หน้าที่ของเอสโตรเจนอีกอย่างหนึ่งก็คือ
ทำให้ผนังมดลูกหนาตัวขึ้น และ รับการเปลี่ยนแปลง
เตรียมพร้อมที่จะรับการฝังตัวของไข่
ซึ่งเป็นหน้าที่ของฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนที่สร้างขึ้นจากรังไข่หลังไข่ตก
เมื่อได้รับการ ปฏิสนธิจากสเปิร์มของเพศชาย ถ้าไข่ไม่ได้รับการผสม
ระดับฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนจะลดลง ทำ ให้เยื่อบุโพรงมดลูกที่ถูกสร้างไว้หลุด
ลอกออกมาเป็นเลือดประจำเดือนทุกๆ เดือน เป็นวงจรไปเรื่อยๆ ในชีวิตผู้หญิง ๑ คน
จะมีประจำเดือน เกิดขึ้นรวมแล้วประมาณ ๔๐๐ รอบ ซึ่งหากกลไกดังกล่าวทำงานผิดพลาด
หรือระดับของฮอร์โมนเอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรนไม่อยู่ในภาวะสมดุล
ก็จะมีอาการผิดปกติเกี่ยวกับการมีประจำเดือนเกิดขึ้น
นอกจากหน้าที่ดังกล่าวแล้ว
ฮอร์โมนเพศหญิงยังทำให้ร่างกาย และเนื้อเยื่อต่างๆ มีความแข็งแรง
แสดงให้เห็นถึงความเป็นผู้หญิงที่สมบูรณ์ เช่น มีการขยายของหน้าอก มากขึ้น
มีการสร้างมูกในช่องคลอดมากขึ้น เพราะฉะนั้นเมื่อยังมีฮอร์โมน
ผู้หญิงก็จะดูเต่งตึง สดใส มีน้ำมี นวล เซลล์ต่างๆ จะเสื่อมสภาพช้าลง
กระดูกก็ยังคงสภาพที่ค่อนข้างแข็งแรง
ปัจจุบันเด็กผู้หญิงทั่วโลกมีแนวโน้มจะเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์เร็วขึ้น
(รวมทั้งเด็กไทย) นั่นคือ ประมาณ ๙ ปีขึ้นไป
ทั้งนี้อาจมีเหตุปัจจัยความเจริญในด้านต่างๆ เช่น ภาวะเศรษฐกิจ ความเป็นอยู่
และสภาวะโภชนาการที่ดีขึ้น ขณะเดียวกันผู้หญิงก็จะเข้าสู่วัยหมดประจำเดือนช้าลง
ภาวะหมดประจำเดือน
การหมดประจำเดือนเกิดขึ้นได้ ๒ กรณี
คือ หนึ่ง หมดไปเองตามธรรมชาติ สอง เกิดจากการผ่าตัด เอารังไข่ออกเพื่อรักษาโรค
ซึ่งจะทำ ให้เกิดอาการผิดปกติเร็วกว่าผู้หญิงที่หมดประจำเดือนตามธรรมชาติ
อาการที่บ่งบอกว่าได้ย่างเข้าสู่ วัยทองแล้ว
ในผู้หญิงอาจจะแสดงอาการล่วงหน้าประมาณ ๓-๔ ปี (ก่อนที่รังไข่จะหยุดทำงาน หยุดผลิต
ฮอร์โมน) นั่นคือ ประจำเดือนจะเริ่ม มาผิดปกติ เช่น จะมาเดือนละ ๒ ถึง ๓ ครั้ง
หรือประจำเดือนมาบ้าง ไม่มาบ้าง ซึ่งเป็นสัญญาณเตือนให้รู้ว่ารังไข่ทำงานน้อยลง
ถ้าประจำเดือน ไม่มา ๖ เดือน บางครั้งอาจจะกลับ มาใหม่ได้
แต่ถ้าประจำเดือนหยุดไปนานถึง ๑ ปี ก็แสดงว่ารังไข่หยุด ทำงานแล้ว
ซึ่งโดยเฉลี่ยผู้หญิงไทยจะหมดประจำเดือน เมื่ออายุประมาณ ๔๘-๕๐ ปี
เมื่อเข้าสู่วัยทอง
เมื่อเข้าสู่วัยทองการผลิตฮอร์โมนทั้งสองจะมีปริมาณลดลง
ในช่วงแรกที่เรียกว่า premenopusal ระดับฮอร์โมนยังไม่หยุดผลิตแต่อาจจะผลิตมากไป หรือน้อยเกินไป หรือมาไม่สม่ำเสมอ
ทำให้เราเกิดอาการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายและจิตใจ
แต่เมื่อเข้าสู่วัยทองการผลิตฮอร์โมนจะลดลงทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่อวัยวะดังนี้
- ระบบสืบพันธ์ซึ่งรวมอวัยวะเพศ
ทางเดินปัสสาวะ เนื้อเยื่อจะฝ่อทำให้เกิดอาการช่องคลอดแห้ง คันช่องคลอด
เจ็บเวลามีเพศสัมพันธ์ ปัสสาวะบ่อย กลั้นปัสสาวะไม่ได้
- ผิวหนัง
เลือดที่ไปเลี้ยงผิวหนังมีปริมาณมากขึ้นทำให้เกิดอาการร้อนตามตัว
- สมอง
การที่ระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนลดลงทำให้เกิดอาการซึมเสร้า อารมณ์แปรปรวน
รู้สึกไม่สบายตามตัว
- กระดูก
การขาดฮอร์โมนเอสโตรเจนทำให้เนื้อกระดูกโปร่งบาง กระดูกหักง่าย
ผู้ป่วยจะมีน้ำหนักน้อยลง เตี้ยเนื่องจากหลังค่อม ปวดกระดูกส่วนที่โปร่งบาง
- หัวใจ
การฮอร์โมนจะทำให้เกิดโรคหัวใจเพิ่มขึ้น
การให้ฮอร์โมนทดแทนในผู้ป่วยวัยทอง
ก่อนการให้ฮอรโมนทดแทนจะต้องประเมินความรุนแรงของโรคที่พบร่วมกับวัยทองเช่นอาการร้อนตามตัว
กระดูกโปร่งบางและต้องมาเปรียบเทียบกับความเสี่ยงที่จะเกิดโรคจากการให้ฮอร์โมน
เช่นมะเร็ง โรคหัวใจและหลอดเลือด และจะต้องพิจารณาว่ามีทางเลือกอื่นอีก
หรือไม่ในการรักษาภาวะเหล่านั้นผู้ป่วยบางคนเมื่อเริ่มเข้าสู่วัยทองแพทย์จะให้ยาคุมกำเนิดรับประทานซึ่งมีผลดีหลายประการ
เช่นทำให้ประจำเดือนมาสม่ำเสมอ ลดอาการร้อนตามตัว ลดอัตราการเกิดมะเร็งรังไข่
ข้อเสียคือไม่ทราบว่าหมดประจำเดือนหรือยัง ถ้าสงสัยก็ให้หยุดยาคุมกำเนิด 4-5 เดือนแล้วดูว่าประจำเดือนมาหรือไม่
เมื่อเข้าสู่วัยทองจริงแพทย์จะพิจารณาให้ฮอร์โมนที่มีส่วนประกอบของ estrogen
และ progesteroneผลดีของการให้คือ ลดอาการ
ป้องกันกระดูกพรุน และป้องกันโรคหัวใจ แต่ต้องระวังโรคแทรกซ้อนคือ โรคตับอักเสบ
ไขมัน triglyceride สูง โรคมะเร็งเต้านม
Phytoestrogen
พืชหลายชนิด เช่น ธัญพืช ผัก ถั่วต่าง
ถั่วเหลือง จะมีสารซึ่งออกฤทธิ์คล้าย estrogen แต่ยังไม่แนะนำให้ใช้รักษาเนื่องจากยังไม่มีรายงานเรื่องประสิทธิภาพ
และผลข้างเคียง
- การใช้ฮอร์โมนทดแทนทำให้เกิดมะเร็งเพิ่มขึ้น อ่านที่นี่
ฮอร์โมนทดแทนในวัยทองแบ่งตามลักษณะการใช้
ฮอร์โมนทดแทนสำหรับผู้ที่ผ่าตัดมดลูกออกไปแล้ว จะเป็นฮอร์โมนที่ประกอบด้วยเอสโตรเจนเพียงอย่างเดียว
ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่ช่วยบรรเทาอาการของวัยทอง มีทั้งชนิดรับประทาน
