วันเสาร์ที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2562

การดูดซึมอาหารผิดปรกติ โรคระบบทางเดินอาหาร เกิดจากอะไร รักษาอย่างไร






การดูดซึมสารอาหารผิดปรกติ ( malabsorption syndrome ) คือ ความผิดปกติที่ลำไส้เล็กที่ไม่สามารถดูดซับสารอาหารและของเหลวได้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย ทำให้เกิดปัญหาการขาดสารอาหาร การคลื่นไส้ อาเจียน เป็นต้น
การดูดซึมสารอาหารผิดปรกติ โรคระบบทางเดินอาหาร โรคขาดสารอาหาร โรคไม่ติดต่อ
ความผิดปกติของระบบการย่อยและการดูดซึมอาหาร เกิดได้จากอวัยวะในระบบทางเดินอาหารที่ทำหน้าที่ในการย่อยและการดูดซึมสารอาหารผิดปรกติจากสาเหตุต่างๆ เช่น การติดเชื้อ หรือสาเหตุต่างๆ ส่งผลกระทบต่อร่างกายและจิตใจต่างๆ มากมาย  โรคการดูดซึมสารอาหารผิดปรกติ พบมากที่สุดในประเทศแถบทะเลแคริบเบียน อินเดีย และ ประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โรคนี้อาจเกี่ยวข้องกับปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมไม่ดี เช่น มีสารพิษเจือปนในอาหาร ทำให้ติดเชื้อโรคต่างๆ
ผลกระทบจากการไม่ดูดซึมสารอาหาร
สามารถแบ่งได้ 2 ลักษณะ คือ ผลกระทบต่อร่างกาย และ ผลกระทบต่อจิตใจ โดยรายละเอียด ดังนี้
ผลกระทบการไม่ดูดซึมสารอาหารต่อร่างกาย
  • เกิดอาการอาเจียนหลังรับประทานอาหาร หากว่าเกิดภาวะกล้ามเนื้อหูรูดทำงานไม่ปกติ จะทำให้เกิดการอาเจียนได้หากมีอาหารเข้าไปและไม่สามารถเข้าสู่ระบบทางเดินอาหารได้จะถูกผลักดันออกทางเดิม
  • เกิดอาการคลื่นไส้ เมื่อกระเพาอาหารมีน้ำย่อยออกมามากจะกระตุ้นระบบทางเดินอาหาร ทำให้เกิดการคลื่นไส้
  • เกิดภาวะขาดสารอาหาร เมื่อร่างกายไม่สามารถดูดสารอาหารเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ ทำให้ร่างกายจะขาดสารอาหาร
  • ส่งผลต่อสุขภาพของตับทำให้ตัวเหลือง และ มีไข้สูง การสูญเสียการทำหน้าที่ของอัยวะย่อยและดูดซึม ส่งผลกระทบต่อตับและน้ำดี


