวต่อฤทธิ์ยาและยาคลายกล้ามเนื้อตัวนี้อาจทำให้เกิดอาการหอบหืดได้ ควรแจ้งให้แพทย์ทราบก่อน ถ้าหากคุณอยู่ในระหว่างใช้ยารักษาภาวะซึมเศร้า อาการชักอาการภูมิแพ้ ไอหรือหวัด หรือถ้าคุณใช้ยานอนหลับ ยาระงับประสาท หรือวิตามิน ก่อนที่จะให้ยาเพื่อการรักษา แพทย์ หรือผู้ให้บริการด้านสุขภาพของคุณควรทราบก่อนว่า คุณเคยได้รับการวินิจฉัยว่ามีไทรอยด์ (overactive thyroid) ต้อหิน หรือเคยมีปัญหาเกี่ยวกับการปัสสาวะติดขัดหรือไม่
คุณควรแจ้งแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับประวัติของใบสั่งยาทั้งหมด หรือยาที่ไม่มีใบสั่งยา (non-prescription) ยาตามร้านทั่วไป (over-the-counter) ยาเสพติดและยาที่ใช้เพื่อผ่อนคลาย ยาสมุนไพร อาหารเสริม และผลิตภัณฑ์อาหารเสริม และยาอื่นๆ ที่เคยใช้
การใช้ไซโครเบนซาพรีนในปริมาณ "มาก" และการใช้ที่ผิดวิธี
Numerous online and anecdotal ได้รายงานเกี่ยวกับคนที่ใช้ไซโครเบนซาพรีนผิดวิธีโดยใช้เป็นยาเสพติดในปริมาณสูง ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการเซื่องซึม ยาไซโครเบนซาพรีน (cyclobenzaprine) สามารถทำให้เกิดการหลั่งกรดและน้ำย่อยในระดับปานกลางถึงรุนแรงได้ (หากใช้ยานี้ในระดับปกติ ยานี้อาจรบกวนการทำงานของสารสื่อประสาทบางอย่างในสมอง) การใช้ยาในปริมาณมากอาจนำไปสู่ความบกพร่องทางร่างกายและจิตใจได้
การใช้ยาคลายกล้ามเนื้อชนิดนี้ในปริมาณมากอาจทำให้เกิดการสูญเสียการควบคุมการเคลื่อนไหวร่างกายอย่างรุนแรง สภาวะระบบประสาทที่ทำให้สูญเสียการควบคุมการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อ มีตัวอย่างที่เกิดขึ้นจริงมาแล้ว ตามที่ the Los Angeles coroner's office รายงานไว้ว่า วิทนีย์ ฮูสตันซึ่งเป็นนักร้อง เธอใช้ยารักษาโรคถึง 5 ตัวในการรักษาอาการเจ็บป่วย จากนั้นเธอเสียชีวิตจากการจมน้ำในอ่างอาบน้ำเมื่อปี ค.ศ. 2012 หนึ่งในยาห้าชนิดที่ว่านั้นมีไซโครเบนซาพรีนรวมอยู่ด้วย การใช้ยาไซโครเบนซาพรีนควรใช้ตามที่แพทย์ได้กำหนดเท่านั้น และเก็บยานี้ให้ห่างจากมือเด็ก วัยรุ่น หรือใครก็ตามที่ไม่ได้รับยานี้ตามแพทย์สั่ง
หญิงตั้งครรภ์กับการใช้ไซโครเบนซาพรีน
