วันอังคารที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

อันตรายจากกระดาษทิชชูซับอาหารทอด

อันตรายจากกระดาษทิชชูซับอาหารทอด!!! อ่านตรงนี้แล้ว คุณสาวๆ รักสุขภาพยังจะกล้าใช้กระดาษทิชชูซับน้ำมันอาหารทอดกันอีกมั้ย???
กระดาษทิชชูทำจากเยื่อกระดาษบริสุทธิ์ วัตถุดิบคือต้นไม้เช่น ต้นไผ่ หรือต้นไม้อื่นๆ โลกเริ่มคำนึงถึงสิ่งแวดล้อมกันมากขึ้น มีการใช้กระดาษหมุนเวียนใหม่ เช่นกระดาษ A4 ใช้แล้ว นำไปผลิตกระดาษทิชชู ในการตีวัตถุดิบให้เป็นเนื้อเยื่อต้องใช้ โซเดียมไฮดรอกไซด์ (NaOH) หรือโซดาไฟ เข้ามาช่วย

นอกจากนั้น กระดาษทิชชูต้องการความขาวเพื่อความน่าใช้ จึงจำเป็นต้องใช้ คลอรีนในการฟอกขาว และยังมีไดออกซิน (dioxins) สารก่อมะเร็ง เป็นส่วนประกอบ

แม้กระทั่ง “กระดาษฟาง” ซึ่งทำจากฟางข้าว ที่นิยมใช้ในการซับน้ำมันอาหารทอด ก็ยังต้องใช้ โซเดียมไฮดรอกไซด์ (NaOH) หรือโซดาไฟ ในการทำฟางให้เป็นเนื้อเยื่อ...

การนำกระดาษทิชชูไปใช้ผิดวิธี เช่นนำไปซับน้ำมันอาหารทอด เนื้อเยื่อเล็กๆ ของทิชชูที่คุณอาจมองด้วยตาเปล่าไม่เห็นจะติดอาหาร ซึ่งคุณต้องกินมันเข้าไป หากนึกภาพไม่ออกให้นำแว่นตากันแดดเลนส์สีดำไปล้างน้ำ แล้วใช้กระดาษทิชชูเช็ดเลนส์ คุณจะเห็นเนื้อเยื่อทิชชูติดเต็มเลนส์กระจกแว่นตากันแดดของคุณ อาหารทอดน้ำมันซับด้วยทิชชูของคุณจะไม่ยิ่งมีเนื้อเยื่อทิชชูติดมากกว่านั้นหรือ สมควรแล้วหรือที่คุณจะกินเนื้อเยื่อกระดาษทิชชูที่ผลิตโดยมีส่วนประกอบของสารเคมีอันตรายหลายชนิด วันละนิดวันละหน่อย สะสมเป็นสารพิษในร่างกายโดยไม่รู้ตัว

จำไว้ว่า กระดาษทิชชู มีไว้เช็ดภายนอก ไม่ได้มีไว้ให้กิน!!!

ผู้ผลิตและทางวิทยาศาสตร์อาจแย้งว่า ปริมาณเล็กน้อยไม่มีโทษ แต่ยังไม่มีข้อมูลวิจัยไปถึง “การสะสมในร่างกาย” ซึ่งอาจเป็นปัญหาโรคภัยทางอ้อม คือโรคมะเร็ง โรคร้ายแรงอื่นๆ และโรคแปลกๆ ที่คนยุคปัจจุบันเผชิญอยู่ในขณะนี้

หากต้องการซับน้ำมันอาหารทอด คุณควรใช้ กระดาษซับน้ำมันสำหรับอาหาร ที่ได้รับการรับรองจากองค์การอาหารและยาสหรัฐอเมริกา มีขายในประเทศไทย หาซื้อไม่ได้โปรดค้นหาจากกูเกิลนะคะ

******* *******
เพิ่มเติมข้อมูลเกี่ยวกับสารเคมีที่เป็นส่วนผสมในการผลิตกระดาษทิชชูให้ค่ะ

โซเดียมไฮดรอกไซด์ (NaOH) หรือโซดาไฟ มีฤทธิ์กัดกร่อนเนื้อเยื่อรุนแรง โดยทำปฏิกิริยากับโปรตีนและไขมัน ทำให้บริเวณนั้นอ่อนนุ่มกลายเป็นวุ้นหรือเจลาตินและสบู่ เนื้อเยื่อถูกทำลายหรือถูกกัดลึกลงไป ซึ่งการทำลายอาจต่อเนื่องหลายวัน ล้างน้ำออกได้ยาก การหายใจเอาไอหรือละอองสารทำให้ระคายเคืองต่อทางเดินหายใจส่วนบน ทำให้จาม ปวดคอ น้ำมูกไหล ปอดอักเสบรุนแรง หายใจขัด การสัมผัสถูกผิวหนังจะระคายเคืองรุนแรง เป็นแผลไม้และพุพองได้ การกลืนกินทำให้แสบไหม้บริเวณปาก คอ กระเพาะอาหาร

