สารทำให้ผิวขาว
ผิวหนังของคนมีความหนาประมาณ 3-5
มิลลิเมตร
ประกอบด้วย 3 ชั้น ชั้นหนังกำพร้า ชั้นหนัง และ ชั้นไขมัน
การที่ผิวหนังของคนมีสีต่างๆ เนื่องจากพิกเมนต์ดำและสีน้ำตาล และบิลิรูบิน
เป็นพิกเมนต์สีเหลือง นิโกรมีผิวหนังเป็นสีดำ และสีน้ำตาล
เนื่องจากมีเมลานินมากกว่าพิกเมนต์อื่น พวกคอเคเซี่ยนมีผิวหนังเป็นสีอมชมพู
เนื่องจากมีฮีโมโกลบิน มากกว่าพิกเมนต์อื่น ส่วนพวกมองโกเลียนมีผิวหนังสีต่างๆกัน
สีขาวเหลืองและสีน้ำตาล ทั้งนี้เนื่องจากการรวมตัวของพิกเมนต์ ฮีโมโกลบิน
เมลานินและ บิลิรูบิน เมลานินทำให้ผิวหนังมีสีน้ำตาลและมีผลต่อการเกิดฝ้าและกระ
เมลานินถูกสังเคราะห์ในเซลล์สร้างสีบริเวณฐานของหนังกำพร้า ในสภาวะปกติ
เซลล์สร้างสีจะสร้างเม็ดสีออกมาในอัตราและปริมาณสม่ำเสมอและเท่าๆกันทุกจุด
เม็ดสีจะถูกปล่อยออกมากระจาย อยู่ในชั้นผิวหนังสม่ำเสมอกัน
เมื่อได้รับการกระตุ้นจากรังสีในแสงแดด สาเหตุของการเกิดฝ้า เนื่องจากสาเหตุร่วม
คือ การเปลี่ยนแปลงฮอร์โมนในระบบภายในร่างกาย เช่น จากการตั้งครรภ์ หรือ
การรับประทานยาคุมกำเนิด การเปลี่ยนแปลงฮอร์โมนภายนอกร่างกาย เช่น
จากการทาครีมบำรุงผิวที่มีฮอร์โมนบางชนิด หรือยาที่มีสเตียรอยด์เป็นส่วนผสม
และการได้รับรังสีอุลตราไวโอเลตจากแสงแดดมากเกินไป มีผลทำให้เกิดการแปรปรวนของเซลล์สร้างสีบางบริเวณ
ทำให้มีการสร้างเมลานินจำนวนมากจนมองเห็นเป็นหย่อมสีเข้มมากกว่าปกติ หรือ เป็นฝ้า
ส่วนกระ เป็นจุดเล็กๆ กระจายทั่วใบหน้า ไม่รวมเป็นแผ่น เกิดจากแสงแดดโดยตรง
เมื่ออายุมาก กระที่เกิดในเด็ก และคนอายุน้อย มีกรรมพันธุ์มาเกี่ยวข้อง
ขั้นตอนพื้นฐานในการสร้างเมลานิน
ไทโทรซิน ® โดพา ® โดพาควิโนน ® ฟีโอเมลานิน สีแดง สีเหลือง
® ยูเมลานิน สีน้ำตาล สีดำ
ผลิตภัณฑ์ทำให้ผิวขาวขึ้นเป็นที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย
เพื่อทำให้ผิวทั้งหมดขาวขึ้น ทำให้ฝ้าและกระจางลง
สารออกฤทธิ์สำคัญทำให้หน้าขาวต้องรบกวนขั้นตอนการสร้างเมลานินหนึ่งขั้นตอน
หรือมากว่าหนึ่งขั้นตอน สารทำให้ผิวขาวที่ใช้กันมากอาจแบ่งออกเป็น 4
กลุ่ม
กลุ่มที่ 1
สารฟอกสี
(Bleaching Agents) เช่น ไฮโดรควิโนน โมโนเบนโซน
และ ปรอทแอมโมเนีย ทั้งหมดนี้เป็นสารห้ามใช้ในเครื่องสำอาง
