วันพฤหัสบดีที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2562

how your dijestive system works


               

ระบบย่อย
มนุษย์บริโภคอาหารวันละ 1-2.7 กิโลกรัม
คิดเป็นปีก็มากกว่า 365 กก.และมากกว่า 28,800 กก.ตลอดชีวิต

อาหารจะลำเลียงผ่านระบบย่อยอาหาร
การเดินทางผ่านอวัยวะ กว่า 10 ชิ้น และมีความยาวกว่า 9 เมตร มีเซลล์ทำหน้าที่พิเศษถึง 20 ชนิด
นับเป็นระบบที่ซับซ้อนมากที่สุดระบบหนึ่งของร่างกาย ทุกส่วนทำงานประสานกันอย่างต่อเนื่อง เพื่อเป้าหมายหลักอย่างเดียวคือ ย่อยอาหารที่คุณกิน ให้เป็นสารอาหารและพลังงานที่จำเป็นต่อการดำรงค์ชีวิต

ระบบย่อยอาหารที่ทอดยาวทั่วร่างกายเรา ประกอบด้วย 4 ส่วนหลัก

ส่วนที่ 1.ระบบทางเดินอาหาร เป็นท่อที่ขดไปมาเพื่อส่งผ่านอาหาร โดยผนังด้านในมีพื้นที่กว้าง ครอบคลุมถึง 30-40 ตร.เมตร (เทียบได้เท่ากับสนามแบตมินตัน ครึ่งสนาม)
ส่วนที่ 2. ประกอบด้วย ตับอ่อน ถุงน้ำดี และตับ อวัยวะทั้ง 3 ใช้น้ำย่อยและน้ำดีในการย่อยอาหาร
ส่วนที่ 3.ประกอบด้วย เอ็นไซม์ ฮอร์โมน ระบบประสาท และเลือด อวัยวะทั้งหมดทำงานประสานกันเพื่อย่อยอาหาร ควบคุมระบบการย่อย และส่งต่อสารอาหารที่ย่อยแล้ว
ส่วนที่ 4. คือ เยื่อ บุ ช่องท้อง เนื้อเยื่อขนาดใหญ่ที่รองรับ และยึดตำแหน่ง อวัยวะย่อยอาหารในช่องท้อง เพื่อให้อวัยวะทั้งหมด ทำหน้าที่ได้

การทำงานของระบบย่อยอาหาร

ระบบย่อยอาหาร เริ่มทำงานก่อนที่ลิ้นจะสัมผัสอาหารเสียอีก 
ความคาดหวังรสชาติที่จะได้ลิ้มลอง จะกระตุ้นให้ต่อมน้ำลายทำงาน โดยผลิตน้ำลายได้ถึง 1.5 ลิตรต่อวัน
เมื่ออาหารอยู่ในปากน้ำลายจะคลุกเคล้าอาหาร ในขณะที่เราเคี้ยวอาหาร ทำให้อาหารย่อยเป็นชิ้นเล็ก ๆ เรียกว่า "ก้อนอาหาร"  จากนั้นเอ็นไซม์ในน้ำลายจะย่อยแป้ง และลำเลียงอาหารไปยังอวัยวะถัดไป ซึ่งเป็นท่อที่มีความยาวถึง 25 ซม.เรียกว่า "หลอดอาหาร" และไหลลงสู่กระเพาะอาหาร
เมื่อระบบประสาท รอบ ๆ เนื้อเยื่อหลอดอาหารสัมผัสก้อนอาหารมันจะกระตุ้นให้เกิดกระบวนการ เพอริสตันซิส หรือการบีบตัวของกล้ามเนื้ออย่างต่อเนื่องนั่นเอง ทั้งนี้เพื่อให้อาหารเคลื่อนตัวไปสู่กระเพาะอาหารได้



การหดตัวของกล้ามเนื้อของทางเดินอาหาร ซึ่งหดตัวเป็นช่วง ๆ ติดต่อกัน ทำให้อาหารเคลื่อนที่และช่วยในการย่อยอาหาร

เพอริสทอลซิส คือการบีบตัวของกล้ามเนื้อเป็นคลื่นๆ ของหลอดอาหาร กระเพาะอาหาร และลำไส้เล็กอย่างเป็นจังหวะ เพื่อดันให้อาหารเคลื่อนที่ไหลไปตามระบบทางเดินอาหารจากปากถึงลำไส้ใหญ่
 จากนั้นก็จะเป็นหน้าที่ของผนังกระเพาะอาหารที่จะย่อยก้อนอาหารออกเป็นชื้นเล็ก ๆ ฮอร์โมนที่หลั่งจากเซลล์ชั้นต่าง ๆ จะกระตุ้นกรดและน้ำย่อยที่อุดมด้วยเอ็นไซม์ออกมาจากผนังกระเพาะอาหาร เพื่อเริ่มกระบวนการย่อยอาหารและโปรตีน ฮอร์โมนดังกล่าวยังกระตุ้นตับอ่อนและถุงน้ำดีให้หลั่งน้ำย่อย และน้ำดี ของเหลว สีเหลืองปนเขียว เพื่อย่อยไขมัน เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับขั้นตอนต่อไป
หลังจากผ่านไป 3 ชั่วโมง ก้อนอาหารจะเปลี่ยนสภาพเป็นของเหลว มีฟอง เรียก ไชม์ ( Chyme)  พร้อมเข้าสู่ลำไส้เล็กต่อไป
ไคม์ คือของเหลวข้นหนืดที่เกิดขึ้นเมื่ออาหารชนิดต่างๆ ที่กินเข้าไปถูกย่อยสลายและผสมรวมอยู่กับน้ำย่อยในกระเพาะอาหาร

