โรคอัมพาต อัมพฤกษ์ (Stroke)
โรคอัมพาต อัมพฤกษ์ เป็นโรคที่สมองขาดออกซิเจนอันเนื่องมาจาก
เส้นเลือดไปเลี้ยงสมองอุดตัน หรือแตก ทำให้การทำงานของสมองส่วนต่างๆ ผิดปกติ
สมองเป็นอวัยวะที่ควบคุมหน้าที่ต่างๆของร่างกาย
หากสมองตายไปเนื่องจากขาดเลือดไปเลี้ยง ผู้ป่วยอาจจะมีปัญหาเกี่ยวกับการพูด
พฤติกรรม และความจำ นอกจากนี้ยังทำให้อวัยวะต่างๆ
ของร่างกายในส่วนที่สมองส่วนนั้นๆ ควบคุมอ่อนแรง
ความผิดปกติของร่างกายที่เกิดขึ้นจะเป็นมากหรือน้อย
ขึ้นกับว่าสมองส่วนใดขาดเลือดไปเลี้ยง และขาดเลือดไปเลี้ยงมากน้อยขนาดใด
ตัวอย่างเช่น หากสมองด้านหลังขาดเลือดไปเลี้ยง
ผู้ป่วยจะมีปัญหาเกี่ยวกับการมองหรือเห็นภาพ
ทำไมผู้ป่วยบางท่านจึงมีอาการ อ่อนแรงครึ่งซีก
ตามปกติแล้วสมองด้านขวาจะควบคุมการทำงานของร่างกายซีกซ้าย
และสมองด้านซ้ายจะควบคุมการทำงานของร่างกายซีกขวา หากมีปัญหาหลอดเลือดอุดตัน
หรือแตก เกิดกับสมองด้านขวา ร่างกายซีกซ้ายของผู้ป่วยจะอ่อนแรง และในทางตรงข้าม
หากมีการอุดตันหรือแตกของเส้นเลือดในสมองด้านซ้าย
ร่างกายซีกขวาของผู้ป่วยก็จะอ่อนแรง
การฟื้นฟูสภาพร่างกายของผู้ป่วยอัมพาต อัมพฤกษ์
การฟื้นฟูร่างกายผู้ป่วยโรคเส้นเลือดในสมองตีบหรือแตก
เป็นสิ่งที่มีความจำเป็นอย่างยิ่ง เพราะผู้ป่วยจะต้องมีการเรียนรู้สิ่งต่างๆ
เพื่อปรับตัวให้เข้ากับสภาพร่างกายที่เปลี่ยนแปลงไป
จุดมุ่งหมายในการฟื้นฟูร่างกาย และการทำกายภาพบำบัด
คือเพื่อเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ฝึกฝนทักษะต่างๆ และเพิ่มความมั่นใจ
และทำให้ผู้ป่วยสามารถช่วยเหลือตนเองได้มากที่สุด
แนวทางการป้องกันโรคอัมพาต อัมพฤกษ์
- ควบคุมความดันโลหิต
ควรตรวจเช็คความดันโลหิตเป็นประจำ เพราะความดันโลหิตสูงจะเพิ่มอัตราเสี่ยงต่อการเกิด
โรคอัมพาต อัมพฤกษ์
- ไม่สูบบุหรี่
การสูบบุหรี่จะเพิ่มอัตราเสี่ยงต่อการเกิด
โรคอัมพาต อัมพฤกษ์ จากการวิจัยพบว่าผู้ที่เลิกบุหรี่ไปแล้ว 2-5 ปี จะมีโอกาสเกิดโรคอัมพาต อัมพฤกษ์ น้อยกว่าผู้ที่ยังคงสูบบุหรี่อยู่
- ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
การออกกำลังกาย ทำให้หัวใจแข็งแรงขึ้น
การไหลเวียนของโลหิตดีขึ้น นอกจากนี้การออกกกำลังกายยังช่วย
ในการควบคุมความดันโลหิตและน้ำหนักตัว ซึ่งจะเป็นการลดปัจจัยเสี่ยง
ต่อการที่จะเกิดโรคอัมพาต อัมพฤกษ์
- ทานอาหารที่มีประโยชน์
ควรทานผักผลไม้สดให้มาก
หลีกเลี่ยงอาหารไขมันสูง และควรรับประทานปลาเป็นประจำเพราะปลาจะมี omega-3
fatty acids ที่ช่วยลดการอุดตันของลิ่มเลือด
ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งของการเกิดโรคอัมพาต อัมพฤกษ์
- ให้ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด
หากมีโรคเบาหวาน
ผู้ที่เป็นเบาหวานหากปล่อยให้น้ำตาลสูง
โดยไม่ควบคุม เส้นเลือดจะแข็ง ตีบตัน ขาดความยืดหยุ่น
ทำให้มีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิด โรคอัมพาต อัมพฤกษ์ มากขึ้น
หลักการเลือกสถานพยาบาลเพื่อดูแลผู้สูงอายุ
สถานที่ดูแลผู้สูงอายุ
อาจจะมีเรียกชื่อเรียกต่างๆกัน
สถานที่ที่มีความพร้อมในด้านการรักษาพยาบาล
ก็จะใช้คำเรียกว่า โรงพยาบาล โรงพยาบาลผู้สูงอายุ หรือสถานพยาบาลผู้สูงอายุ
ส่วนสถานที่ดูแลผู้สูงอายุที่ไม่เน้นการรักษาพยาบาล
และการทำกายภาพบำบัด อาจเรียกเป็น ศูนย์ดูแลสูงอายุ สถานพักฟื้นผู้สูงอายุ
ที่พักผู้สูงอายุ ที่พักคนชรา หรือบ้านพักคนชรา
ปัจจัยที่ควรคำนึง
ไม่ว่าเราจะเลือกสถานที่ที่ให้การดูแล
กับผู้ที่เราเคารพรักแบบใดๆ ย่อมต้องใช้ความละเอียด พิถีพิถัน
และใส่ใจเป็นอย่างยิ่ง เพื่อให้ผู้สูงอายุมีชีวิตบั้นปลายที่เป็นสุขสงบ
ที่ตั้ง
ควรตั้งอยู่ในที่ที่เดินทางไปเยี่ยมได้สะดวก
บางท่านอาจคิดว่า ควรให้ผู้สูงอายุพักอยู่ที่ต่างจังหวัดไกลๆ เพราะอากาศดี
อันนี้ขอให้ท่านคำนึงถึง ความสะดวกในการเดินทางด้วย
เพราะท่านอาจไปเยี่ยมเยียนท่านผู้สูงอายุได้ยากขึ้น
สำหรับท่านที่อยู่ในกรุงเทพอาจต้องคัดเลือกสถานที่สักหน่อย
เพราะบางครั้งอาจจะมีปัญหาด้านการจราจร หรือเดินทางเข้าเยี่ยมลำบาก
เพราะสถานที่ตั้งอยู่ในซอยลึก ดังนั้นเราควรเลือกที่ใกล้บ้าน
หรือตั้งใกล้กับรถไฟฟ้า ทางด่วน หรือรถประจำทางเข้าถึงสะดวก
การดูแลรักษาพิเศษ
เมื่อสูงวัยขึ้น ผู้สูงอายุหลายท่านมักเริ่มมีปัญหาด้านสุขภาพมากขึ้น
การดูแลก็จะซับซ้อนมากขึ้น ดังนั้นสถานที่ที่เหมาะสมกับผู้ที่ท่านรัก
ควรจะต้องมีความพร้อม อาทิเช่น มีศูนย์เวชศาสตร์ฟื้นฟูหรือศูนย์กายภาพบำบัด
มีเครื่องช่วยชีวิต หรือเครื่องช่วยหายใจ
หรือมีหน่วยการดูแลผู้ป่วยทางจิตเวชเพื่อรองรับผู้ป่วยที่อาจมีความสับสน
หรือก้าวร้าว
และที่สำคัญควรมีคณะแพทย์มาร่วมในการดูแลรักษาผู้ป่วยได้อย่างสม่ำเสมอ
และต่อเนื่อง
บริการอื่นๆที่จัดให้
เนื่องจากผู้สูงวัย
มักใช้บริการศูนย์ดูแลผู้สูงอายุเป็นระยะเวลายาว
ดังนั้นน่าจะมีการจัดเตรียมบริการพิเศษต่างๆ เพื่อเพิ่มความสุขให้กับท่าน อาทิเช่น
กิจกรรมทางศาสนา ประเพณี วัฒนธรรม การท่องเที่ยว หรือกิจกรรมอื่นๆ
ที่ผู้สูงอายุสนใจ หรือแม้แต่การจัดเตรียมอาหารพิเศษ ที่ผู้สูงวัยต้องการ
นอกจากนี้หากเจ้าหน้าที่หรือเพื่อนๆของผู้สูงวัย
สามารถพูดภาษาของ ผู้มารับการบริการได้ จะช่วยทำให้บริการตรงใจผู้มารับบริการมากขึ้น
สถานที่
และสิ่งอำนวยความสะดวก
ก่อนอื่นท่านต้องตรวจสอบว่า
สถานบริการผู้สูงอายุนี้ได้รับการจดทะเบียน มีใบอนุญาตอย่างถูกกฏหมายหรือไม่
เพราะสถานพยาบาลที่ไม่ถูกกฏหมาย การบริการมักไม่ได้มาตรฐาน สถานที่ต้องสะอาด
และมีการบำรุงรักษาสถานที่อย่างดี ไม่มีกลิ่น ผู้สูงอายุแต่งกายดี สะอาดสะอ้าน
มีที่จัดสันทนาการรวมให้ผู้สูงอายุ
และมีเนื้อที่ให้ผู้สูงอายุเก็บข้าวของเครื่องใช้ส่วนตัว
เจ้าหน้าที่
เจ้าหน้าที่ควรแต่งกายเรียบร้อย ดูสุภาพ
เป็นมิตร และได้รับการอบรมก่อนปฏิบัติงาน เพราะการดูแลผู้สูงอายุต้องใช้ทักษะ
และความสามารถหลากหลาย
อีกทั้งเจ้าหน้าที่ควรได้รับการฝึกฝน
ให้มีความสามารถในแก้ไขปัญหาต่างๆของผู้สูงอายุ ได้อย่างลุล่วง อาทิเช่น
ปัญหาความก้าวร้าวและขาดเหตุผลที่พบได้ในผู้สูงวัยบางท่าน
นอกจากนี้เจ้าหน้าที่จะต้องรับการฝึกอบรมให้เคารพผู้สูงอายุ
และบริการผู้สูงอายุด้วยความเต็มใจและสุภาพ
ความเครียดในผู้เฝ้าไข้
ผู้ดูแลผู้สูงอายุทำหน้าที่อะไรบ้าง?
ผู้ดูแลผู้สูงอายุ บางที
จะเป็นญาติใกล้ชิดผู้ป่วย หรือ เป็นผู้ช่วยพยาบาล หรือพนักงานเฝ้าไข้ ซึ่งจะมีหน้าที่
เฝ้าไข้ คอยดูแลอยู่กับผู้ป่วย คอยปรนนิบัติ
ดูแลพยาบาลในกิจวัตรประจำวันพื้นฐานต่างๆของผู้ป่วย หรือผู้สูงอายุ
ที่มีโรคประจำตัว หรือโรคเรื้อรังต่างๆ อาทิเช่นโรคมะเร็ง อัมพฤกษ์ อัมพาต
อ่อนแรงของกล้ามเนื้อส่วนต่างๆ หรืออ่อนแรงของร่างกายครึ่งซีก โรคเบาหวาน
สมองเสื่อม หลงลืม หรือ อัลไซเมอร์
หน้าที่หลักๆของผู้ช่วยพยาบาลดูแลผู้สูงอายุ มีดังนี้:
• ยกเคลื่อนย้ายผู้ป่วย
• พลิกตัวผู้ป่วย
• อาบน้ำ ดูแลความสะอาดของร่างกาย
• ช่วยแต่งตัวให้ผู้ป่วย
และดูแลความสะอาดเครื่องแต่งกาย
• ป้อนอาหาร หรือให้อาหารทางสายยาง
กับผู้ป่วย
• เตรียมอาหาร ปรุงอาหารให้กับผู้ป่วย
• ช่วยเป็นธุระจัดซื้อของ
หากผู้ป่วยต้องการซื้อหาข้าวของเครื่องใช้ต่างๆ
• ช่วยผู้ป่วยนำเงินไปชำระค่าใช้จ่ายต่างๆ
ตามที่ได้รับมอบหมายจากผู้สูงอายุ หรือผู้ป่วย
• เป็นธุระ หรือช่วยผู้ป่วย,ผู้สูงอายุ ปฏิบัติภาระกิจต่างๆ
• จัดเตรียม และให้ยากับผู้ป่วย
หรือผู้สูงอายุ
• อยู่เป็นเพื่อนผู้ป่วย หรือผู้สูงอายุ
• ให้กำลังใจ และทำให้ผู้ป่วยเบิกบาน
ทำไมงานของผู้ดูแลผู้สูงอายุ, ผู้ช่วยพยาบาลเป็นงานที่หนัก?
