ข้อมูลจาก
อาจารย์ วิไล ตั้งปนิธานดี
หน่วยแนะแนวและปรึกษาปัญหาสุขภาพ
งานการพยาบาลป้องกันโรค และส่งเสริมสุขภาพ ภาควิชาพยาบาลศาสตร์คณะแพทย์ศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิปดี
1. อาหาร
หมายถึง การบริโภคอาหารที่ถูกต้อง
เหมาะสม เช่น
- การรับประทานอาหารให้ครบ
5 หมู่
ด้วยปริมาณและ สัดส่วนที่พอเหมาะกับความ
ต้องการของร่างกายแต่ละวัน
- รับประทานผัก ผลไม้มากขึ้น
- ลดอาหารรสจัด
- ลดอาหารจำพวกไขมัน
- หลีกเลี่ยงการรับประทาน เนื้อรมควัน
ปิ้งย่าง
2. ออกกำลังกาย
ช่วยให้สุขภาพแข็งแรงร่างกายกระปี้กระเป่า
และเสริมสร้างภูมิคุ้มกันโรคจึงสามารถป้องกัน
และรักษาโรคต่างได้ เช่นโรคหวัด
โรคภูมิแพ้
โรคอ้วน โรคความดันโลหิตสูง เป็นต้น
จึงควรออกกำลังกายอย่างน้อยวันเว้นวัน
เช่น
เดินเร็ว วิ่งเหยาะๆ ขึ่จักรยาน
ว่ายน้ำ เป็นต้น
3. อารมณ์
หมายถึง การฝึกฝนให้มีจิตใจและอารมณ์ที่ดี
ลดความวิตกกังวล ความทุกข์ใจ โดยใช้วืธีการ คลายเครียด เช่น ฟังเพลง
วาดรูป ปลูกต้นไม้ นอกจากนี้อาจใช้การสวดมนต์ หรือ เจริญสติ เป็นต้น
4. อากาศ
คือการอยู่ในที่ที่อากาศบริสุทธิ์ถ่ายเทสะดวก ร่มรื่น พยายามอยู่ใกล้ชิดธรรมชาติ หลีกเลี่ยงฝุ่นละออง ควันบุหรี่
ควันรถยนต์ เป็นต้น
หมายถึง การดูแลความสะอาดร่างกาย
สิ่งแวดล้อม รวมทั้งการป้องกันโรคเช่น
- การรักษาความสะอาดของร่างกายและเสื้อผ้า
- รับประทานอาหารที่สุกสะอาด
- การวางแผนครอบครัวและการเตรียมตัวก่อนมีบุตร
- การไปรับวัคซีนตามระยะเวลาที่กำหนด
- จัดสถานที่อยู่อาศัย และสิ่งแวดล้อม
ให้สะอาดปลอดภัย
- การมีเพศสัมพันธ์ ที่ปลอดภัยรู้จัก
วิธีป้องกัน โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
หมายถึง การหลีกเลี่ยงการพนันและ
สิ่งเสพติดให้โทษ เช่น เหล้า บุหรี่
ยาเสพติด
7. อุบัติเหตุ
เป็นสาเหตุการตายของคนไทยที่มาเป็นอันดับแรกๆ
และสร้างความเสียหายต่อสุขภาพ ทรัพย์สินเงินทองอย่างมากมาย ดังนั้นจึงควรหาวิธีการป้องกัน เช่น- ภายในบ้าน ควรระวังเรื่องไฟฟ้า น้ำร้อน เตาไฟ บันได ห้องน้ำ ยา ละสารเคมีโดยเฉพาะอย่างยิ่งเด็กเล็กอาจได้รับภัย จากสิ่งเหล่านี้
และสร้างความเสียหายต่อสุขภาพ ทรัพย์สินเงินทองอย่างมากมาย ดังนั้นจึงควรหาวิธีการป้องกัน เช่น- ภายในบ้าน ควรระวังเรื่องไฟฟ้า น้ำร้อน เตาไฟ บันได ห้องน้ำ ยา ละสารเคมีโดยเฉพาะอย่างยิ่งเด็กเล็กอาจได้รับภัย จากสิ่งเหล่านี้
- การเดินทาง ควรข้ามถนนตรงทางม้าลาย หรือข้ามสะพานลอย สวมหมวกกันน็อค ขณะขี่จักรยานยนต์ รัดเข็มขัดนิรภัย ขณะขับรถ อย่าขับรถขณะมึนเมา หรือรับประทานยาที่ให้ง่วง ในที่ทำงานและโรงงาน
ควรจัดมาตรการ ความปลอดภัยต่างๆ รวมทั้งการใช้อุปกรณ์ ป้องกันภัยให้เหมาะสม
8. อิริยาบท
หมายถึง การพยายามรักษาอิริยาบทขณะ นั่ง ยืน เดิน ทำงาน เช่น ขณะทำงานให้ นั่งหลังตรง การหยิบของบนที่สูงไม่ควรเอื้อม หรือเอี่ยวตัว หรือเขย่งปลายเท้า
จะทำให้ ปวดหลังได้ ควรใช้อุปกรณ์ช่วยให้หยิมถึง เช่น เก้าอี้ เพื่อป้องกันอาการปวดเอว
ปวดหลัง เป็นต้น
หมายถึง การรู้จักใช้วัคซีนป้องกันโรคต่างๆ
และรู้จักการใช้ยาที่เหมาะสมในการรักษา
อาการเจ็บป่วยเล็กน้อย อย่าซื้อยา
รับประทานเองอย่างผิดๆ
หากท่านสามารถปฏิบัติตาม หลัก 9 อ.เพื่อสุขภาพ ได้อย่างจริงจังและสอดแทรกในกิจวัตรประจำวันแล้ว ก็ย่อมจะช่วยให้ท่านมีอายุยืนยาว มีความสุข และมีคุณภาพชีวิตที่ดีได้
ข้อมูลจาก
อาจารย์ วิไล ตั้งปนิธานดี
หน่วยแนะแนวและปรึกษาปัญหาสุขภาพ งานการพยาบาลป้องกันโรค และส่งเสริมสุขภาพ ภาควิชาพยาบาลศาสตร์คณะแพทย์ศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิปดี
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น