อินซูลิน คืออะไร ทำไมสำคัญกับผู้ป่วยโรคเบาหวาน


    เพื่อนๆ ทุกคนที่เคยใกล้ชิดกับโรคเบาหวาน หรือออกกำลังกายอยู่เป็นประจำก็คงคุ้นหูคุ้นตากับคำว่า “อินซูลิน” หรือเคยเห็นบทความเกี่ยวกับว่า “ อินซูลิน ” กันมาบ้างแล้วใช่มั้ยคะ แต่เราเองได้ยินบ่อยๆ ก็ใช่ว่าจะรู้นะคะว่ามันคืออะไร และมีประโยชน์ยังไงบ้างกับร่างกาย ซึ่งวันนี้เราจะพาทุกคนไปทำความรู้จักกับ อินซูลิน คืออะไร ตั้งแต่ต้น จนถึงขั้นลงลึกเลยว่า มันคืออะไร ช่วยอะไรได้ จำเป็นยังไง แล้วทำไมทุกคนถึงต้องให้ความสำคัญ รับรองว่ามีประโยชน์กับคุณแน่นอน

    อินซูลิน คืออะไร
    “ อินซูลิน ” นั้นพูดให้เข้าใจกันง่ายๆ ก็คือ ฮอร์โมนชนิดนึงที่อยู่ในร่างกายของคนเรา ซึ่งมันจะทำหน้าที่เผาผลาญน้ำตาลที่เราได้จากการกินอาหาร ซึ่งถ้าร่างกายเราหลั่งอินซูลินออกมาน้อยเกินไป ก็จะทำให้น้ำตาลในร่างกายเยอะมาก (เพราะไม่มีตัวเผาผลาญ) เกิดเป็นการสะสมขึ้นจนตกค้างในกระแสเลือด และกลายเป็นไขมันจนทำให้เราอ้วนขึ้น ซึ่งแน่นอนว่าเมื่อเกิดเป็นโรคอ้วน ก็จะนำพาโรคร้ายต่างๆ ที่น่ากลัวให้เข้ามา

    และเมื่อไหร่ก็ตามที่เราอยู่ในภาวะอินซูลินบกพร่องเป็นเวลานานๆ ก็จะทำให้เกิดโรคเบาหวานตามมานั่นเองค่ะ อาจจะต้องตัดอวัยวะบางส่วนทิ้ง หรือสูญเสียการมองเห็นเลยทีเดียว

ทำความเข้าใจแบบเจาะลึก เกี่ยวกับ อินซูลิน รักษาเบาหวานได้ยังไงบ้าง


อินซูลินเนี่ยมาจากภาษาละติน ซึ่งก็คือคำว่า insula หรือ “island” ที่แปลว่า “เกาะ” เนี่ยแหละ เพราะเป็นฮอร์โมนที่ถูกสร้างขึ้นบนกลุ่มเซลล์ในตับอ่อน ซึ่งอินซูลินเนี่ยเราจะได้ยินว่าเค้าเอาไว้ใช้ในการรักษาโรคเบาหวานกัน โดยแบ่งการรักษาออกตามประเภทของโรคได้ดังนี้

รักษาเบาหวานประเภท 1 : เบาหวานประเภทนี้จะต้องใช้อินซูลินจากนอกร่างกายเข้าช่วย เพื่อแก้ไขปัญหาที่เกิดจากการขาดฮอร์โมนนั่นเอง ซึ่งจะใช้การฉีดเข้าไปแบบที่เราเห็นกันเนี่ยแหละค่ะ

รักษาเบาหวานประเภท 2 : คนป่วยประเภทนี้ร่างกายจะต่อต้านอินซูลิน หรือผลิตอินซูลินได้น้อย ต้องใช้อินซูลินเฉพาะในการรักษาแค่ตอนที่ยาอื่นๆ ที่ใช้อยู่นั้นไม่พอต่อการควบคุมกลูโคสในเลือด