(ไชมฺ) n. อาหารย่อยแล้วในกระเพาะอาหารต่อมาจะเข้าสู่ลำไส้เล็ก,





ตับจะได้รับ น้ำดี จากถุงน้ำดี และหลั่งสู่ลำไส้เล็กส่วนเล็กที่เรียกว่า "ดูโอดีนัม"ดูโอดีนัม คือ ลำไส้เล็กส่วนต้นค่ะ ซึ่งเจ้าดูโอดีนัมเนี่ยเป็นส่วนที่เชื่อมกับกระเพาะอาหารของเรา พบได้ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สัตว์มีกระดูกสันหลังชั้นสูง สัตว์เลื้อยคลานและสัตว์ปีกค่ะ ลำไส้เล็กส่วนต้นนี้จะอยู่ก่อนลำไส้เล็กส่วนกลางและส่วนปลาย เป็นส่วนที่สั้นที่สุดและเกิดการย่อยเชิงเคมีมากที่สุด โดยลำไส้เล็กเล็กส่วนต้นนี้เองที่มีน้ำย่อยที่สามารถย่อยอาหารได้เกือบทุกชนิดเลยนะคะ การย่อยอาหารทั้งหมดของเราก็จะมาสิ้นสุดที่ดูโอดีนัมจากนั้นก็ส่งให้ลำไว้เล็กส่วนกลางและส่วนปลายดูดซึมอาหารอีกที


จุดนี้เองที่ไขมันซึ่งลอยอยู่ในไคม์จะถูกแยก เพื่อให้ย่อยได้ง่ายขึ้น ด้วยน้ำย่อยของตับอ่อนและลำไส้เล็ก ที่ไหลมายังจุดนี้ น้ำย่อยที่อุดมด้วย เอ็นไซม์นี้ จะย่อย โมเลกุลของไขมันเป็นกรดไขมันและกลีเซอรอล เพื่อให้ร่างกายดูดซึมได้ง่ายขึ้น  นอกจากนี้ เอ็นไซม์ ยังช่วยย่อย โปรตีนเป็นกรดอะมีโน และย่อย คอร์โบไฮเดรต เป็นกลูโคส การย่อยสารอาหารที่ว่ามาเกิดขึ้นที่ลำไส้เล็กส่วนถัดมาคือที่ส่วนกลางและส่วนปลาย ซึ่งมีผนังที่เต็มไปด้วยติ่งเล็ก ๆ เรียกว่า วิลไล เกิดเป็นพื้นที่ขนาดใหญ่ ช่วยในการดูดซึมโมเลกุลและส่งต่อเข้ากระแสเลือด ซึ่งทำหน้าที่เป็นด่านสุดท้ายในการลำเลียงสารอาหาร ไปสู่อวัยวะและเนื้อเยื่อต่าง ๆ ในร่างกาย

แต่การเดินทางยังไม่จบเพียงเท่านี้ กากใยอาหาร น้ำ และซากเซลล์จากการบวนการย่อยจะถูกส่งไปยังลำไส้ใหญ่ที่เรียกว่า "โคลอน" ร่างกายจะดูดซึมน้ำ เกือบทั้งหมดที่เหลืออยู่ ผ่านผนังลำไส้ เหลือเพียงมวล นุ่ม ๆ ที่เรียกว่า "อุจจาระ"  ลำไส้โคลอนจะบีบของเสียนี้ไปยัง "ถุงเก็บ" หรือไส้ตรง ที่ซึ่งเส้นประสาทจะรับรู้ถึง ขนาดที่ใหญ่ขึ้น และส่งสัญญาณให้ร่างกายรู้ว่าถึงเวลาจะต้องขับถ่ายแล้ว ของเสียจากการย่อยอาหารจะขับออกทาง "ทวารหนัก"

และการเดินทางที่ยาวนานของอาหาร ซึ่งกินเวลา กว่า 30-40 ชั่วโมง ก็จะสิ้นสุดลง...
--------------------------------------------------------------------------



               

..................................................................................................................................

                


..................................................................................................................................
               

..................................................................................................................................

                

.................................................................................................................................. 
               

..................................................................................................................................

ารดูดซึมอาหารผิดปรกติ โรคระบบทางเดินอาหาร เกิดจากอะไร รักษาอย่างไร





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น