ผลกระทบการไม่ดูดซึมสารอาหารต่อจิตใจ
 เมื่อร่างกายไม่สามารถดูดซึมสารอาหารได้ ก็ทำให้ร่างกายผอม บุคลิกภาพไม่ดี ส่งผลต่อภาพลักษณ์ และร่างกายอ่อนแอเจ็บป่วยง่าย ส่งผลต่อความสามารถการเข้าสังคม
ปัจจัยที่เป็นสาเหตุของการไม่ดูดซึมสารอาหาร
สาเหตุของการเกิดภาวะการดูดซึมสารอาหารผิดปรกติ หาสาเหตุที่แท้จริงยาก สาเหตุของการไม่ดูดซึมสารอาหาร มีหลายสาเหตุ หลายปัจจัย ที่ส่งผลกระทบต่อการทำงานของร่างกาย สามารถสรุปปัจจัยของการเกิดโรค ได้ดังนี้
  • ภาวะการติดเชื้อที่ลำไส้
  • การอักเสบและการบาดเจ็บที่ลำไส้
  • การผ่าตัดลำไส้
  • การใช้ยาปฏิชีวนะเป็นเวลานาน
  • ภาวะการเกิดโรคที่ตับ เช่น โรคตับอ่อนอักเสบชนิดเรื้อรัง เป้นต้น
  • ความบกพร่องของร่างกายโดยกำเนิด เกี่ยวกับ ทางเดินน้ำดี โรคของถุงน้ำดี โรคตับ โรคตับอ่อน ดาวน์ซินโดรม เป็นต้น
อาการของภาวะการดูดซึมสารอาหารผิดปรกติ
อาการของโรค เกิดจากการไม่ได้สารอาหารผ่านระบบทางเดินอาหาร ซึ่งอาการของโรคทั่วไป คือ ร่างกายซูบผอม จากการขาดสารอาหาร แต่อาการของโรคแสดงออกต่างกันในสารอาหารที่ขาด โดยการสารอาหาร เช่น ไขมัน โปรตีน น้ำตาล หรือ วิตามิน นั้นจะแสดงอาการของโรคที่แตกต่างกัน ดังนี้
  • การขาดสารอาหารประเภทไขมัน จะแสดงอาการ คือ อุจจาระยาก อุจจาระเหม็น อุจจาระนุ่ม อุจจาระลอยน้ำ เป็นต้น
  • การขาดสารอาหารประเภทโปรตีน จะแสดงอาการ คือ ผมแห้ง ผมร่วง เป็นต้น
  • การขาดสารอาหารประเภทน้ำตาล จะแสดงอาหาร คือ ท้องร่วง ท้องอืด ท้องเฟ้อ เป็นต้น
  • การขาดสารอาหารประเภทวิตามิน จะแสดงอาการ คือ มีภาวะโลหิตจาง ความดันโลหิตต่ำ การลดน้ำหนัก กล้ามเนื้ออ่อนแอ เป็นต้น
ภาวะแทรกซ้อนของความผิดปรกติของการดุดซึมสารอาหาร
หากร่างกายไม่ดูดซึมสารอาหาร ไปเลี้ยงร่างกาย ผู้ป่วยจะมีอาการท้องร่วงบ่อยๆ น้ำหนักตัวลด และ อาการปวดท้อง การขาดวิตามินอาจทำให้เกิดภาวะต่างๆ เช่น โรคโลหิตจาง มือเท้าชา และ มีปัญหาเกี่ยวกับความจำ ร่างกายของคนต้องการรับสารอาหารที่เหมาะสมแบะถูกต้อง ซึ่งการขาดสารอาหาร ส่งผลต่อระบบในร่างกายทุกระบบ เช่น หัวใจ สมอง กล้ามเนื้อ เลือด ไต และ ผิวหนัง

================================================================
ระบบการย่อยอาหาร
เป็นชุดของอวัยวะที่ทำหน้าที่ย่อยอาหาร เรียกว่า ระบบทางเดินอาหาร มีลักษณะเป็นท่อกลวง จากปากไปจนถึงทวารหนัก อาหารที่ผ่านเข้าไปจะถูกย่อยจนสามารถดูดซึมสารอาหาร ได้แก่ คาร์โบไฮเดรต โปรตีน ไขมัน วิตามิน และเกลือแร่ เข้าสู่ร่างกาย
โฆษณาจาก HonestDocs
ปัญหากวนใจของหลายคน ถ้ารักษาอย่างถูกวิธีก็มีโอกาสหาย ใบหน้ากระจ่างใส!
แพ็คเกจรักษาสิวเริ่มต้น 400 บาท ลดสูงสุด 50%

ปาก
การย่อยอาการเริ่มต้นที่ปาก เมื่อเคี้ยวอาหาร น้ำย่อยในน้ำลายจะเริ่มย่อยคาร์โบไฮเดรต ลิ้นและกล้ามเนื้อคอหายจะเคลื่อนไหวทำให้เกิดการกลืนอาหารลงไปในหลอดอาหาร เพื่อเข้าสู่กระเพาะอาหารต่อไป
กระเพาะอาหารและดูโอดีนัม
อาหารจุถูกบดย่อยให้ละเอียดลงอีกด้วยกรดและน้ำย่อยจากกระเพาะอาหาร ซึ่งจะใช้เวลานานหลายชั่วโมง จนกระทั่งอาหารมีสภาพเกือบจะกลายเป็นของเหลว แล้วจะเคลื่อนตัวต่อไปยังลำไส้เล็กส่วนต้น คือ ดูโอดีนัม ซึ่งจะได้รับน้ำย่อยจากตับและตับอ่อนเพิ่มเติม
ลำไส้เล็ก
การย่อยเสร็จสิ้นโดยสมบูรณ์ที่ลำไส้เล็กนี้ อาหารจะถูกย่อยต่อจนกลายเป็นหน่วยเล็กๆ ที่สามารถดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือดและน้ำเหลืองได้
โฆษณาจาก HonestDocs
ปัญหากวนใจของหลายคน ถ้ารักษาอย่างถูกวิธีก็มีโอกาสหาย ใบหน้ากระจ่างใส!
แพ็คเกจรักษาสิวเริ่มต้น 400 บาท ลดสูงสุด 50%

