วันอังคารที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

ความดันโลหิตสูง

ความดันโลหิตสูง
ทุกๆคนต้องมีความดันโลหิต เพราะความดันโลหิต จะเป็นแรงผลักดัน ให้เลือดไปเลี้ยงอวัยวะต่างๆของร่างกาย ดังนั้นทุกคนควรจะเรียนรู้เกี่ยวกับความดันโลหิต และรักษาให้ความดันโลหิตอยู่ในเกณฑ์ปกติ เพราะความดันโลหิตสูงจะทำให้เกิดหลอดแข็งและตีบ
เมื่อหัวใจบีบตัวหัวใจจะบีบเลือดไปยังหลอดเลือดแดง ทำให้เกิดความดันโลหิตซึ่งเกิดจากการบีบตัวของหัวใจ และแรงต้านทานของหลอดเลือด หัวใจคนเราเต้น 60-80ครั้ง ความดันก็จะเพิ่มขณะที่หัวใจบีบตัว และลดลงขณะที่หัวใจคลายตัว ความดันโลหิตของคนเราไม่เท่ากันตลอดเวลาขึ้นกับท่า ความเครียด การออกกำลังกาย การนอนหลับ ค่าปรกติของคนเราคือ 120/80 มิลิเมตรปรอท แต่ไม่ควรเกิน 140/90 หากสูงกว่านี้แสดงว่าคุณเป็นโรคความดันโลหิตสูง
โรคความดันโลหิตสูงเป็นปัจจัยเสี่ยงทำให้เกิดโรคหัวใจ โรคไต โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ โรคอัมพาต โรคหัวใจเป็นโรคที่มีอัตราตายสูง ดังนั้นการป้องกันความดันโลหิตสูงสามารถป้องกันอัตราการตายจากโรคหัวใจ และโรคอัมพาต โรคความดันโลหิตสูงเป็นภัยเงียบที่คุกคามชีวิตของทุกท่านเนื่องจากไม่มีอาการเตือนดังนั้น การจะทราบว่าเป็นความดันโลหิตสูงจำเป็นต้องวัดความดันโลหิต

เมื่อไรจึงเรียกว่าความดันโลหิตสูง

ความดันโลหิตสูง
เนื่องจากความดันโลหิตมีปัจจัยที่เข้ามาเกี่ยวข้องมาก การจะบอกใครเป็นความดันโลหิตสูง จะต้องมีการวัดความดันหลายครั้ง และต้องพิจารณาว่ามีโรคประจำตัวหรือไม่ คนปรกติจะมีความดันโลหิตไม่เกิน 120/80 มิลิเมตร ความดันโลหิตที่สูงกว่า 140/90 มิลิเมตรปรอทจะเรียกว่าความดันโลหิตสูง นอกจากนั้นยังมีภาวะอื่นๆ

อาการของโรคความดันโลหิตสูง

ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงมักจะไม่มีอาการอะไร เนื่องจากร่างกายมีการปรับตัว ผู้ป่วยมักจะมาด้วยโรคหัวใจวาย กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด ไตวาย ตามัว สำหรับผู้ที่ความดันปกติให้วัดความดันโลหิตทุก 2 ปี

สาเหตุของโรคความดันโลหิตสูง

ไตวาย
ผู้ป่วยที่ความดันโลหิตสูงแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มคือความดันโลหิตที่ไม่ทราบสาเหตุเรียกว่า Primary hypertension ส่วนอีกกลุ่มได้แก่ความดันโลหิตสูงเรียก Secondary hypertension ผู้ป่วยกลุ่มที่ไม่ทราบสาเหตุ จะเป็นกลุ่มที่พบมากที่สุดประมาณร้อยละ 95 เชื่อว่ามีสาเหตุหลายชนิดมารวมกันทำให้ความดันสูง

ผู้ที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคความดันโลหิตสูง

แม้ว่าท่านยังไม่เป็นโรคความดันโลหิตสูง แต่่มีปัจจัยเสี่ยงต่อความดันโลหิตสูง จะมีโอกาศเป็นโรคความดันโลหิตสูง สำหรับท่านที่เป็นความดันโลหิตสูง เมื่อท่านลดปัจจัยเสี่ยงของความดันโลหิตสูง ความดันของท่านก็จะลดลง ปัจจัยเสี่ยงความดันโลหิตสูง

ทำไมต้องรักาษาโรคความดันโลหิตสูง

อาการเจ็บหน้าอกจากกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด
ความดันโลหิตสูงไม่มากหรือความดันค่อยๆสูง มักจะไม่มีอาการ หายท่านไม่ยอมรับประทานยา หลายท่านหยุดยาเมื่อรับประทานยาได้สักระยะหนึ่ง หลายท่านกลัวว่าหากรับประทานยามากๆ จะทำให้เกิดโรคไต แต่ผู้ป่วยและญาติคงต้องทราบว่าหากไม่รักษา จะเกิดอะไรได้บ้าง โรคความดันมีผลต่ออวัยวะใดบ้าง

การวินิจฉัยความดันโลหิตสูง

หัวใจแข็งแรง
สิ่งที่สำคัญของการวินิจฉัยโรคความดันโลหิตสูง คือต้องบอกให้ได้ว่าเป็นโรคหรือไม่ ความรุนแรงของโรคความดันโลหิตเป็นอย่างไร นอกจากนั้นจะต้องตรวจหาสาเหตุของโรคความดันโลหิตสูง ตรวจอวัยวะต่างๆว่าได้ผลกระทบจากโรคความดันโลหิต และตรวจว่ามีโรคแทรกซ้อนจากความดันหรือยัง

การวัดความดันโลหิต

การวัดความดันโลหิต
การวัดความดันโลหิตที่ถูกต้อง จะได้ค่าความดันโลหิตที่ถูกต้อง หากใช้เครื่องมือไม่เหมาะสม หรือการวัดผิดวิธีก็จะได้ค่าความดันผิด การวัดความดันโลหิตจะต้องใช้เครื่องมือที่ถูกต้อง การเตรียมตัวที่ถูกต้อง การวัดที่ถูกต้อง วิธีวัดความดันโลหิตมีได้หลายวิธี อ่านเรื่องการวัดความดันโลหิตที่นี่

ประโยชน์ของการรักษาความดันโลหิต

การลดความดันโลหิตนอกจากจะลดอาการปวดศีรษะ เนื่องจากความดันสูง แต่การลดความดันโลหิตยังลดโรคแทรกซ้อน ที่เกิดจากความดันโลหิตสูง เช่นหัวใจ จะลดโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด หัวใจโต โรคไต ลดการเกิดโปรตีนในปัสสาวะ นอกจากนั้นยารักษาความดันบางชนิดยังลดการเกิดโรคเบาหวาน ประโยชน์ของการรักษาโรคความดันโลหิตสูง

เมื่อไรจึงจะเริ่มรักษาความดันโลหิตสูง

การจะเริ่มต้นรักษาความดันโลหิตจะต้องพิจารณาถึง ระดับความดันโลหิต โรคหรือภาวะที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด อวัยวะเสียหายจากความดันโลหิต โรคแทรกซ้อนจากความดันโลหิต เมื่อไรจึงจะรักษาโรคความดันโลหิต

การรักษา

การรักษาโรคความดันโลหิตสูงแบ่งได้เป็น การรักษาที่ไม่ใช้ยาได้แก่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และการรักษาด้วยยา นอกจากนั้นจะต้องรักษาโรคแทรกซ้อน และการป้องกันโรคแทรกซ้อนที่จะเกิด

โรคแทรกซ้อนของความดันโลหิต

โรคความดันโลหิตสูงทำให้เกิดหลอดเลือดตีบ ซึ่งหากไปเลี้ยงอวัยวะไม่พอก็จะเกิดเสียหายต่ออวัยวะนั้น และหากกิดลิ่มเลือดจากผนังหลอดเลือด ก็จะเกิดโรคที่อวัยวะนั้นแบบเฉียบพลัน โรคแทรกซ้อนได้หลายระบบ ได้แก่ หัวใจและหลอดเลือด สมอง ไต เท้า ตา

การป้องกันความดันโลหิตสูง

การป้องกันโรคความดันโลหิตสูง สามารถนำมาใช้กับผู้ที่ร่างกายปรกติ หรือกลุ่มที่ความดันเริ่มจะสูง หรือกลุ่มผู้ป่วยที่ความดันโลหิตสูงแล้ว การป้องกันความดันโลหิตสูงจะเป็นการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม โดยสามารถลดความดันโลหิตได้ประมาณ 20 มม.ปรอท้