ชนิดทาบริเวณผิวหนัง ชนิดแผ่นแปะ ฮอร์โมนทดแทนสำหรับผู้หญิงที่ยังมีมดลูกอยู่ เป็นฮอร์โมนที่ประกอบด้วยเอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรนธรรมชาติ
เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดปกติหรือมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก
ฮอร์โมนชนิดนี้สามารถแบ่งเป็น
- ชนิดที่ใช้เป็นรอบๆ เป็นการให้เอสโตรเจน 21 วันและใน 12 วันหลังจะมีโปรเจสเตอโรนร่วมด้วย จะมีช่วงที่ไม่ต้องใช้ฮอร์โมน 7
วัน ทำให้มีประจำเดือนสม่ำเสมอ
ชนิดนี้เหมาะสำหรับใช้กับผู้ที่อยู่ในวัยเปลี่ยนหรือวัยหมดประจำเดือนช่วงต้น
- ชนิดที่ต้องใช้ต่อเนื่อง (Continuous combined regimen): เป็นการให้เอสโตรเจนร่วมกับโปรเจสเตอโรนในปริมาณที่เท่ากันทุกวันเพื่อให้ไม่ต้องมีประจำเดือน
- ชนิดนี้เหมาะสำหรับผู้ที่หมดประจำเดือนมานานมากกว่า
1 ปีขึ้นไป
ผลของการได้ฮอร์โมนทดแทน
- ลดการซึมเศร้า เหนื่อยง่าย ใจสั่น
นอนไม่หลับ
- ทำให้ผิวหนังเต่งตึงและชุ่มชื้น
ลดอาการผิวหนังอักเสบ ผมจะหนาและดกดำขึ้น
- ช่วยเพิ่มระดับของความจำ มีสมาธิมากขึ้น
- เพิ่มความหนาแน่นของกระดูกเมื่อได้รับร่วมกับแคลเซียมและมีการออกกำลังกายที่เหมาะสมร่วมกัน
ผลของการได้ฮอร์โมนทดแทนจะแตกต่างกันไปในสตรีวัยทองแต่ละคนซึ่งมีปัจจัยทางด้านสุขภาพที่แตกต่างกัน
อาการข้างเคียงของฮอร์โมนทดแทน
- เลือดออกทางช่องคลอด พบได้บ่อย
และทำให้ไม่อยากใช้ฮอร์โมนทดแทน ส่วนใหญ่พบได้ในช่วง 3-6 เดือนแรกที่เริ่มใช้ฮอร์โมนทดแทน
และเมื่อใช้ฮอร์โมนทดแทนอย่างสม่ำเสมอ เลือดที่ออกทางช่องคลอดจะหายไปเอง
- อาการเจ็บเต้านม
อาการนี้จะเป็นเฉพาะช่วงแรกที่ได้รับฮอร์โมนทดแทนเท่านั้น
หลังจากนั้นจะลดลงและหายไป
- อาการปวดศีรษะไมเกรน
- น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น
สตรีวัยทองส่วนใหญ่จะมีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นง่ายอยู่แล้ว
ฮอร์โมนทดแทนไม่ได้ทำให้น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นอีก สาเหตุของการที่มีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นมาจากการดำเนินชีวิตประจำวันโดยเฉพาะความไม่สมดุลระหว่างอาหาร
การออกกำลังกาย และอัตราการเผาผลาญอาหารในร่างกายที่ลดลง อย่างไรก็ตาม
การให้ฮอร์โมนทดแทนจะให้ในปริมาณต่ำเท่ากับระดับปกติเท่านั้น
ไม่มีการให้เกินขนาด ดังนั้นอาการข้างเคียงจึงมีน้อย
ปรึกษาแพทย์เพื่อพิจารณารับฮอร์โมนทดแทน
ในกรณีที่สตรีวัยทองมีอาการต่างๆ มาก
หรือตรวจพบความผิดปกติ เช่น กระดูกบาง หรือกระดูกพรุน
และมีความจำเป็นจะต้องได้รับฮอร์โมนเพิ่มเติม