ไฮโดรควิโนน เคยเป็นสารที่นิยมใช้กันมากในครีม หรือ โลชั่นป้องกันฝ้า ความเข้มข้นไม่เกินร้อยละ 2 สารนี้ออกฤทธิ์ลดการสร้างเมลานิน โดยขัดขวางเอนไซม์ไทโรซิเนสในการออกซิไดซ์ไทโรซิน มิให้เปลี่ยนเป็นโดพา ในขั้นตอนแรกของการสร้างเมลานิน ผลคือลดการสร้างเมลานินของไฮโดรควิโนนเป็นเพียงชั่วคราว หากหยุดใช้จะกลับเป็นอย่างเดิมหรือเป็นมากกว่าเดิม ข้อดีคือ ไม่ทำลายเซลล์สร้างสี ไฮโดรควิโนนมักทำให้เกิดการระคายเคือง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อใช้ร่วมกับกรดวิตามินเอ และหากใช้ไฮโดรควิโนนติดต่อกันเป็นเวลานานเกินกว่า 6 เดือน จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของเนื้อเยื่อภายในผิวหนังทำให้เกิดเป็นฝ้าถาวรสีน้ำเงินอมดำ ดังนั้น ไฮโดรควิโนนจึงถูกกำหนดเป็นสารห้ามใช้เป็นส่วนผสมในเครื่องสำอาง ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขฉบับที่ 25 (พ.ศ.2539) ออกตามความในพระราชบัญญํติเครื่องสำอาง พ.ศ. 2535 นอกจากนี้ไฮโดรควิโนนยังมีข้อเสียคือ ไม่คงสภาพ ถูกออกซิไดซ์ได้ง่ายเมื่อถูกแสงแดดและอากาศ โดยเปลี่ยนจากสีขาวเป็นสีน้ำตาล
โมโนเบนโซน เป็นไฮโดรวิโนนโมโนเบนซิลอีเทอร์ ออกฤทธิ์เช่นเดียวกับไฮโดรควิโนน แต่ทำลายเซลล์สร้างสีผิว ทำให้เกิดรอยด่างขาวเป็นหย่อมๆ อย่างถาวร และเกิดการระคายเคืองต่อผิวหนัง โมโนเบนโซนถูกกำหนดเป็นสารห้ามใช้ในเครื่องสำอางตั้งแต่ พ.ศ. 2525 ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขฉบับที่ 12 พ.ศ. 2525 ออกตามพระราชบัญญัติเครื่องสำอาง พ.ศ. 2517 และยังคงห้ามใช้ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขฉบับที่ 9 พ.ศ. 2536 ออกตามความในพระราชบัญญัติเครื่องสำอาง พ.ศ. 2535
ปรอทแอมโมเนีย เคยเป็นที่นิยมใช้กันมากเช่นเดียวกับไฮโดรควิโนน ในครีมป้องกันฝ้าเรียกว่า ครีมไข่มุก โดยใช้ในอัตราส่วนไม่เกิดร้อยละ 3.0 ปรอทแอมโมเนียรบกวนเอนไซม์ไทโรซิเนส โดยรวมตัวกับโปรตีนซึ่งเป็นส่วนประกอบของเอนไซม์ หรือโดยการจับกับไอออนทองแดงที่มีอยู่ในเอนไซม์ ทำให้ลดการสร้างเมลานิน การใช้ผลิตภัณฑ์ที่มี่สวนผสมของปรอทแอมโมเนียติดต่อกันเป็นเวลานาน ทำให้มีการสะสมปรอทในผิวหนัง และดูดซึมเข้าสู่กระแสโลหิต ทำให้ตับ และไตพิการ โรคโลหิตจาง เป็นต้น ปรอทแอมโมเนียถูกกำหนดเป็นสารห้ามในเครื่องสำอางตั้งแต่ พ.ศ. 2532 ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขฉบับที่ 37 พ.ศ. 2532 ออกตามพระราชบัญญัติเครื่องสำอาง พ.ศ. 2517 และยังคงห้ามใช้ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขฉบับที่ 9 พ.ศ. 2536 ออกตามความในพระราชบัญญัติเครื่องสำอาง พ.ศ. 2535
ไฮโดรควิโนน เคยเป็นสารที่นิยมใช้กันมากในครีม หรือ โลชั่นป้องกันฝ้า ความเข้มข้นไม่เกินร้อยละ 2 สารนี้ออกฤทธิ์ลดการสร้างเมลานิน โดยขัดขวางเอนไซม์ไทโรซิเนสในการออกซิไดซ์ไทโรซิน มิให้เปลี่ยนเป็นโดพา ในขั้นตอนแรกของการสร้างเมลานิน ผลคือลดการสร้างเมลานินของไฮโดรควิโนนเป็นเพียงชั่วคราว หากหยุดใช้จะกลับเป็นอย่างเดิมหรือเป็นมากกว่าเดิม ข้อดีคือ ไม่ทำลายเซลล์สร้างสี ไฮโดรควิโนนมักทำให้เกิดการระคายเคือง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อใช้ร่วมกับกรดวิตามินเอ และหากใช้ไฮโดรควิโนนติดต่อกันเป็นเวลานานเกินกว่า 6 เดือน จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของเนื้อเยื่อภายในผิวหนังทำให้เกิดเป็นฝ้าถาวรสีน้ำเงินอมดำ ดังนั้น ไฮโดรควิโนนจึงถูกกำหนดเป็นสารห้ามใช้เป็นส่วนผสมในเครื่องสำอาง ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขฉบับที่ 25 (พ.ศ.2539) ออกตามความในพระราชบัญญํติเครื่องสำอาง พ.ศ. 2535 นอกจากนี้ไฮโดรควิโนนยังมีข้อเสียคือ ไม่คงสภาพ ถูกออกซิไดซ์ได้ง่ายเมื่อถูกแสงแดดและอากาศ โดยเปลี่ยนจากสีขาวเป็นสีน้ำตาล
โมโนเบนโซน เป็นไฮโดรวิโนนโมโนเบนซิลอีเทอร์ ออกฤทธิ์เช่นเดียวกับไฮโดรควิโนน แต่ทำลายเซลล์สร้างสีผิว ทำให้เกิดรอยด่างขาวเป็นหย่อมๆ อย่างถาวร และเกิดการระคายเคืองต่อผิวหนัง โมโนเบนโซนถูกกำหนดเป็นสารห้ามใช้ในเครื่องสำอางตั้งแต่ พ.ศ. 2525 ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขฉบับที่ 12 พ.ศ. 2525 ออกตามพระราชบัญญัติเครื่องสำอาง พ.ศ. 2517 และยังคงห้ามใช้ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขฉบับที่ 9 พ.ศ. 2536 ออกตามความในพระราชบัญญัติเครื่องสำอาง พ.ศ. 2535
ปรอทแอมโมเนีย เคยเป็นที่นิยมใช้กันมากเช่นเดียวกับไฮโดรควิโนน ในครีมป้องกันฝ้าเรียกว่า ครีมไข่มุก โดยใช้ในอัตราส่วนไม่เกิดร้อยละ 3.0 ปรอทแอมโมเนียรบกวนเอนไซม์ไทโรซิเนส โดยรวมตัวกับโปรตีนซึ่งเป็นส่วนประกอบของเอนไซม์ หรือโดยการจับกับไอออนทองแดงที่มีอยู่ในเอนไซม์ ทำให้ลดการสร้างเมลานิน การใช้ผลิตภัณฑ์ที่มี่สวนผสมของปรอทแอมโมเนียติดต่อกันเป็นเวลานาน ทำให้มีการสะสมปรอทในผิวหนัง และดูดซึมเข้าสู่กระแสโลหิต ทำให้ตับ และไตพิการ โรคโลหิตจาง เป็นต้น ปรอทแอมโมเนียถูกกำหนดเป็นสารห้ามในเครื่องสำอางตั้งแต่ พ.ศ. 2532 ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขฉบับที่ 37 พ.ศ. 2532 ออกตามพระราชบัญญัติเครื่องสำอาง พ.ศ. 2517 และยังคงห้ามใช้ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขฉบับที่ 9 พ.ศ. 2536 ออกตามความในพระราชบัญญัติเครื่องสำอาง พ.ศ. 2535
กลุ่มที่ 2 สารทำให้ผิวขาว (Whitening
Agents) ที่นิยมใช้กันมากในเครื่องสำอางในท้องตลาดเมืองไทยได้แก่
อาร์บิวติน กรดโคจิด และ แอสคอร์บิกแมกนีเซียมฟอสเฟต
สารดังกล่าวยังไม่มีประกาศควบคุมโดยเฉพาะ อาร์บิวติน เป็นไฮโดรควิโนน ไกลโคไซด์
อาร์บิวตินที่ใช้ในผลิตภัณฑ์ทำให้ผิวขาวมี 2 แบบ คือ ได้จากการสังเคราะห์ทางเคมี และได้จากการสกัดจากพืช อาร์บิวตินเป็นส่วนประกอบสำคัญมากถึงร้อยละ 18 ใน Drug “ Urva ursi folium” ระบุในตำรายาประเทศญี่ปุ่น หรือที่เรียกกันว่า Bearberry มีการนำสมุนไพรสกัด Bearberry extract นำมาใช้เป็นส่วนผสมในผลิตภัณฑ์ทำให้ผิวขาวอีกด้วย อาร์บิวตินไม่สลายเป็นไฮโดรควิโนนโดยเอนไซม์ในผิวหนังมนุษย์ อาร์บิวตินออกฤทธิ์โดยแย่งโดพาในการเข้าทำปฏิกิริยากับเอนไซมืไทโรซิเนส มีผลต่อการยับยั้งการสร้างเมลานินไม่เป็นพิษต่อเซลล์สร้างเมลานินทำให้ผิวหน้าขาวขึ้นและมีความปลอดภัยสูง ไม่ทำให้เกิดอาการระคายเคืองและอาการข้างเคียงใดๆ ทั้งยังคงสภาพต่อแสงแดดได้ดีกว่าไฮโดรควิโนนและได้ผลดีกว่ากรดโคจิก เป็นที่นิยมใช้กันมากในญี่ปุ่น โดยใช้อาร์บิวตินความเข้มข้นร้อยละ 3-7
กรดโคจิก ที่ใช้ในผลิตภัณฑ์ทำให้ผิวหน้าขาวได้จากการสังเคราะห์ทางเคมี หรือ ได้จากการสกัดกรดโคจิกที่เกิดขึ้นจากขั้นตอนการหมักกลูโคสด้วยเชื้อรา แอสเพอร์จิลลัส โอริซี (Aspergillus oryzae) กรดโคจิกออกฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ไทโรซิเนส โดยจับกับไอออนทองแดงในเอนไซม์ไทโรซิเนส ช่วยลดการสร้างเมลานิน ใช้ในผลิตภัณฑ์ทำให้หน้าขาวความเข้มข้นร้อยละ 1-3 บางสูตรใช้สำหรับเอสเทอร์ของโคจิก เช่น โคจิกไดพาร์มิเตต เอนไซม์เอสเทอเรส ที่ผิวหนังทำให้กรดโคจิก ถูกปล่อยออกมาอย่างช้าๆ จาก เอสเทอร์ของกรดโคจิก
แมกนีเซียมแอสคอร์บิกฟอสเฟส เป็นฟอสเฟตเอสเทอร์ของวิตามินซี ที่มีความคงสภาพ ได้จากการสังเคระห์ทางเคมี เมื่อใช้เป็นส่วนผสมในครีมหรือโลชั่นทาผิวหนัง จะไฮโดรไลซ์ได้โดยง่ายด้วยเอนไซม์ฟอสฟาเตสที่ผิวหนังให้วิตามินซี (กรดแอสคอร์บิก) ซึ่งออกฤทธิ์ขัดขวางการสร้างเมลานินทำให้ผิวขาวขึ้น ขัดขวางการเกิดอนุมูลอิสระซึ่งทำให้ผิวแก่ ในขณะเดียวกันช่วยเสริมสร้างคอลลาเจน
อาร์บิวตินที่ใช้ในผลิตภัณฑ์ทำให้ผิวขาวมี 2 แบบ คือ ได้จากการสังเคราะห์ทางเคมี และได้จากการสกัดจากพืช อาร์บิวตินเป็นส่วนประกอบสำคัญมากถึงร้อยละ 18 ใน Drug “ Urva ursi folium” ระบุในตำรายาประเทศญี่ปุ่น หรือที่เรียกกันว่า Bearberry มีการนำสมุนไพรสกัด Bearberry extract นำมาใช้เป็นส่วนผสมในผลิตภัณฑ์ทำให้ผิวขาวอีกด้วย อาร์บิวตินไม่สลายเป็นไฮโดรควิโนนโดยเอนไซม์ในผิวหนังมนุษย์ อาร์บิวตินออกฤทธิ์โดยแย่งโดพาในการเข้าทำปฏิกิริยากับเอนไซมืไทโรซิเนส มีผลต่อการยับยั้งการสร้างเมลานินไม่เป็นพิษต่อเซลล์สร้างเมลานินทำให้ผิวหน้าขาวขึ้นและมีความปลอดภัยสูง ไม่ทำให้เกิดอาการระคายเคืองและอาการข้างเคียงใดๆ ทั้งยังคงสภาพต่อแสงแดดได้ดีกว่าไฮโดรควิโนนและได้ผลดีกว่ากรดโคจิก เป็นที่นิยมใช้กันมากในญี่ปุ่น โดยใช้อาร์บิวตินความเข้มข้นร้อยละ 3-7
กรดโคจิก ที่ใช้ในผลิตภัณฑ์ทำให้ผิวหน้าขาวได้จากการสังเคราะห์ทางเคมี หรือ ได้จากการสกัดกรดโคจิกที่เกิดขึ้นจากขั้นตอนการหมักกลูโคสด้วยเชื้อรา แอสเพอร์จิลลัส โอริซี (Aspergillus oryzae) กรดโคจิกออกฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ไทโรซิเนส โดยจับกับไอออนทองแดงในเอนไซม์ไทโรซิเนส ช่วยลดการสร้างเมลานิน ใช้ในผลิตภัณฑ์ทำให้หน้าขาวความเข้มข้นร้อยละ 1-3 บางสูตรใช้สำหรับเอสเทอร์ของโคจิก เช่น โคจิกไดพาร์มิเตต เอนไซม์เอสเทอเรส ที่ผิวหนังทำให้กรดโคจิก ถูกปล่อยออกมาอย่างช้าๆ จาก เอสเทอร์ของกรดโคจิก
แมกนีเซียมแอสคอร์บิกฟอสเฟส เป็นฟอสเฟตเอสเทอร์ของวิตามินซี ที่มีความคงสภาพ ได้จากการสังเคระห์ทางเคมี เมื่อใช้เป็นส่วนผสมในครีมหรือโลชั่นทาผิวหนัง จะไฮโดรไลซ์ได้โดยง่ายด้วยเอนไซม์ฟอสฟาเตสที่ผิวหนังให้วิตามินซี (กรดแอสคอร์บิก) ซึ่งออกฤทธิ์ขัดขวางการสร้างเมลานินทำให้ผิวขาวขึ้น ขัดขวางการเกิดอนุมูลอิสระซึ่งทำให้ผิวแก่ ในขณะเดียวกันช่วยเสริมสร้างคอลลาเจน
กลุ่มที่ 3
สารปกคลุมผิว
(Covering Agents) ใช้พิกเมนต์ซึ่งเป็นสารที่มีคุณสมบัติทึบแสงและมีสีขาวทันที
แต่เมื่อล้างออกสีผิวหนังคงเดิมไม่ได้ขาวขึ้น
สารที่มีประสิทธิภาพสูงสุดคือทิตาเนียมไดออกไซด์ ส่วนสารอื่นที่ใช้ เช่น
ซิงค์ออกไซด์ ทัลคัม บิสมัสซับไนเตรต และคาโอลิน พิกเมนต์
เหล่านี้นอกจากทำให้ผิวขาวแล้ว
ในขณะเดียวกันยังเป็นสารกันแดดด้วยเนื่องจากคุณสมบัติทึบแสง