ควรปรึกษา หรือวางแผนการตั้งครรภ์กับแพทย์ก่อนที่จะมีการใช้ไซโครเบนซาพรีน ในช่วงตั้งครรภ์หากต้องการใช้ยาควรพิจารณาประโยชน์ที่ได้รับเปรียบเทียบกับความเสี่ยง โดยแพทย์อาจช่วยตัดสินใจได้ว่า การใช้ยานี้จะเหมาะสมกับคุณหรือไม่ นอกจากนี้ยังต้องแจ้งแพทย์ด้วย หากอยุ่ระหว่างให้นมบุตร หรือจะต้องให้นมบุตรในอนาคต จากการศึกษายังไม่พบข้อมูลว่า ไซโครเบนซาพรีน (cyclobenzaprine) ผ่านเข้าสู่น้ำนมได้อย่างไร แต่การศึกษาแสดงให้เห็นว่า มีผลเหมือนกับยาตัวอื่นๆ
ผลข้างเคียงที่เกิดขึ้นกับการใช้ยาไซโครเบนซาพรีน
ผลข้างเคียงที่พบโดยทั่วไปของ cyclobenzaprine ได้แก่ ง่วงนอน วิงเวียนศีรษะ ปากแห้ง ท้องผูก ร่างกายอ่อนเพลีย หากมีอาการเหล่านี้ควรพบแพทย์ทันทีและบอกรายละเอียดของผลข้างเคียงเหล่านี้ที่เป็นอยู่หรือมีอาการแย่ลง
ผลข้างเคียงที่รุนแรงของ cycolobenzaprine ได้แก่ หัวใจเต้นเร็ว หรือผิดปกติ การเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์หรือทางจิต (เช่น ความสับสนหรือเห็นภาพหลอน) ปัญหาเกี่ยวกับปัสสาวะ ปวดทรวงอก ไข้ อาการชัก
อาการแพ้ยาอย่างรุนแรงเกิดขึ้นได้ยากจากการใช้ยานี้ แต่ต้องพบแพทย์ทันทีหากมีอาการใดๆ ต่อไปนี้ ได้แก่ ผื่น อาการคัน อาการบวม (โดยเฉพาะที่ใบหน้า ลิ้น หรือลำคอ) เวียนศีรษะอย่างรุนแรงมีปัญหาในการหายใจ
การใช้ยาคลายกล้ามเนื้อชนิดนี้ร่วมกับยาต้านอาการซึมเศร้าอาจทำให้เกิดเป็นอาการข้างเคียงที่เกิดขึ้นจากการใช้ยา (serotonin syndrome) และอาจถึงแก่ชีวิตได้ ซึ่งกลุ่มอาการข้างเคียงที่เกิดขึ้นจากการใช้ยา (serotonin syndrome) ได้แก่
- เกิดความสับสน
- เกิดการร้อนรนหรือกระวนกระวายใจ
- รูม่านตาขยาย
- ปวดหัว
- ความดันโลหิตมีการเปลี่ยนแปลง
- อุณหภูมิของร่างกายมีการเปลี่ยนแปลง
- คลื่นไส้หรืออาเจียน
- ท้องร่วงอย่างรุนแรง
- อัตราการเต้นหัวใจอย่างรวดเร็ว
- สูญเสียการประสานงานของกล้ามเนื้อหรือกระตุก
- สั่น หรือขนลุก
- เหงื่อออกมาก
ปฏิกิริยาของไซโครเบนซาพรีน
การใช้ยาไซโครเบนซาพรีนร่วมกับ MAOI อาจเป็นอันตรายถึงขั้นเสียชีวิตได้
จากการวิจัยทางคลินิกอย่างน้อยหนึ่งงานพบว่า ความเสี่ยงต่อการป่วยเป็นกลุ่มอาการ serotonin syndrome (ภาวะที่มี serotonin มากเกินไปในสมอง ซึ่งทำให้มีอาการต่างๆ รวมกัน อาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้) จะเกิดในผู้ป่วยที่ใช้ยายาคลายกล้ามเนื้อชนิดนี้ผสมกับยารักษากลุ่มอาการของโรค serotonin syndrome เช่นเดียวกับดูล็อกซีทีนที่ใช้รักษากลุ่มอาการปวดกล้ามเนื้อ เอ็น และเนื้อเยื่ออ่อน (Cymbalta)