ลำไส้ใหญ่ อาหารส่วนที่เหลือ ไม่สามารถถูกย่อยได้อีกแล้ว จะอยู่ในรูปของเหลวไหลเข้าสู่ลำไส้ใหญ่ น้ำจะถูกดูดซึมกลับเข้าสู่ร่างกาย ทำให้กากอาหารแห้งเป็นก้อนเคลื่อนไปรอที่ไส้ตรงจนกว่าจะถึงเวลาขับออกจากร่างกาย
อาการคลื่นไส้อาเจียน
เยื่อบุลำไส้จะสลายตัวหลุดลอกไป และมีเซลล์ใหม่ขึ้นทดแทนทุก 24 ชั่วโมง ระบบทางเดินอาหารจะมีปฏิกิริยาต่อสิ่งระคายเคือง ไม่ว่าจะเป็นอาหารที่ปนเปื้อนเชื้อโรคหรือสารพิษ โดยการอาเจียนหรือท้องเสียเพื่อขับสารเหล่านั้นออกมา
โรคระบบทางเดินอาหาร
1. การอุดกั้นทางเดินอาหารส่วนต้น, 257
2. ฝีคัณฑสูตร/ ฝีทวารหนัก/ ฝีที่ก้น, 259
3. ไส้ติ่งอักเสบชนิดเฉียบพลัน, 261
4. มะเร็วหลอดอาหาร, 264
5. มะเร็งช่องปาก, 266
6. มะเร็วลำไส้ใหญ่, 269
7. ปากแหว่ง/ เพดานโหว่, 271
8. โรคอุจจาระร่วง, 273
9. โรคหลอดอาหารอักเสบ, 276
10. ฝีทะลุทวารหนัก, 278
11. ทางออกกระเพาะอาหารอุดตัน, 279
12. กระเพาะอาหารอักเสบ, 281
13. โรคกระเพาะอาหารและลำไส้อักเสบ, 283
14. โรคกรดไหลย้อน, 286
15. ริดสีดวงทวารหนัก, 289
16. ไส้เลื่อน, 291
17. ลำไส้เล็กอุดกั้น, 293
18. ภาวะลำไส้เน่าอักเสบ, 295
19. แผลกระเพาะอาหาร, 296
20. ภาวะเยื่อบุช่องท้องอักเสบ, 298
21. ลำไส้ใหญ่อักเสบ, 300
22. เลือดออกในทางเดินอาหารส่วนต้น, 301
Gastrointestinal Disorders
1. Achalasia of the cardia/ Cardiospasm/ Aperistalsis, 257
2. Anorectal abscess/ Anorectal fistula, Perianal abscess, 259
3. Acute appendicitis, 261
4. CA of Esophagus; Carcinoma of esophagus; Esophageal cancer, 264
5. CA of oral cavity, 266
6. CA of the Rectum, Sigmoid, Colon/Colorectal cancer, 269
7. Cleft lip/ Cleft palate, 271
8. Diarrhea, 273
9. Esophagitis, 276
10. Fistula-in-ano, 278
11. Gastric outlet obstruction, 279
12. Gastritis, 281
13. Gastroenteritis, 283
14. Gastroesophageal reflux disease (GERD), 286
15. Hemorrhoids, 289
16. Hernia, 291
17. Intestinal obstruction, 293
18. Necrotizing enterocolitis (NEC), 295
19. Peptic ulcer, 296
20. Peritonitis, 298
21. Ulcerative colitis (Crohn’s disease), 300
22. Upper GI bleeding, 301

================================================================

การอุดกั้นทางเดินอาหารส่วนต้น (Achalasia of the cardia; Cardiospasm; Aperistalsis)