สัญญาณเตือนภัยของโรคแทรกซ้อนเฉียบพลัน

โรคความดันโลหิตสูงจะมีโรคแทรกซ้อนเฉียบพลัน ที่สำคัญคือหัวใจและสมอง โรคระบบทั้งสองจะมีอาการเตือนล่วงหน้า ก่อนที่จะเกิดความพิการ เช่นกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดจะมีอาการเจ็บหน้าอกเป็นหลัก ส่วนโรคหลอดเลือดสมองจะมีอาการอ่อนแรง หรือเดินเซ เป็นต้นผู้ที่เป็นโรคความดันต้องเรียนรู้

ความดันโลหิตและสุภาพสตรี

โรคความดันโลหิตสูง และสตรีมีเรื่องพิจารณามากว่าผู้ชายกล่าวคือ เรื่องการรับประทานยาคุมกำเนิดจะมีผลต่อความดัน การตั้งครรภ์ก็มีผลต่อความดันโลหิตสูง วัยทอง รวมทั้งน้ำหนักตัวที่เพิ่มมีผลต่อสุขภาพโดยรวมของสตรี สตรีจะมีโอกาศเป็นความดันโลหิตสูง หากรับประทานยาคุมกำเนิด ตั้งครรภ์หรือวัยทอง
ความดันโลหิตต่ำ
ปกติความดันโลหิตยิ่งต่ำยิ่งดีเพราะเกิดโรคน้อย แต่หากความดันโลหิตที่ต่ำทำให้เกิดอาการ เวียนศีรษะ เป็นลมเวลาลุกขึ้นแสดงว่าความดันต่ำไป สาเหตุที่พบได้มีดังนี้
  • ผู้ป่วยที่มีโรคระบบประสาทหรือต่อมไร้ท่อ
  • ผู้ที่นอนป่วยนานไป
  • ผู้ที่เสียน้ำหรือเลือด
เคล็ดลับในการรักษาความดันโลหิตสูง
  1. ตรวจวัดความดันเป็นระยะ
  2. รักษาน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ โดยการลดน้ำหนักลง 10% สำหรับผู้ที่มีน้ำหนักเกิน
  3. งดอาหารเค็มหรือเกลือไม่ควรได้รับเกลือเกิน 6 กรับต่อวัน
  4. รับประทานอาหารไขมันต่ำ
  5. งดการสูบบุหรี่
  6. รับประทานยาตามแพทย์สั่ง
  7. ไปตามแพทย์นัด
  8. ออกกำลังกายตามแพทย์แนะนำโดยการออกกำลังวันละ 30-45 นาทีสัปดาห์ละ 3-5 วัน
  9. รับประทานอาหารที่มีเกลือโปแตสเซียม
  10. แนะนำให้พาพ่อแม่พี่น้องและลูกไปตรวจวัดความดันโลหิต
ความดันโลหิตสูงในเด็ก
เราไม่ค่อยพบความดันโลหิตสูงในเด็ก แต่เด็กก็สามารถเป็นความดันโลหิตสูง การค้นพบความดันโลหิตสูงตั้งแต่แรก จะสามารถป้องกันโรคหัวใจ โรคไต ดังนั้นเด็กควรที่จะได้รับการวัดความดันโลหิตเหมือนผู้ใหญ่ สาเหตุก็มีทั้ง primary และ secondary พบว่าเด็กที่มีน้ำหนักตัวมาก เด็กที่มีประวัติครอบครัวเป็นความดันโลหิต หรือบางเชื้อชาติ กลุ่มเหล่านี้จะมีโอกาสเป็นความดันโลหิตสูง แพทย์แนะนำอาหาร และการออกกำลังกาย หากความดันโลหิตไม่ลงจึงให้ยารับประทาน
คนที่เป็นความดันโลหิตสูงสามารถอบ Sauna ได้หรือไม
คนที่เป็นโรคความดันโลหิตสูงสามารถอาบน้ำอุ่นหรืออบ Sauna ได้โดยที่ไม่เกิดผลเสีย ผู้ป่วยที่มีอาการแน่นหน้าอก หรือหายใจหอบควรจะหลีกเลี่ยงการอบ Sauna หรือแช่น้ำร้อน และไม่ควรที่จะดื่มสุรา นอกจากนั้นไม่ควรอาบน้ำร้อนสลับกับน้ำเย็นเพราะจะทำให้ความดันโลหิตสูงขึ้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น