วันอาทิตย์ที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2561

โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก

ลำไส้ส่วนปลายเป็นท่อกลวงยาวประมาณ 5-6 ฟุต ท่อความยาว 5 ฟุตแรกคือส่วนของลำไส้ใหญ่และต่อกับลำไส้ตรงที่ยาวประมาณ 6 นิ้ว ส่วนต่อจากลำไส้ตรงคือทวารหนัก หน้าที่ของลำไส้ใหญ่คือแปรของเสียเหลวให้เป็นอุจจาระแข็ง อาหารจะใช้เวลาเดินทางมาสู่ลำไส้ใหญ่ประมาณ 3-8 ชั่วโมงหลังจากถูกรับประทาน ช่วงเวลานี้สารอาหารจะถูกดูดซึมเข้าสู่ร่างกาย ส่วนที่ไม่ถูกดูดซึมจะเป็นของเสียเหลว

มะเร็งชนิดนี้ ถูกจัดเป็นมะเร็งที่พบมากลำดับที่ 3 ทั้งในชายและหญิง ในประเทศตะวันตก พบ105,000 ราย เป็นผู้ได้รับการวินิจฉัยใหม่ทุกปีในประเทศสหรัฐอเมริกา โอกาสเสี่ยงต่อ มะเร็งลำไส้ใหญ่ พบมากขึ้นเมื่ออายุ50 ปีขึ้นไป ส่วนใหญ่ มะเร็งลำไส้ใหญ่ เกิดขึ้นเมื่อผนังลำไส้ใหญ่เริ่มสร้างติ่งเนื้องอกที่เรียกว่าอะอีโนมาตัส (มะเร็งขั้นเริ่ม) ส่วนในประเทศไทยเป็นมะเร็งที่พบมากขึ้นทั้งในผู้ชายและผู้หญิง

กลุ่มเสี่ยงสูงคือผู้ที่มีประวัติหรือประวัติครอบครัวมี มะเร็งลำไส้ใหญ่ ติ่งเนื้อที่ลำไส้ใหญ่ หรือ มะเร็งลำไส้ใหญ่ชนิดถ่ายทอดทางพันธุกรรมบางชนิด รวมถึงผู้ป่วยโรคลำไส้ใหญ่อักเสบ หรือ โรคโครน (Crohn's disease) กลุ่มนี้ควรเริ่มรับการตรวจหามะเร็งก่อนอายุปกติที่ควรตรวจ

บุคลที่มีประวัติครอบครัวใกล้ชิดเป็นโรคมาก่อน เช่น บิดามารดา พี่น้องหรือบุตร มีโอกาสเสี่ยงที่จะเป็นมะเร็งชนิดนี้ประมาณ2/3ของประชากรปกติ แต่ในความจริงแล้วกลับพบว่า ประมาณ 80% ของผู้ป่วยใหม่ ไม่ใช่ผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยง

จากการศึกษาพบว่าปัจจัยในการดำรงชีวิตอาจทำให้เสี่ยง ปัจจัยดังกล่าวคือ รับประทานอาหารมันและเนื้อแดงมากแต่รับประทานผักและผลไม้น้อย รับประทานอาหารที่ให้พลังงานสูง ออกกำลังกายน้อย และโรคอ้วน

การสูบุหรี่และดื่มสุราจัดอาจมีผลต่อการเกิดโรค



การกำหนดระยะของโรค

ขั้น 0 (Stage 0) (ที่เรียกว่าระยะก่อนมะเร็ง) - พบมะเร็งที่ผนังด้านนอกสุดของผนังลำไส้ใหญ่

ขั้น 1 (Stage I) – พบมะเร็งที่เยื่อบุชั้นที่ 2และ3 ของผนังลำไส้ใหญ่แต่ไม่พบที่ผนังด้านนอกลำไส้ใหญ่หรือมากกว่านั้น ขั้นนี้เรียกว่า ดุ๊กเอ  Dukes' A

ขั้น 2 (Stage II) – มะเร็งลุกลามไปที่ผนังลำไส้ใหญ่แต่ไม่มีการแพร่กระจายไปที่ต่อมน้ำเหลือง (หน่วยเล็กๆที่ช่วยต่อสู้การติดเชื้อและโรค) ขั้นนี้เรียกว่า ดุ๊กบี