แพทย์จะพิจารณาให้ฮอร์โมนทดแทนตามความเหมาะสม
การให้ฮอร์โมนทดแทนมีประโยชน์อย่างไร
การให้ฮอร์โมนทดแทน คือ
การให้ฮอร์โมนเอสโตรเจนชนิดสกัดจากธรรมชาติ (Bio-identical
Hormone) ที่มีโครงสร้างเดียวกับฮอร์โมนเพศหญิงในร่างกาย
การให้ฮอร์โมนเอสโตรเจนนั้นอาจให้ร่วมกับฮอร์โมนเพศหญิงอีกตัวหนึ่งคือ
ฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน ที่มีคุณสมบัติเช่นเดียวกับฮอร์โมนเพศตามธรรมชาติ
ความสัมพันธ์ของเอสโตรเจนกับโรคกระดูกพรุน
เอสโตรเจนเป็นฮอร์โมนเพศหญิงที่มีบทบาทสำคัญหลายอย่างในร่างกาย เช่น การสร้างความเจริญเติบโตและลักษณะของความเป็นผู้หญิง (เช่น น้ำเสียงอ่อนหวาน มีเต้านม สะโพกผาย) ทำให้ผนังมดลูกหนาตัวขึ้นเพื่อรองรับการฝังตัวของตัวอ่อน ควบคุมการสร้างคอเลสเตอรอล ช่วยในการผลิตน้ำนมสำหรับคุณแม่ที่มีลูกน้อย และที่สำคัญในประเด็นที่เรากำลังจะพูดถึงกัน คือ ช่วยในการป้องกันโรคกระดูกพรุนครับ
หน้าที่ของเอสโตรเจนต่อกระดูก
ฮอร์โมนเอสโตรเจนเป็นฮอร์โมนเพศหญิงชนิดหนึ่งที่เราคุ้นเคยกันดี ทำหน้าที่สำคัญที่เกี่ยวข้องกับกระดูก คือ การสงวนแคลเซียม เพื่อให้คุณแม่มีน้ำนมไว้เลี้ยงลูกอย่างเพียงพอ ซึ่งแน่นอนว่ากระบวนการสร้างน้ำนมของคุณแม่จำเป็นต้องใช้แคลเซียมปริมาณสูงมาก
กระบวนการสงวนแคลเซียมในกระดูกเพื่อให้คุณแม่สร้างน้ำนมนั้น ฮอร์โมนเอสโตรเจนจะทำหน้าที่ในการยับยั้ง พาราไทรอยด์ฮอร์โมน (Parathyroid Hormone หรือ PTH) เพื่อเพิ่มการดูดซึมแคลเซียมเข้าสู่กระดูกและลดกระบวนการสูญเสียแคลเซียมให้น้อยลง
โปรดทราบไว้ว่า หน้าที่หลักของเอสโตรเจนไม่ใช่การสร้างกระดูก แต่เป็นการสงวนแคลเซียมในกระดูกไว้ โดยการยับยั้งกิจกรรมการสลายกระดูกให้น้อยลง
เอสโตรเจนกับสตรีที่อยู่ในภาวะวัยทอง
การสูญเสียมวลกระดูกอย่างมีนัยสำคัญจะเริ่มขึ้นในช่วงตั้งแต่วัยก่อนวัยทองหรือวัยก่อนหมดประจำเดือน (Premenopause) พอเข้าสู่วัยทอง สตรีที่อยู่ในวัยทอง (วัยหมดประจำเดือน) ร่างกายจะสร้างฮอร์โมนเอสโตรเจนได้น้อยมากจนถึงไม่ได้เลย (อวัยวะที่สร้างฮอร์โมนเอสโตรเจนคือ รังไข่) ส่งผลให้ร่างกายขาดฮอร์โมนเอสโตรเจนไป เมื่อร่างกายขาดฮอร์โมนเอสโตรเจนที่มีหน้าที่ในการป้องกันการสูญเสียมวลกระดูกแล้ว แต่ละปีของอายุที่มากขึ้นก็จะมีการสูญเสียแคลเซียมจากกระดูกเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ส่งผลให้เกิดภาวะกระดูกพรุนและกระดูกบางได้ในที่สุด
