วันอังคารที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2560

ภาวะเท้าตก (Foot drop)

ภาวะเท้าตก (Foot drop)

รศ.นพ.สมศักดิ์ เทียมเก่า 
อายุรแพทย์ประสาทวิทยา
หลายคนคงเคยประสบปัญหา ภาวะเท้าตก คือ เดินลากเท้า ยกเท้าไม่พ้นพื้น อาจสงสัยว่าภาวะดังกล่าวคืออะไร เกิดจากอะไร รักษาอย่างไร จะหายหรือไม่ ภาวะดังกล่าวเรียกว่า “ภาวะเท้าตก หรือ Foot drop” เป็นเรื่องใกล้ตัว อาจเกิดกับท่านได้ ดังนั้นทราบรายละเอียดเบื้องต้นของภาวะนี้ได้จากบทความนี้ครับ

ภาวะเท้าตกคืออะไร?

ภาวะเท้าตก คือ ภาวะที่ผู้ป่วยยกเท้าส่วนหน้า (ส่วนที่เป็นนิ้วเท้า) ขึ้นลำบาก ทำให้เวลาเดินจะเดินลากเท้า โดยเฉพาะเวลาเดินขึ้นบันได อาการเดินผิดปกติดังกล่าว ไม่ใช่โรค แต่เป็นภาวะผิดปกติ ซึ่งเกิดจากโรคต่าง ๆ
ภาวะเท้าตก เป็นภาวะพบได้เรื่อยๆ ไม่ถึงกับบ่อยมาก เกิดได้ในทุกวัย พบในผู้ชายมาก กว่าผู้หญิงประมาณ 2-3 เท่า มักเกิดกับเท้าข้างเดียว (น้อยมากที่พบเกิด 2 ข้าง) เท้าซ้ายและเท้าขวามีโอกาสเกิดได้ใกล้เคียงกัน

ภาวะเท้าตกมีความผิดปกติอยู่ที่อวัยวะตำแหน่งใด?

ความผิดปกติที่ทำให้เกิดภาวะเท้าตก มักพบอยู่บริเวณเส้นประสาทพีโรเนียล (Pero neal nerve) ซึ่งอยู่บริเวณด้านข้างของกระดูกบริเวณข้อเข่าด้านนอก อย่างไรก็ตาม สาเหตุที่พบได้น้อย อาจเกิดจากความผิดปกติของ สมอง/ขมอง ไขสันหลังกล้ามเนื้อขา หรือ เส้นประ สาทส่วนปลายของขา ก็ได้
ภาวะเท้าตก มักมีอาการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อส่วนใกล้เคียง หรืออาการผิดปกติอื่นๆร่วมด้วย ดังจะกล่าวต่อไปในหัวข้อ อาการร่วม
อนึ่ง เส้นประสาทพีโรเนียล คือ เส้นประสาทย่อยของเส้นประสาทขนาดใหญ่ของไขสันหลัง (Spinal nerve) ที่เรียกว่า Sacral nerve ที่มีหน้าที่ควบคุมการทำงาน และการรับความรู้ สึกของ กล้ามเนื้อหลังตอนล่าง กล้ามเนื้อสะโพก ก้น ขา และเท้า โดยเส้นประสาทพีโรเนียลจะควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อ ขา ข้อเท้า เท้า และนิ้วเท้า ในส่วนที่กระดกขึ้น

อะไรเป็นสาเหตุของภาวะเท้าตก?

สาเหตุการเกิดภาวะเท้าตก ได้แก่

ภาวะเท้าตกพบเป็นอาการเดียว หรือพบร่วมกับอาการอื่นๆ?

ภาวะเท้าตกนั้น พบได้ทั้งเป็นแบบอาการเดียว (คือ มีเท้าตกเพียงอาการเดียว) และอาจพบร่วมกับอาการผิดปกติอื่นๆด้วย

เมื่อไหร่ควรไปพบแพทย์?

ผู้ป่วย ควรรีบด่วนพบแพทย์/ไปโรงพยาบาล เมื่อมีอาการกระดกข้อเท้าขึ้นลำบากเพียงเล็กน้อย หรือเริ่มมีอาการชา เท้า นิ้วเท้า ที่เป็นมากขึ้นเรื่อยๆ ถึงแม้จะยังไม่มีอาการอ่อนแรงร่วมด้วยก็ตาม ไม่ควรรอให้มีอาการที่รุนแรงแล้วจึงพบแพทย์/ไปโรงพยาบาล

แพทย์วินิจฉัยภาวะเท้าตกได้อย่างไร?

แพทย์วินิจฉัยภาวะเท้าตกได้ โดยจะพิจารณาจากประวัติทางการแพทย์ต่างๆ การตรวจร่างกาย การตรวจร่างกายทางระบบประสาท และประวัติอาการที่แพทย์ต้องสอบถามจากผู้ป่วย คือ
เมื่อแพทย์พิจารณาข้อมูลประวัติ และตรวจร่างกายแล้ว ก็จะดูว่าจำเป็นต้องตรวจสืบค้นเพิ่มเติมอะไรบ้าง เช่น เอกซเรย์กระดูกสันหลังเอว ตรวจการทำงานของกล้ามเนื้อ-เส้นประสาทด้วยการตรวจคลื่นไฟฟ้ากล้ามเนื้อ หรือเอกซเรย์คอมพิวเตอร์สมอง ทั้งนี้ขึ้นกับ อาการผู้ป่วย สิ่งที่แพทย์ตรวจพบจากการตรวจร่างกายผู้ป่วย และดุลพินิจของแพทย์

ภาวะเท้าตกรักษาอย่างไร?