ไซโครเบนซาพรีนยังมีปฏิกิริยาไปกดระบบประสาทส่วนกลาง (ประกอบด้วยสมองและไขสันหลัง) เช่นเดียวกับยากลุ่มนี้ ได้แก่ โอปิออยด์ (opioids) เบนโซไดอะซีปีน (benzodiazepines) นอนเบนโซไดอะซีปีน (nonbenzodiazepines) ฟีโดนไทอาซีน (phenothiazines) ยาเคมีบำบัดบางชนิด (certain chemotherapies) และ บาร์บิทูเรต (barbiturates) และการใช้ยารักษาอาการซึมเศร้ากลุ่มไตรไซคลิก (Tricyclic Antidepressants-TCA) ยาในกลุ่มนี้ได้แก่ amitriptyline, nortryptyline, imipramine ร่วมกับไซโครเบนซาพรีนอาจมีโอกาสเพิ่มผลข้างเคียงได้อีกด้วย
แอลกอฮอล์กับไซโครเบนซาพรีน
ยาคลายกล้ามเนื้อชนิดนี้อาจทำให้คุณรู้สึกง่วง การดื่มแอลกอฮอล์อาจทำให้เกิดผลข้างเคียงได้ เพื่อความปลอดภัยคุณต้องหลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์ขณะที่มีการใช้ยาไซโครเบนซาพรีน
ปริมาณยาไซโครเบนซาพรีนที่รับประทานต่อครั้ง
ไซโครเบนซาพรีนเป็นยาที่ใช้รักษาด้วยการรับประทาน (มีทั้งรูปแบบเม็ดและแคปซูลชนิดค่อยๆ ออกฤทธิ์) แพทย์อาจเริ่มให้ปริมาณยาที่ 5 มิลลิกรัมของยาเม็ดขนาดปกติ 3 ครั้งต่อวัน ยาเม็ดชนิดที่ค่อยๆ ออกฤทธิ์ ให้ในปริมาณ 1 ครั้งต่อวัน อาจเพิ่มปริมาณการให้ยาได้
หากยังมีอาการปวดอยู่ ยานี้ไม่จำเป็นจะต้องใช้ระยะยาว จากการศึกษาแสดงให้เห็นว่า อาการปวดลดลงในเวลา 2 สัปดาห์แรก ซึ่งจะให้ผลดีใน 2 - 3 วันแรก แต่การใช้ยาหลังจากนั้นจะไม่ค่อยเกิดประโยชน์ ห้ามรับประทานยาคลายกล้ามเนื้อนี้ติดต่อกัน 3 สัปดาห์โดยไม่ได้ปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ผู้ป่วยที่มีปัญหาเกี่ยวกับตับ หรือผู้ที่มีอายุ 65 ปี อาจใช้ยานี้ได้ในปริมาณต่ำ ทุกครั้งที่กินยาไซโครเบนซาพรีนควรดื่มน้ำตามมากๆ และกลืนยาให้หมดทุกครั้งเสมอ
การใช้ยาไซโครเบนซาพรีนเกินขนาด
อาการที่เกิดจากการใช้ยาคลายกล้ามเนื้อชนิดนี้เกินขนาด ได้แก่ ปวดทรวงอก การชัก หลอน อาเจียน หัวใจเต้นอย่างรวดเร็ว ง่วงนอน พูดไม่ชัด
เมื่อลืมรับประทานยาไซโครเบนซาพรีน ควรทำอย่างไร?
- ให้รับประทานยาเม็ดที่คุณลืมไปทันทีที่คุณจำได้
- งดรับประทานยาเม็ดที่ลืมหากใกล้ถึงเวลาที่จะต้องรับประทานยาครั้งต่อไป
- เมื่อลืมรับประทานยาแล้ว ห้ามรับประทานยานี้เพิ่มเป็น 2 เท่า
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น