สตรีที่มีการตัดรังไข่ออกทั้งสองข้าง (ไม่ว่าจะตัดมดลูกหรือไม่ก็ตาม) จะอยู่ในภาวะเดียวกันกับสตรีวัยทอง กล่าวคือ ร่างกายไม่มีการผลิตฮอร์โมนเอสโตรเจนได้อีกแล้ว จึงส่งผลให้เกิดภาวะกระดูกพรุนได้เช่นเดียวกัน สิ่งสำคัญที่ควรทราบ คือ หลังจากการผ่าตัดรังไข่ 4 ปี จะเป็นช่วงที่ร่างกายมีอัตราการสูญเสียมวลกระดูกมากที่สุด จนอาจทำให้เกิดอาการหรือภาวะกระดูกพรุนได้
สตรีที่ไม่มีรังไข่ จึงควรให้ความสำคัญกับการใช้ฮอร์โมนเอสโตรเจนทดแทนอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าฮอร์โมนทดแทนนั้นจะอยู่ในรูปของอาหาร อาหารเสริมก็ตาม ซึ่งการใช้ฮอร์โมนเอสโตรเจนทดแทนอย่างถูกต้อง จะช่วยให้การสูญเสียมวลกระดูกลดน้อยลงและป้องกันโรคกระดูกพรุนได้ในระยะยาว
การใช้ฮอร์โมนเอสโตรเจนทดแทน ควรเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่ทำจากธรรมชาติหรือมีความเป็นธรรมชาติมากที่สุด กล่าวคือ เอสโตรเจนที่บริโภคเข้าสู่ร่างกายควรจะอยู่ในรูปอาหาร อาหารเสริม หรือตำรับยาสมุนไพร ซึ่งได้จากพืชธรรมชาติ ผู้เขียนไม่แนะนำให้ใช้เอสโตรเจนที่ได้จากการสังเคราะห์หรือผลิตจากสารเคมีที่มีผลข้างเคียงค่อนข้างมาก
โปรดทราบไว้ว่า อะไรที่เป็นธรรมชาติมากร่างกายของคนเรามักจะเผาผลาญและดูดซึมไปใช้ได้ดีและมีผลข้างเคียงน้อยกว่าอะไรที่สารสังเคราะห์ที่ได้จากกระบวนการทางเคมีเสมอ
รู้จักกับไฟโตเอสโตรเจน (Phytoestrogen)
คำว่า ไฟโต หมายถึง พืช ดังนั้น คำว่า ไฟโตเอสโตรเจน จึงมีความหมายว่า เอสโตรเจนที่ได้จากพืชนั่นเอง
การใช้ฮอร์โมนเอสโตรเจนทดแทนในกลุ่มของสตรีวัยทองหรือผู้ที่ผ่าตัดรังไข่ไปแล้ว ควรใช้ฮอร์โมนเอสโตรเจนที่ได้จากพืชหรือใช้ไฟโตเอสโตรเจน เพราะเป็นสารที่ได้จากพืชซึ่งมีความเป็นธรรมชาติ เข้ากับร่างกายได้ดี และร่างกายสามารถนำฮอร์โมนที่ได้จากธรรมชาติเหล่านี้ไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพโดยที่มีผลข้างเคียงน้อยกว่าการใช้ฮอร์โมนเอสโตรเจนสังเคราะห์ ที่มีผลข้างเคียงต่อร่างกายค่อนข้างมาก
ไฟโตเอสโตรเจนมีอยู่ในอาหารหลายชนิดมาก ไม่ว่าจะเป็นอาหารประเภทถั่วและเมล็ดชนิดต่างๆ อาหารที่ทำจากถั่วเหลือง ผลไม้บางชนิด เช่น มะพร้าว มะม่วงสุก เป็นต้น
แนะนำอาหารที่อุดมไปด้วยเอสโตรเจน
อาหารที่นำเสนอมีเอสโตรเจนสูงทุกชนิด ผู้เขียนได้เรียงลำดับจากอาหารที่มีเอสโตรเจนจากสูงมากไปหาสูงค่ะ
ขอแนะนำ นมถั่วเหลือง ค่ะเพราะสารไฟโตเอสโตรเจนในนมถั่วเหลืองนั้น เป็นสารที่มีโครงสร้างคล้ายฮอร์โมนเพศหญิงหรือฮอร์โมนเอสโตรเจน
ขอแนะนำ นมถั่วเหลือง ค่ะเพราะสารไฟโตเอสโตรเจนในนมถั่วเหลืองนั้น เป็นสารที่มีโครงสร้างคล้ายฮอร์โมนเพศหญิงหรือฮอร์โมนเอสโตรเจน