ผลิตภัณฑ์ทำให้ผิวขาวบางตำรับใช้ทิตาเนียมไดออกไซด์ผสมกับสมุนไพรสกัด (Wildberry
extract) ซึ่งมีส่วนผสมของกรดโคจิก
กลุ่มที่ 4
เอเอชเอ
หรือ อลฟาไฮดรอกซีแอซิด เรียกกันว่า กรดผลไม้ เป็นสารที่มีอยู่ตามธรรมชาติในอาหาร
เช่น กรดเมลิกในแอปเปิ้ล กรดซิตริกในมะนาว กรดทาร์ทาริกในองุ่น
กรดแลกติกในนมเปรี้ยว และกรดไกลโคลิกในอ้อย เป็นต้น
เอเอชเอช่วยละลายเนื้อเยื่อเกี่ยวพันซึ่งยึดอยู่ระหว่างเซลล์ที่ตายแล้ว
ลอกออกอย่างรวดเร็วและสม่ำเสมอ ทำให้รูขุมขนไม่อุดตันช่วยในการขับน้ำคัดหลั่งของต่อมเหงื่อ
ลดรอยฝ้าและจุดด่างดำ และยังกระตุ้นการสร้างคอลลาเจนอีกด้วย
การเร่งหลุดออกเซลล์ทำให้ริ้วรอยเล็กๆ และรอยเหี่ยวย่นหลังจากการใช้หลายครั้ง
และสะท้อนแสงอย่างสม่ำเสมอ ทำให้ผิวดูอ่อนกว่าวัย จากการวิจัยการใช้ผลิตภัณฑ์เอเอชเอในคนปี
ค.ศ. 2000 ซึ่งได้รับเงินสนับสนุนจากสำนักคณะกรรมการอาหารและยา
ประเทศสหรัฐอเมริกา
การประเมินผลการวิจัยพบว่ามีความสัมพันธ์ระหว่างการใช้เอเอชเอกับการลดเวลาในการทำให้ผิวหนังแดงขอบชัด
ซึ่งหมายความว่าเอเอชเอทำให้ผิวหนังไวต่อรังสีอุลตร้าไวโอเลตมากขึ้น และเมื่อหยุดใช้ผิวหนังจะกลับคืนสู่ปกติภายในหนึ่งสัปดาห์
ส่วนผลการใช้ผลิตภัณฑ์เอเอชเอในระยะยาวกำลังระหว่างการวิจัย
การที่ผิวหนังขาวขึ้นจากการใช้สารทำให้ผิวขาวซึ่งออกฤทธิ์ลดการสร้างเมลานิน มีผลทำให้ผิวหนังอ่อนแอลง มีความไวต่อรังสีอุลตราไวโอเลตมากขึ้น จึงควรใช้ร่วมกับผิวหนังอ่อนแอลง มีความไวต่อรังสีอุลตราไวโอเลตมากขึ้น จึงควรใช้ร่วมกับผลิตภัณฑ์กันแดด และหลีกเลี่ยงการถูกแสงแดดจัดเพื่อป้องกันการเกิดฝ้า
ที่มา : หนังสือความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับสิ่งเป็นพิษ เล่ม 15 พ.ศ. 2544 กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข หน้า9-14.
การที่ผิวหนังขาวขึ้นจากการใช้สารทำให้ผิวขาวซึ่งออกฤทธิ์ลดการสร้างเมลานิน มีผลทำให้ผิวหนังอ่อนแอลง มีความไวต่อรังสีอุลตราไวโอเลตมากขึ้น จึงควรใช้ร่วมกับผิวหนังอ่อนแอลง มีความไวต่อรังสีอุลตราไวโอเลตมากขึ้น จึงควรใช้ร่วมกับผลิตภัณฑ์กันแดด และหลีกเลี่ยงการถูกแสงแดดจัดเพื่อป้องกันการเกิดฝ้า
ที่มา : หนังสือความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับสิ่งเป็นพิษ เล่ม 15 พ.ศ. 2544 กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข หน้า9-14.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น