วันเสาร์ที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2556

คำถามที่น่าสนใจเกี่ยวกับการดูแลผู้ป่วยเส้นเลือดสมองตีบ

ก่อนอื่นสำหรับคนที่ต้องดูแลผู้ป่วยในกลุ่มนี้ ต้องขอแสดงความเห็นใจนะคะ การดูแลคนไข้ในกลุ่มที่มีปัญหาหลอดเลือดสมองจะตีบหรือแตกก็แล้วแต่เป็นงานหนักทีเดียวเลย ตัวคนดูแลต้องมีความเข้าใจคนไข้มากๆ อดทนสูง เพราะลำพังเดินไม่ได้ ทำอะไรเหมือนที่เคยทำด้วยตัวเองไม่ได้คนไข้ก็หงุดหงิดมากแล้ว ยังต้องกินยา ทำกายถาพ แถมอาหารบางคนก็ต้องรับทางสายยางอะไรต่ออะไรมากมาย
ส่วนคนดูแลก็คงเหนื่อยทั้งกายทั้งใจพอๆกัน ยังไงขอเอาใจช่วยจริงๆนะคt ในเบื้องต้นจะขอตอบปัญหาที่ถามมาค่ะ

ถาม : เรื่องการนอนทับข้างใดข้างหนึ่งไม่ยอมนอนอีกข้างหนึ่ง
1. เรื่องการนอนทับข้างใดข้างเดียว ซึ่งเป็นข้างที่มีปัญหาอ่อนแรงด้วย ยังไงก็ไม่ควรทำค่ะ เพราะในคนไข้กลุ่มติดเตียงนี้ต้องระวังเรื่องแผลกดทับ

ดังนั้นควรจะต้องสลับข้างนอนพลิกตัวอยู่ทุกๆ2 ชม. แต่ถ้ามีเตียงลมก็จะพอช่วยเรื่องความเสี่ยงเป็นแผลกดทับมากขึ้น เรื่องข้อติดเป็นอีกเรื่องที่เป็นปัญหาในคนไข้กลุ่มอัมพฤกษ์อัมพาต เกิดขึ้นได้แน่ๆค่ะ เพราะข้างที่อ่อนแรงไม่ค่อยได้ใช้งาน ยิ่งไปนอนทับมันอีก โอกาสที่จะเหยียดงอก็ยิ่งน้อย ยังไงคงต้องพยายามเปลี่ยนข้าง และขยันทำกายภาพบำบัดตามที่นักกายภาพสอนมา เพื่อให้ข้อไม่ติดและกล้ามเนื้อไม่ฝ่อเร็วเกินไป ช่วง 6เดือนแรกหลังเริ่มมีอาการเป็นช่วงเวลาทองในการฟื้นฟูร่างกายเลยค่ะ
ขยันทำกายภาพจะช่วยให้กลับมาใช้แขนขาได้ปกติมากขึ้นมากๆ  ถ้าคนไข้มีสติ พูดรู้เรื่อง และร่วมมือ ก็อธิบายไปเลยว่า ควรฝึกพลิกตัวด้วยตัวเอง สำหรับดิฉัน 6 - 12 เดือนแรก พี่สาวและน้อง ๆ หลาน ๆ ดูแล มานอนเป็นเพื่อนกัน เต็มบ้าน ไม่ทันได้สังเกตว่ามีใคร พูดเรื่อง แผลกดทับไหม แต่โชคดีที่พี่สาว จิกกัดทุกวัน( ด้วยความหวังดี ) ไม่ให้นอนมาก พอเริ่มเคลื่อนย้ายร่างกายด้วยตัวเองได้บ้างก็ตระเวณไป หาหมอที่นู่นที่นี่  จนไม่มีเวลามาสำออยเป็นคนไข้จริง ๆ จังๆ เท่าไหร่เลยค่ะ เลยหมดปัญหาเรื่อง แผลกดทับ

ถาม : หากไม่สามารถเปลี่ยนท่าคนไข้ได้จริงๆใช้วิธีมัดติดเตียงเพื่อไม่ให้นอนทับข้างนั้นข้างเดียวได้หรือไม่?
2. เรื่องการมัด จริงๆถ้ายังพอพูดคุยด้วยเหตุผลกันรู้เรื่องไม่ควรทำโดยเด็ดขาด เพราะมีผลทางด้านจิตใจคนไข้แน่ๆมันจะกลายเป็นบังคับให้ทำอย่างที่เราอยากให้เป็น โดยที่คนไข้ไม่มีสิทธิเลือก ยังไงแนะนำให้ลองคุยกันก่อน เข้าใจว่าน่าจะยังสามารถสื่อสารกันได้ คือท่านสามารถเข้าใจที่เราอธิบายได้ ถ้าไม่ไหวจริงๆ ให้คุณหมอที่ดูแลเป็นคนพูดคุยอธิบายก็ได้ อาจจะยอมรับฟังมากกว่า

ถาม: เรื่องการให้ออกซิเจนจำเป็นต้องให้ตลอดเวลาหรือไม่
การให้ออกซิเจนปกติหมอไม่ได้ให้ตลอดเวลาค่ะ คงให้เฉพาะในรายที่มีปัญหาออกซิเจนในเลือดต่ำ มีอาการเหนื่อยเป็นครั้งคราว หรือคนที่มีปัญหาโรคปอดเรื้อรัง การให้ออกซิเจนตลอดเวลาในผู้ป่วยที่ไม่จำเป็นต้องได้รับ ถ้าให้ปริมาณน้อยๆก็คงไม่มีปัญหาอะไร แต่ถ้าให้หลายลิตร/นาที อาจทำให้เกิดภาวะออกซิเจนมากเกินส่งผลกระทบต่อสมองอีก
แล้วถ้าให้แบบเสียบจมูกใส่ไว้นานๆตลอดทั้งวันหลายวัน ก็เกิดแผลกดทับที่จมูกได้อีก ส่วนจะใช้รูปแบบไหน(ถัง/ไฟฟ้า)คงไม่ต่างกันมากแล้วแต่จะสะดวกเลือกค่ะ โดยทั่วไปถ้าพบว่าคนไข้มีอาการเหนื่อยสาเหตุเบื้องต้นส่วนใหญ่เกิดจากเสมหะที่ข้นเหนียวอุดกั้นทางเดินหายใจชั่วคราว วิธีการดูแลคือการใช้เครื่องดูดเสมหะดูดออก
จากนั้นให้ออกซิเจน 100% 10ลิตร/นาที ทางหน้ากากประมาณ 3-4 นาที อาการก็จะดีขึ้นค่ะ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น