ความหมาย หลอดอาหารส่วนปลายไม่สามารถคลายตัวหรือไม่มีการเคลื่อนไหว อาจเรียกว่า Cardiospasm หรือ Aperistalsis เป็นโรคที่มีความผิดปกติของประสาทกล้ามเนื้อที่เลี้ยงผนังทางเดินอาหารและหูรูดของทางเดินอาหาร คือ หลอดอาหารส่วนกลางไม่มีการบีบรูด เวลากลืนจะบีบรูดเฉพาะส่วนบน 1/3 เท่านั้น และหูรูดระหว่างหลอดอาการกับกระเพาะอาหารไม่เปิดให้อาหารผ่านขณะกลืนอาหาร
สาเหตุ สาเหตุที่ทำให้เกิดยังไม่ทราบแน่นอน แต่เชื่อว่าหลอดอาหารมีความผิดปกติของระบบประสาทที่มาควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อหลอดอาหาร พบบ่อยอายุ 30-40 ปี และ 70-80 ปี
พยาธิสรีรภาพ เป็นภาวะที่กล้ามเนื้อหลอดอาหารรวมทั้งประสาทที่หล่อเลี้ยงเสียไป หลอดอาหารส่วนที่อยู่เหนือตำแหน่งนี้จะค่อยๆ ยืดขยายออก ทำให้มีอาการขย้อนอาหารออกมา การบีบอาหารลงสู่กระเพาะอาหารจะไม่ประสานกันและหลอดอาหารจะหนาตัวขึ้น หูรูดหลอดอาหารส่วนล่างสามารถคลายตัวตามการกลืนแต่จะหดตัวก่อนเวลา หากเป็นมากจะพบกล้ามเนื้อส่วนนี้ลีบและเป็นพังผืด
อาการ อาจมีอาการกลืนอาหารลำบาก (ทั้งของแข็งและของเหลว) มีอาหารค้างในหลอดคอโดยเฉพาะเมื่อมีภาวะเครียดจะทำให้กลืนอาหารลำบากมากขึ้นหรืออาจขย้อนอาหารออกมาหรืออาจสำลักเวลาก้มตัวลง แต่จะกลืนอาหารได้ดีขึ้นเมื่อเป็นอาหารอุ่นหรือเมื่อกลืนอาหารช้าๆ หากเป็นนานๆ เข้าหลาดอาหารจะขยายใหญ่กว่าปกติหลายเท่า
การวินิจฉัยโรค มีประวัติกลืนอาหารลำบาก มีอาการขาดสารอาหาร เช่น ซูบผอม ซีด อ่อนเพลีย ไม่มีแรง เป็นต้น การวินิจฉัยแยกโรคโดยการถ่ายภาพรังสีทรวงอกพบเงาหลอดอาหารใหญ่ ส่องกล้องตรวจหลอดอาหารและกลืนแป้งแบเรียมเพื่อแยกหาต้นกำเนิดของโรคมะเร็ง หากเป็น Achalasia กลืนแป้งแบเรียมจะพบรอยตีบตรงส่วนปลายแหลมคล้ายปากนก ตรงส่วนกลางขยายกว้างโป่งพอง หรือส่องกล้องตรวจหลอดอาหาร (Endoscopy) จะเห็นหลอดอาหารส่วนปลายตีบอาจมีเศษอาหารคั่งค้าง ดันกล้องเบาๆ อาจผ่านเข้ากระเพาะอาหารได้ สามารถตรวจแยกโรคได้โดยเฉพาะ คือ การวัดความดันในหลอดอาหาร (Esophageal monometry) จะพบหลอดอาหารส่วนปลายไม่มีคลื่นบีบรูด หูรูดหลอดอาหารส่วนล่างหดเกร็ง ปิดแน่น มีความดันสูง และคลายตัวไม่สมบูรณ์
การรักษา โดยการทำผ่าตัดขยายหูรูดหรือเพื่อแยกกล้ามเนื้อของหลอดอาหารส่วนปลายและกระเพาะอาหารส่วนต้นออกจากชั้นเยื่อบุ เรียกชนิดของการทำผ่าตัดนี้ว่า Heller’s operation (Cardiomyotomy)
การพยาบาล จัดอาหารให้เหมาะกับการกลืนของผู้ป่วยโดยต้องเป็นอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูงเพื่อให้ผู้ป่วยได้รับสารอาหารครบถ้วน แนะนำให้รับประทานอาหารช้าๆ ไม่เร่งรีบ หลังรับประทานอาหารอิ่มแล้วจัดให้นั่งพักในท่าศีรษะสูง 1-2 ชั่วโมง เพื่อป้องกันการขย้อนหรือสำลักลงปอด จัดอาหารเสริมให้ผู้ป่วยระหว่างมื้อ เช่น น้ำผลไม้ นม โอวัลติล เป็นต้น ชั่วน้ำหนักตัวผู้ป่วยทุกวัน ติดตามผลการตรวจเลือดทางห้องปฏิบัติการ เช่น อัลบูมิน (Albumin) เป็นต้น เพื่อประเมินว่าได้รับสารอาหารเพียงพอหรือไม่ บางรายอาจต้องให้อาหารทางหลอดเลือดดำในกรณีที่รับประทานอาหารไม่ได้

CR: https://www.honestdocs.co/gastrointestinal-disorders-59975397/cardiospasm-disease

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น