เจาะลึกแหล่งที่มา และอินซูลินทั้ง 4 ชนิด

อย่างที่ได้บอกไปว่า อินซูลิน คือ ฮอร์โมนที่ช่วยให้ร่างกายปรับระดับน้ำตาลในเลือดได้ ทำให้น้ำตาลไม่ต่ำไป หรือสูงไป โดยอินซูลินเนี่ยถูกนำมาใช้รักษาเบาหวานตั้งแต่ปี 1920-1929(2463-2472) (ปัจจุบันอายุ 101-92) ซึ่งแต่ก่อนคนเป็นเบาหวานต้องตายเท่านั้น พอมีการค้นคว้าและวิจัยอินซูลิน ก็มีการนำมาใช้ในการรักษาให้แก่ผู้ป่วยเบาหวาน ทำให้ผู้ป่วยเบาหวานมีชีวิตรอดได้มากขึ้น

ซึ่งอินซูลินในทุกวันนี้ถูกแบ่งออกเป็น 2 แหล่งที่มาด้วยกัน คือ
1. อินซูลินที่ได้จากการสกัดตับอ่อนของหมูและวัว
2. อินซูลินที่ได้จากการสังเคราะห์โดยวิธีพันธุวิศวกรรม
ซึ่งทั้ง 2 แหล่งที่มานี้ทำให้เราได้อินซูลินที่เหมือนกับในร่างกายเราครบทุกประการ มีโอกาสแพ้น้อยมาก และนิยมใช้กันในปัจจุบัน โดยเราสามารถแบ่งอินซูลินออกตามการออกฤทธิ์ของมันได้เป็น 4 ชนิดดังนี้

1. ออกฤทธิ์เร็วมาก
เป็นอินซูลินไม่มีสี เป็นน้ำใสๆ ใช้เวลาออกฤทธิ์ 10-15 นาทีเท่านั้น
และอยู่ได้นานสูงสุด 3-5 ชั่วโมงเลยทีเดียว
ใช้ฉีดเข้าร่างกายเวลาต้องการลดระดับน้ำตาลในเลือดลง
หลังจากทานอาหาร
2. ออกฤทธิ์เร็ว
อินซูลินชนิดนี้จะเป็นใสๆ ไม่มีสีเหมือนกันค่ะ ใช้เวลาออกฤทธิ์ 30-60 นาที
และออกฤทธิ์ได้นาน 5-7 ชั่วโมงเลย
ส่วนใหญ่จะฉีดก่อนกินอาหารสักครึ่งชั่วโมง
เพื่อให้ระดับน้ำตาลหลังกินอาหารเข้าไปคงตัว หรือลดลง
3. ออกฤทธิ์ปานกลาง
สำหรับตัวนี้ อินซูลิน คือจะมีลักษณะขุ่นๆ หน่อย
ต้องเขย่าขวดก่อนใช้ให้เป็นเนื้อเดียวกัน
ใช้เวลา 2-4 ชั่วโมงกว่าจะออกฤทธิ์ แต่อยู่ได้นาน 18-24 ชั่วโมงเลยล่ะค่ะ
ใช้สำหรับรักษาเบาหวานโดยเฉพาะ
4. ออกฤทธิ์ยาวนาน
สำหรับประเภทสุดท้ายนี้อินซูลินจะมีลักษณะใส ไม่มีสี และสามารถ
ออกฤทธิ์ได้นานถึง 24 ชม.
ใช้ฉีดเพื่อให้ระดับอินซูลินในเลือดสูงขึ้นให้อยู่ในระดับนึง
ตลอดทั้งวัน ป้องกันน้ำตาลในเลือดต่ำ

ทั้งหมดนี้ก็เป็นข้อมูลของอินซูลินที่เกี่ยวพันกับเบาหวาน
ทั้งทางตรงและทางอ้อม เพื่อนๆ ก็ได้ทำความรู้จักไปแล้วว่า 
อินซูลิน คืออะไร แต่ที่แน่ๆ การได้ศึกษาลงลึกถึง
รายละเอียดของมันในครั้งนี้ก็จะทำให้เพื่อนๆ เข้าใจถึง
ความเป็นมาของผู้ป่วยเบาหวานได้มากขึ้น นะคะ
และรู้ถึงกระบวนการรักษาอย่างมีประสิทธิภาพอีกด้วย