ผู้ป่วย
หรือผู้สูงวัยเป้นผู้ที่เจ็บป่วย จะไม่ค่อยรับรู้ในสิ่งต่างๆ
ดังนั้นท่านเหล่านี้หลายครั้งไม่ค่อยร่วมมือในการดูแลรักษา
ทำให้ยากแก่การปรนนิบัตร ในหลายโอกาส ผู้ป่วยหรือผู้สูงอายุนี้
อาจจะมีบุคคลิกภาพที่แปรเปลี่ยนไปจากเมื่อก่อนก่อนที่จะเจ็บป่วย
โดยเฉพาะหากผู้ป่วยท่านนั้นป่วยเป็นโรคสมองเสื่อม ทำให้ญาติที่ดูแลผู้ป่วยบางครั้งรู้สึกตึงเครียดไปกับความเปลี่ยนแปลงของผู้ป่วย
บางครั้งผู้ป่วย
หรือผู้สูงอายุที่เราดูแล อาจจะมีอารมณ์แปรปรวน หรือก้าวร้าวได้ บางครั้งอาจตะโกน
ด่าทอ หรือทำร้ายผู้ดูแล ทำให้ผู้แลเกิดความเครียด
อาการที่แสดงว่าผู้เฝ้าไข้เกิดความเครียดจากงาน
Common signs of caregiver stress include the following:
• หงุดหงิดง่าย ดูไม่มีความสุข
หรือเบื่อหน่ายกับชีวิต
• ร้องไห้เก่งขึ้น
• ขาดความกระตือรือร้น
ไม่ค่อยมีพลังหรือแรงกระตุ้นในการทำงาน
• รู้สึกไม่มีเวลาให้กับตนเองพอ
• นอนหลับยากขึ้น
และพอต่นขึ้นก็ไม่อยากลุกออกจากเตียง
• มีปัญหาด้านการทาน อาจทานมาก
หรือน้อยกว่าปกติที่เคยเป็น
• ไม่ค่อยออกไปเจอญาติมิตร เพื่อนฝูง
• ไม่ค่อยสนใจในงานอดิเรก
หรือกิจกรรมที่ตนเองเคยสนใจทำ หรือเข้าร่วม
• รู้สึกโกรธผู้ที่เราดูแล, คนหรือสภาวะการณ์ รอบข้าง
นอกจากนี้แล้ว
งานของผู้ช่วยพยาบาลเป็นงานที่หนัก
และในหลายครั้งผู้ช่วยพยาบาลก็อาจจะไม่ได้รับคำขอบคุณ หรือชมเชยจากผู้ป่วย
หรือคนรอบข้าง ทำให้ขาดกำลังใจได้
ผู้ดูแลผู้ป่วย
หรือผู้ช่วยพยาบาล ต้องดูแลรักษาตนเองให้ดี
จะได้มีพลัง หรือมีกำลังใจ ไปดูแลผู้อื่นได้อย่างดี
จะได้มีพลัง หรือมีกำลังใจ ไปดูแลผู้อื่นได้อย่างดี
ข้อพึงปฏิบัติหากทราบว่าเรามีความเครียดจากงาน หรือการเฝ้าไข้
จริงๆแล้วความรู้สึกเครียดกับงานเฝ้าไข้นี้สามารถเกิดได้
เพราะงานเฝ้าไข้ หรืองานดูแลผู้ป่วยเป็นงานที่สามารถก่อให้เกิดความเครียดได้ง่าย
ซึ่งหากท่านไม่ลองมาทำงานนี้เอง ก็จะไม่ทราบว่างานเฝ้าไข้
หรือดูแลผู้ป่วยนี้เป็นงานที่ต้องเสียสละและอดทนอย่างสูง
หากเราไม่ดูแลรักษาตัวเราให้ดี เราก็ไม่สามารถมีกำลังกาย
กำลังใจที่จะไปดูแลผู้อื่นได้
ดังนั้นหากท่านมีความเครียดที่เกิดจากงานเฝ้าไข้
หรือดูแลผู้ป่วยนี้ ท่านน่าจะไปปรึกษากับแพทย์, ญาติมิตร
หรือเพื่อนฝูงที่ท่านไว้ใจ
และขอความช่วยเหลือให้มาช่วยท่านผ่อนเบาภาระการดูแลผู้ป่วยบ้าง
และอย่ารู้สึกไม่ดีหรือรู้สึกว่าตนเองไร้ความสามารถ
ที่ท่านต้องขอความช่วยเหลือจากผู้อื่น
นอกจากนี้แล้วท่านอาจจะลองสำรวจว่าแถวชุมชนของท่านมีโครงการ
หรือบริการใดๆ ที่จัดเตรียมไว้สำหรับบริการผู้สูงอายุในรูปแบบใด
ที่ท่านและผู้สูงอายุจะมาร่วมใช้บริการได้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น