การรักษาภาวะเท้าตก ประกอบด้วย การแก้ไขสาเหตุ, การรักษาประคับประคองตามอา การ, และ การทำกายภาพบำบัด
การแก้ไขสาเหตุ เช่น เกิดจากการกดทับ เพราะชอบนั่งขัดสมาธิ นั่งไขว่ห้าง ก็ปรับพฤติ กรรมใหม่, การพลิกตัวบ่อยๆในผู้ป่วยอัมพาตหรือหมดสติ, การต้องควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้ดีเมื่อเป็นโรคเบาหวาน เป็นต้น
การผ่าตัดแก้ไขสาเหตุ เช่น การผ่าตัดกระดูก หรือเส้นประสาท กรณีเกิดจากอุบัติเหตุ หรือมีกระดูกหรือพังผืดกดทับเส้นประสาท, รวมถึงเมื่อการรักษาด้วยวิธีอื่นๆไม่ได้ผล ที่แพทย์อาจพิจารณาผ่าตัดย้ายเส้นเอ็น หรือผ่าตัดเชื่อมกระดูกข้อเท้ากับกระดูกเท้าเข้าด้วยกัน เพื่อแก้ ปัญหาเท้าตก
การรักษาประคับประคองตามอาการ และการทำกายภาพบำบัด เช่น การใช้เครื่องช่วยพยุงเท้า หรืออุปกรณ์ชนิดที่ช่วยทำให้เดินแล้วเท้าไม่ลากพื้น หรือ การกระตุ้นไฟฟ้ากล้ามเนื้อ/เส้นประสาทที่เป็นสาเหตุของอาการ

ภาวะเท้าตกมีภาวะแทรกซ้อนอะไรบ้าง?

ภาวะแทรกซ้อน/ผลข้างเคียงที่พบบ่อยจากภาวะเท้าตก คือ การเกิดแผลที่เท้าจากการเดินลากเท้า และการล้มง่าย เพราะสะดุดปลายเท้า

ภาวะเท้าตกมีการพยากรณ์โรคอย่างไร?

การพยากรณ์โรคของภาวะเท้าตก ได้แก่ ผู้ป่วยส่วนใหญ่ตอบสนองต่อการรักษาดี ยก เว้นผู้ป่วยที่ปล่อยให้มีอาการนานมากเกินไป และรวมถึงสาเหตุ และโรคประจำตัวต่างๆของผู้ ป่วยด้วย เช่น
กรณีที่เกิดจากการกดทับเส้นประสาทโดยตรงนั้น ควรพบแพทย์ให้เร็วที่สุด เพราะถ้าปล่อยให้มีการกดทับนานมากกว่า 3 สัปดาห์ โอกาสที่เส้นประสาทจะมีการฟื้นตัวเป็นปกติก็มีโอ กาสลด
แต่ถ้าสาเหตุเกิดจากโรคเส้นประสาทอักเสบ ก็ไม่ควรปล่อยให้เป็นนานมากกว่า 3 เดือน
กรณีผู้ป่วยมีโรคเบาหวาน หรือมีโรคไตวาย ร่วมด้วย การฟื้นตัวของเส้นประสาทจะสู้ในคนทั่วไปไม่ได้

ผู้ป่วยควรดูแลตนเองอย่างไร? เมื่อไรควรพบแพทย์ก่อนนัด?

การดูแลตนเองที่ดีเมื่อมีภาวะเท้าตก ประกอบด้วย
  • การดูแลความเรียบร้อยในบ้าน ไม่ให้มีสิ่งของกีดขวางทางเดิน
  • อย่าวางสายไฟตามพื้น
  • ทำสัญลักษณ์ที่พื้นบันได เช่น เส้นแถบสีเพื่อให้ผู้ป่วยเห็นชัดเจน จะได้ยกเท้าให้พ้นพื้นขึ้นบันไดได้ง่าย
  • ปฏิบัติตามแพทย์ พยาบาลแนะนำ
  • รักษา ควบคุมโรคต่างๆที่เป็นสาเหตุให้ได้ดี
  • พบแพทย์/ไปโรงพยาบาลตามนัดเสมอ
  • พบแพทย์/ไปโรงพยาบาลก่อนนัด เมื่อเกิดอุบัติเหตุ เช่น ล้มศีรษะแตก, มีแผลที่เท้า, และ/หรืออาการอ่อนแรงเป็นมากขึ้น

ป้องกันภาวะเท้าตกอย่างไร?

การป้องกันภาวะเท้าตก คือ การหลีกเลี่ยงพฤติกรรมที่ทำให้มีการกดทับเส้นประสาทได้ง่าย เช่น การนั่งไขว่ห้างเป็นเวลานานๆ โดยไม่เปลี่ยนท่า การนอนทับร่างกายด้านใดด้านหนึ่งเป็นเวลานาน โดยไม่เปลี่ยนท่า กรณีใส่เฝือกขา ก็ต้องสังเกตว่ามีการกดทับเส้นประสาทหรือไม่ โดยดูว่ามีอาการชาเท้าหรือไม่ เป็นต้น
นอกจากนั้น คือ การป้องกัน รักษา ควบคุมโรคต่างๆ ที่อาจเป็นสาเหตุของอาการเท้าตก (ดังได้กล่าวแล้วในหัวข้อ สาเหตุ) ให้ได้ดี เช่น โรคเบาหวาน เป็นต้น

1 ความคิดเห็น: