ความดันโลหิตสูง
ค่าความดันโลหิตมีสองค่า คือความดันโลหิตตัวบนเรียก Systolic ความดันโลหิตตัวล่างเรียก Diastolic เมื่อสมัยก่อนจะเน้นเรื่องความดันตัวล่างคือ diastole ว่าหากสูงจะทำให้เกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด แต่ปัจจุบันทั้งความดันตัวบน( systole ) และความดันตัวล่าง(diastole) สูงจะทำให้เกิดทั้งโรคหัวใจ และหลอดเลือด พบว่าหากเป็นความดันโลหิตสูงโรคเดียว จะพบว่าเกิดโรคหลอดเลือดสมองมาก ภาวะนี้พบได้ในประเทศแทบเอเซีย แต่หากมีโรคอื่น เช่น ไขมัน เบาหวาน หรือสูบบุหรี่จะพบโรคหัวใจมากกว่าโรคหลอดเลือดสมอง ซึ่งเป็นภาวะที่พบในประเทศยุโรปและอเมริกา
ความดันโลหิตตัวบน ความดันโลหิตตัวล่างหรือ ช่วงระหว่างความดันโลหิตตัวบนและตัวล่าง อันไหนมีความสำคัญ
- ในการศึกษาที่ผ่านมาพบว่า ความดันโลหิตตัวบน systolic และความดันโลหิตตัวล่าง diastolic หากค่าใดค่าหนึ่งสูงจะมีผลทำให้เกิดโรคหัวใจ โรคสมองเพิ่มขึ้น ดังนั้นในการรักษาจะต้องรักษาให้ทั้งสองค่าอยู่ในเกณฑ์ใกล้เคียงปกติให้มากที่สุด
- สำหรับความแตกต่างระหว่างความดันโลหิตตัวบนและตัวล่าง(ความดันโลหิตตัวบนลบตัวล่าง)นั้นไม่ควรเกิน50-55 หากค่านี้เกินในคนอายุมากว่า55ปีจะถือว่าเป็นความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด เพราะถือว่าน่าจะมีโรคหลอดเลือดแข็งหรือตีบแล้ว อ่านที่นี่
คำจำกัดความของความดันโลหิตสูง
ค่าความดัน sysytole
|
ค่าความดนตัวล่าง diastole
| ||
ค่าความดันที่ต้องการ
optimal
| <120 | และ | <80 |
ค่าความดันปกติ
normal
| 120-129 | และหรือ | 80-84 |
ค่าความดันปกติแต่สูง
high normal
| 130-149 | และหรือ | 85-89 |
ความดันสูงระดับ1
grade1hypertension
| 150-169 | และหรือ | 90-99 |
ความดันสูงระดับ2
grade2hypertension
| 170-189 | และหรือ | 100-109 |
ความดันสูงระดับ3
grade3hypertension
| >180 | และหรือ | >110 |
ความดันสูงตัวบน
isolated hypertension
| >140 | และ | <90 |
เมื่อท่านวัดความดันโลหิตแล้ว ดูว่าความดันโลหิตท่านอยู่ในช่วงไหน โดยดูทั้งความดันตัวบนและตัวล่าง หากว่าค่าใดสูงให้เอาค่านั้น เช่าหากวัดได้ค่าความดันโลหิต150/120 mmHg จะจัดว่าท่านอยู่ในความดันโลหิตระดับ 3 แม้ว่าความดันตัวบนของท่านจะอยู่ในระดับ 1
หลังจากที่ทราบค่าความดันโลหิตแล้ว ท่านต้องมาพิจารณาว่าท่านมีความเสียงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดอยู่ในขั้นไหน คลิกที่นี่
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น