- เมล็ดแฟลกซ์ (Flax Seed)
- ถั่วเหลือง (Soy Beans)
- เต้าหู้ (Tofu)
- นมถั่วเหลือง (Soy Milk)
- โยเกิร์ตที่ทำจากถั่วเหลือง (Soy Yoghurt)
- เมล็ดงา งาดำหรืองาขาวก็ได้ (Sesame Seed)
- มิโซะ (Miso)
- ขนมปังผสมธัญพืชที่หลากหลาย (Multigrain Bread)
- ถั่วดำ (Black Beans)
ท่านทราบหรือไม่ว่ามีสมุนไพรไทยอยู่หลายชนิดที่มีไฟโตเอสโตรเจน เช่น กวาวเครือขาว ว่านชักมดลูก ว่านหางช้าง ที่สามารถใช้เป็นฮอร์โมนทดแทนในกรณีของสตรีวัยทองและสตรีที่ผ่าตัดรังไข่ไปแล้วได้
อย่างไรก็ตาม สมุนไพรแต่ละชนิดจะมีประโยชน์หรือนำไปใช้กับคนได้จริงๆแบบไม่มีผลข้างเคียงและปลอดภัย จำเป็นต้องได้รับการปรุงหรือผสมด้วยสมุนไพรชนิดอื่น ตามหลักการแพทย์แผนไทย การใช้สมุนไพรเพียงชนิดเดียวจะเรียกว่า ยาเดี่ยว และการใช้สมุนไพรหลายชนิดผสมกันจะเรียกว่า ตำรับยา ซึ่งการใช้สมุนไพรแบบตำรับ จะมีข้อดีมากกว่าการใช้ยาเดี่ยว เพราะสมุนไพรแต่ละชนิดมีทั้งประโยชน์และโทษ การปรุงให้เป็นตำรับจะช่วยเสริมจุดเด่นของสมุนไพรและช่วยลบจุดด้อยที่อาจเป็นผลข้างเคียงได้ ดังนั้น เราควรเลือกใช้สมุนไพรที่เป็นตำรับและต้องใส่ใจกับสูตรสมุนไพรที่ใช้เสมอ
หลายครั้งที่คนทั่วไปใช้สมุนไพรแบบขาดความเข้าใจอย่างถ่องแท้ เช่น เมื่อมีข่าวหรือข้อมูลงานวิจัยที่แสดงให้เห็นว่า ว่านชักมดลูก เป็นสมุนไพรที่มีไฟโตเอสโตรเจนและใช้เป็นฮอร์โมนทดแทนได้ คนที่ไม่เข้าใจก็จะไปหาซื้อว่านชัดมดลูกมารับประทานในลักษณะของยาเดี่ยว ซึ่งไม่มีส่วนผสมของสมุนไพรชนิดอื่นหรือปรุงให้เป็นตำรับยาโดยแพทย์แต่อย่างใด ซึ่งเป็นเรื่องที่ค่อนข้างอันตราย เพราะว่านชักมดลูกเองหากทานแบบเดี่ยวๆในปริมาณที่มากและนานเกินไป ก็อาจจะเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดโรคได้หลายอย่าง เช่น มะเร็งเต้านม เนื้องอกในมดลูก และฮอร์โมนไทรอยด์ผิดปกติได้ เป็นต้น
หากท่านสนใจที่จะใช้ฮอร์โมนทดแทนจากธรรมชาติ ผู้เขียนแนะนำให้ใช้ผลิตภัณฑ์ยาสตรีเบอร์ 2 ซึ่งคิดค้นและปรุงโดยแพทย์ทางเลือก รายละเอียดเพิ่มเติม!
สรุป
เอสโตรเจนมีบทบาทสำคัญในการป้องกันโรคกระดูกพรุน โดยการสะสมและป้องกันการสูญเสียแคลเซียมจากกระดูก สตรีที่ขาดฮอร์โมนชนิดนี้จะอยู่ในกลุ่มของสตรีวัยทองและสตรีที่ได้ผ่าตัดรังไข่ออกไปแล้ว การรับฮอร์โมนทดแทนจากอาหาร อาหารเสริมและสมุนไพร จึงเป็นเรื่องสำคัญและจำเป็น ผู้เขียนแนะนำให้หลีกเลี่ยงการใช้ฮอร์โมนทดแทนสังเคราะห์ เพราะมีผลข้างเคียงมากและไม่ปลอดภัยในการใช้ระยะยาว
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น