ขั้น 3 (Stage III) – มะเร็งลุกลามไปผนังลำไส้ใหญ่และต่อมน้ำเหลือง แต่ยังไม่ลุกลามไปอวัยวะอื่น ขั้นนี้เรียกว่า ดุ๊กซี

ขั้น 4 (Stage IV) – มะเร็งลุกลามไปอวัยวะอื่น(เช่น ตับและปอด) ขั้นนี้เรียกว่า ดุ๊กดี



อาการและอาการแสดง

ในระยะแรก ผู้ป่วยอาจไม่แสดงอาการเลือดออกทางทวารหนัก หรืออุจจาระปนเลือด หรืออุจจาระเป็นเลือดอุจจาระมีรูปร่างเปลี่ยนไป (เป็นเส้นเล็กลง) ปวดเกร็งในท้อง

มะเร็งลำไส้ตรงส่วนใหญ่มักแสดงอาการ ซึ่งต่างจากมะเร็งลำไส้ใหญ่ อาการดังกล่าวคือ: อุจจาระปนเลือด, ท้องผูกสลับกับท้องเดินอย่างไม่มีสาเหตุ, ขนาดของเส้นอุจจาระเปลี่ยนไป และ ปวดเบ่ง คืออาการรู้สึกปวดถ่ายในขณะที่ไม่มีอุจจาระหรือไม่สามารถขับถ่ายออกได้ ถ้าก้อนมีขนาดใหญ่ขึ้นอาจไปเบียดอวัยวะข้างเคียงอาจก่อให้เกิด กลั้นปัสสาวะไม่อยู่หรือปวดเนื่องจากมีการกดทับที่ก้นหรือฝีเย็บ



การวินิจฉัย

ผู้ป่วยอาจจะถูกเข้ารับการตรวจเพื่อหาระยะและการกระจายของมะเร็งดังต่อไปนี้ การส่องกล้องทางเดินอาหารส่วนล่าง ในบางรายอาจได้รับการวินิจฉัยโรคจากการตรวจเอกซเรย์โดยการสวนแป้งแบเรี่ยม การตรวจเลือดเพื่อหาระดับของ carcinoembryonic antigen (CEA)  (การตรวจเลือดเพื่อค้นหามะเร็ง) เอกซ์เรย์ทรวงอก และเอกซ์เรย์คอมพิวเตอร์ช่องท้องและเชิงกราน

นอกจากนี้ การตรวจเพื่อหาการลุกลามของมะเร็งอาจใช้ CT scans, MRI หรือการส่องกล้องคลื่นความถี่สูง (EUS)



การผ่าตัด

- การผ่าตัดมะเร็งลำไส้ใหญ่จะทำตามตำแน่งที่เกิดในลำไส้ เช่น 

     * การผ่าตัดบริเวณครึ่งขวาของลำไส้  Rt. Extended Hemicolectomy

     * การผ่าตัดบริเวณ Transverse  colon Transverse colectomy

     * การผ่าตัดบริเวณครึ่งซ้ายของลำไส้  Lt. Hemicolectomy

     * การผ่าตัดบริเวณ sigmoid colon Sigmoidectomy

     * Sigmoidectomy with Hartman’s pouch


ส่วนกรณีลำไส้ตรงซึ่งอยู่บริเวณเชิงกรานที่มีโครงกระดูกขนาดใหญ่ ทำให้ศัลยแพทย์ประสบความยากลำบากในการเลาะตัดชิ้นเนื้อบริเวณใกล้เคียงเพื่อตัดเอาก้อนมะเร็งออกมา ต้องใช้วิธีการ AP resection

ในผู้ป่วยที่ก้อนมีขนาดใหญ่มากจนไม่สามารถจะทำการผ่าตัดได้ การให้การฉายรังสีร่วมกับยาเคมีบำบัดก่อนการผ่าตัดเพื่อทำให้ก้อนเล็กลงจะช่วยให้ก้อนเล็กลงจนผู้ป่วยสามารถเข้ารับการผ่าตัดเอาก้อนออกได้ วิธีนี้เรียกว่า  "downstaging"

ผู้ป่วยขั้น 0 และ 1 ใช้การผ่าตัดเพียงอย่างเดียว

ผู้ป่วยขั้น 2 และ 3 ที่เสี่ยงต่อการกลับเป็นซ้ำอีก ควรให้การฉายรังสีและยาเคมีบำบัดร่วมด้วย อาจใช้ก่อนหรือหลังผ่าตัด

แม้ว่าผู้ป่วยส่วนใหญ่จะได้รับการผ่าตัดก้อนมะเร็งออกทั้งหมด แต่อุบัติการณ์การกลับเป็นซ้ำอีกสูงถึง 50-60%

การให้ยาเคมีบำบัดจึงเพื่อลดโอกาสการกลับเป็นซ้ำอีก

การศึกษาแสดงถึงการรักษาผู้ป่วยด้วยวิธีแตกต่างกัน โดยทั่วไป ผู้ป่วยมะเร็งขั้น 2 ที่มีปัญหาลำไส้ทะลุหรือลำไส้อุดตัน หรือที่เป็นมะเร็งชนิดเซลล์ผิดปกติมาก (จากการตรวจชื้นเนื้อด้วยกล้องจุลทรรศน์)นับว่าเป็นกลุ่มเสี่ยงการกลับเป็นซ้ำอีกจะได้รับการรักษาโดย fluorouracil (5-FU) และ leucovorin (LV)ซึ่งทั้งสองตัวเป็นยาเคมีบำบัด เป็นเวลา 6 เดือน  ขณะที่ผู้ป่วยมะเร็งขั้น 2 อื่นๆได้รับการติดตามอย่างใกล้ชิดแต่ไม่ต้องเข้ารับยาเคมีบำบัด ผู้ป่วยมะเร็งขั้น 3 ได้รับการรักษาด้วย fluorouracil และ leucovorin เป็นเวลา 6 เดือน ด้วยวิธีการรักษาแบบนี้ทำให้อัตราการรอดชีวิตเพิ่มขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับการผ่าตัดเพียงอย่างเดียว

ส่วนผู้ป่วยมะเร็งขั้น 4 ใช้การรักษาด้วยการตัดก้อนมะเร็งออก ร่วมกับการฉายรังสีรักษา โดยอาจใช้ยาเคมีบำบัดร่วมด้วยหรือไม่ร่วมด้วย

ผู้ป่วยบางท่านอาจต้องเข้ารับการจัดการการผ่าตัดตามการลุกลามของมะเร็งไปอวัยวะใกล้เคียง เช่น ตับ รังไข่เป็นต้น การรักษาผู้ป่วยมะเร็งระยะลุกลาม ใช้ fluorouracil, leucovorinและirinotecan (CPT-11 หรือ Camptosar) หรือ oxaliplatin (Eloxitin) สูตรการใช้ยาirinotecanหรือ oxaliplatinร่วมด้วย มีผลดีในการรักษาเพิ่มขึ้นมากกว่าที่ใช้เพียง fluorouracil และ leucovorin เท่านั้น


นพ.วุฒิ  สุเมธโชติเมธา
Surgical Oncologist

===========================================
อย่างไรก็ตาม มีผู้ป่วยและญาติผู้ป่วยหลายท่าน เลือกทานอาหารเสริมที่ราคาไม่แพง และคุณภาพระดับพรีเมี่ยมอย่าง น้ำผลไม้เข้มข้น ยูมีโกลด์ เพื่อป้องกัน และ รักษาสุขภาพของตนเอง ชมคลิปตัวอย่างรายนี้นะคะ



ติดต่อสอบถาม :
เว็บไซต์ : คลิกที่นี่
https://myumegold.blogspot.com/
แอด Facebook ส่วนตัว : คลิกเลยค่ะ
https://www.facebook.com/maywarina
Facebook Fanpage: Thai MLM Online
https://www.facebook.com/bestthaimlmo...
ช่อง Youtube : Thai MLM Online 100%
https://www.youtube.com/watch?v=pdnWI...
ติดต่อสอบถาม : 089-707-2874
Line ID : 0897072874
แอดเป็นเพื่อน :
http://line.me/ti/p/~0897072874

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น