ความเป็นพิษของไดอ๊อกซิน (dioxins)
พิษเฉียบพลัน
ไดอ๊อกซิน (dioxins) ไม่ทำให้เกิดอาการพิษหรือตายอย่างทันทีแต่อาการจะค่อยๆ เกิดและเพิ่มความรุนแรงจนถึงตายได้ อาการเฉียบพลันที่ปรากฏคือ ทำให้เกิดโรคผิวหนังที่เรียกว่า “Chloraone” คือมีผิวหนังขึ้นเป็นสิวหัวดำ มีถุงสีน้ำตาลอมเหลืองของผิวหนังบริเวณหลังใบหู ขอบตา หลัง ไหล่ และบริเวณอวัยวะสืบพันธุ์ อาจมีขนขึ้นในบริเวณที่ปกติจะไม่มีขึ้น ผิวหนังมีสีเข้มขึ้น สีของเล็บเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล เยื่อบุตาอักเสบและมีขี้ตา มีรายงานการเกิดอาการ“Chloraone” นี้ในคนที่อยู่ในบริเวณที่ได้รับการปนเปื้อน ไดอ๊อกซิน ที่อิตาลี ไต้หวัน และญี่ปุ่น

พิษเรื้อรัง
ทำให้น้ำหนักตัวลดลง เกิดความผิดปกติที่ตับ เซลล์ตับตาย และเกิดอาการโรคผิวหนังอักเสบ

การเป็นสารก่อมะเร็ง
สถาบันวิจัยมะเร็งระหว่างชาติได้จัดให้สาร ไดอ๊อกซิน เป็นสารก่อมะเร็งในมนุษย์จากการที่มีข้อมูลทางระบาดวิทยายืนยัน และจากการศึกษาระยะยาวในสัตว์ทดลองพบว่า สารนี้ทำให้เกิดมะเร็งหรือเนื้องอกในอวัยวะต่างๆ ของหนูโดยเฉพาะอย่างยิ่งในตับ ซึ่งได้รับสารปริมาณน้อยมากแค่ 10 นาโนกรัม/กิโลกรัมน้ำหนักตัวเท่านั้น นอกจากตับแล้วยังพบว่าสารนี้ทำให้เกิดเป็นเนื้องอกในอวัยวะต่างๆ ของหนูได้ เช่น ลิ้นแผ่นกั้นช่องจมูก เพดานปากส่วนแข็ง ต่อมไทรอยด์ ชั้นนอกของต่อมหมวกไต ชั้นใต้ผิวหนัง และปอด ต่อมไทรอยด์เป็นตำแหน่งไวที่สุดที่ทำให้เกิดมะเร็งในหนู ซึ่งระดับไดอ๊อกซินต่ำที่สุดที่ได้รับคือ 1.4 นาโนกรัม/กิโลกรัมน้ำหนักตัว อย่างไรก็ตามการศึกษากลไกของการเกิดมะเร็งพบว่าสารไดอ๊อกซิน/ฟิวแรน ไม่ใช่สารก่อเซลล์มะเร็งโดยตรง (tumor initiator) หรือถ้าเป็นก็มีฤทธิ์เพียงเล็กน้อยเท่านั้น แต่เป็นสารสนับสนุนการเกิดมะเร็ง (tumor promotor) ที่มีความรุนแรงมากที่สุด

ความเป็นพิษต่อระบบประสาท
มีรายงานว่าเกิดโรคระบบประสาทในคนงานที่ได้รับสารนี้จากการหกรดหรือปนเปื้อนในอุตสาหกรรม โดยมีอาการกล้ามเนื้อมือเสื่อมไม่มีกำลัง มีการแสดงอาการโรคประสาท เช่น การสูญเสียความรับรู้บนเส้นประสาท ปลายมือ และปลายเท้าอ่อนเพลีย เป็นต้น

ความผิดปกติในทารก
การศึกษาในมารดาพบว่าการได้รับสารไดอ๊อกซิน/ฟิวแรนที่ปนเปื้อนในน้ำมันรำข้าวที่ประเทศจีนทำให้มีอัตราการตายของทารกในช่วงตั้งครรภ์สูง ทารกมีน้ำหนักแรกเกิดต่ำกว่าเกณฑ์ปกติซึ่งแสดงถึงการเจริญเติบโตที่ช้ากว่าปกติของทารก ทารกบางรายเกิดมามีรูปร่างผิดปกติ ที่เกาะไต้หวันพบว่าทารกที่เกิดมามีอาการผิดปกติของระบบประสาท มีการพัฒนาทางสติปัญญาช้ากว่าปกติและมีพฤติกรรมประสาทผิดปกติ

ลักษณะผิดปกติที่เด่นชัดของทารกในครรภ์คือผิวหนังและเยื่อบุมีสีเข้มกว่าปกติ เล็บมือและเท้ามีสีเข้มและผิดรูปผิดร่าง ขับสารออกมากกว่าปกติ เยื่อบุตาอักเสบ เหงือกมีการบวมขยายใหญ่ ทารกแรกเกิดมีฟันขึ้นแล้ว การขึ้นของฟันแท้ผิดปกติหรือไม่มีฟันแท้ขึ้น และรากฟันมีรูปร่างผิดปกติ ลักษณะของฟันที่เกิดขึ้นเร็วกว่าปกติก็พบได้ในทารกที่ดื่มน้ำนมมารดาที่มีสารไดอ็อกซิน/ฟิวแรน ปนเปื้อนอยู่

อ่าน คุณสมบัติ-โทษของ ไดออกซิน เต็มๆ ได้ที่...
www.pcd.go.th/info_serv/haz_dioxin.html#s2

อ่านคุณสมบัติ-โทษของ โซเดียมไฮดรอกไซด์ (NaOH) หรือโซดาไฟ เต็มๆ ได้ที่นี่...
www.thaieditorial.com/tag/ข้อมูลทั่วไปของโซเดียม/

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น