1. อาการอะไรที่บ่งบอกว่าเป็นข้อเข่าเสื่อม?
คนที่เป็นโรคข้อเข่าเสื่อม และ เจ็บเข่า มักจะมีอาการดังต่อไปนี้ ซึ่งอาจจะมีบางอาการ หรือมีทุกอาการได้ เช่น ปวดเข่า เจ็บเข่า ข้อเข่าฝืดหรือติดขัด ได้ยินเสียงดังในเข่า เข่าบวม รู้สึกขาไม่มีกำลังหรือเข่าอ่อน โดยอาการที่มาพบแพทย์บ่อยที่สุดคืออาการปวดเข่า อาจจะปวดเวลาขึ้น-ลงทางชันหรือบันได ปวดเวลานั่งกับพื้น เช่น นั่งพับเพียบ ขัดสมาธิหรือคุกเข่า ปวดเวลาเดินบนพื้นราบ
2. ปัจจัยอะไรบ้างที่ทำให้เกิดโรคข้อเข่าเสื่อม?
สาเหตุหรือปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคข้อเข่าเสื่อมนั้นประกอบด้วยหลายสาเหตุรวมกัน ไม่ได้เกิดจากสาเหตุใดสาเหตุหนึ่งเพียงอย่างเดียว ได้แก่
2.1 อายุที่มากขึ้น
2.2 น้ำหนักตัวมาก เช่น เป็นโรคอ้วน
2.3 การใช้งานข้อเข่าที่มาก และเกิดอาการเจ็บเข่า
2.4 ประวัติเคยประสบอุบัติเหตุบริเวณข้อเข่าอย่างรุนแรง เช่น กระดูกหักเข้าข้อ เอ็นข้อเข่าฉีกขาด แหวนรองข้อฉีดขาด
2.5 ประวัติเคยติดเชื้อในข้อเข่า
2.6 โรคข้ออักเสบเรื้อรัง เช่น รูมาตอยด์ หรือ เกาต์
2.7 เพศ จากการศึกษาพบว่าเพศหญิงมีความเสี่ยงเป็นโรคข้อเข่าเสื่อมมากกว่าเพศชาย
2.8 พันธุกรรม พบว่าผู้ที่มีพ่อ แม่ หรือญาติพี่น้อง เป็นข้อเข่าเสื่อม มีความเสี่ยงเป็นโรคข้อเข่าเสื่อมมากขึ้น มักจะมีลักษณะที่มีความเสื่อมของข้อทั่วตัวเช่น มือ นิ้ว กระดูกสันหลัง เข่า เป็นต้น
3. ข้อเข่าเสื่อมเกิดในคนอายุน้อยได้หรือไม่?
ข้อเข่าเสื่อมในคนอายุน้อยกว่า 50 ปี และอาการเจ็บเข่า สามารถเกิดได้ โดยมีสาเหตุส่วนใหญ่จากอุบัติเหตุรุนแรงบริเวณข้อเข่ามาก่อนส่งผลให้แนวแกนรับน้ำหนักข้อเข่าผิดปกติไป มีกระดูกอ่อนข้อเข่าบาดเจ็บ และเกิดอาการ เจ็บเข่า มีโรคข้ออักเสบเรื้อรัง เช่น รูมาตอยด์ ทำให้ผิวกระดูกอ่อนถูกทำลายตั้งแต่อายุน้อย หรือเป็นโรคกระดูกตายบริเวณข้อเข่า (osteonecrosis) ซึ่งส่งผลต่อมาทำให้ข้อเข่าเสื่อมได้ตั้งแต่อายุน้อย
4. เวลาเดิน ลุก หรือนั่งแล้วเจ็บเข่า ควรทำอย่างไร?
ผู้ป่วยที่เป็นโรคข้อเข่าเสื่อมมักจะมีปัญหาอาการปวดเข่า เวลาเดิน นั่งกับพื้น หรือลุกจากนั่ง ซึ่งเป็นอาการที่พบได้บ่อย ในกรณีที่อาการไม่มาก การปรับเปลี่ยนท่าทางและพฤติกรรม เช่น นั่งกับเก้าอี้แทนการนั่งกับพื้น การใช้แขนช่วยยันตัวขึ้นตอนลุกจากนั่ง หรือการใช้ไม้เท้าช่วยพยุงเวลาเดิน รวมถึงการบริหารกำลังกล้ามเนื้อต้นขาจะช่วยบรรเทาอาการเจ็บเข่าได้ แต่ในกรณีที่มีอาการมาก หรือปรับเปลี่ยนท่าทางแล้วอาการปวดไม่บรรเทา แนะนำปรึกษาแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัย ให้การรักษาและคำแนะนำต่อไป
5. ข้อเข่าเสื่อมแล้วออกกำลังกายได้หรือไม่?
การออกกำลังกายเป็นคำแนะนำให้ควรปฏิบัติสำหรับผู้ป่วยข้อเข่าเสื่อม โดยแนะนำให้ออกกำลังกายด้วยวิธีที่ไม่สร้างภาระให้กับข้อเข่า หลีกเลี่ยงการกระโดด กระแทก การบิดเข่า เป็นต้น สำหรับการออกกำลังกายในน้ำ เช่น ว่ายน้ำ หรือเดินในน้ำ จะช่วยให้ข้อเข่ารับภาระน้อยลง มีการฝึกการเคลื่อนไหวของข้อเข่าได้ดี รวมถึงการออกกำลังกายด้วยการปั่นจักรยานนั้นสามารถทำได้ การบริหารกำลังกล้ามเนื้อต้นขาโดยไม่ใช้น้ำหนักต้าน เช่น การนั่งเกร็งต้นขาและยกปลายเท้าขึ้น จะช่วยให้กล้ามเนื้อแข็งแรงขึ้น ช่วยบรรเทาอาการปวดได้
ผู้ที่มีอาการเจ็บบริเวณข้อเข่าด้านหน้า ซึ่งมีความเสื่อมของข้อสะบ้า ให้หลีกเลี่ยงการลุกนั่ง การก้าวขึ้นที่สูง การออกแรงเหยียดเข่าโดยมีแรงต้าน เป็นต้น เพราะจะทำให้เจ็บและมีการเสื่อมมากขึ้น
6. การฉีดยาน้ำหล่อเลี้ยงข้อเข่าช่วยรักษาได้อย่างไร และช่วยรักษาอาการได้นานแค่ไหน?
ถ้าเปรียบข้อเข่าเหมือนกระบอกสูบรถยนต์ที่จะทำงานได้ดีเมื่อมีน้ำมันหล่อลื่น ในคนปกติจะมีเนื้อเยื่อรอบหัวเข่าผลิตสารหล่อลื่นช่วยในการเคลื่อนไหวในข้อเข่า เมื่อมีอาการข้อเข่าเสื่อมน้ำมันหล่อลื่นในข้อเข่ามีการเปลี่ยนสภาพไป ไม่มีประสิทธิภาพเท่าเดิม รวมถึงอาจมีปริมาณน้อยกว่าเดิมในผู้ป่วยบางคน จากการศึกษา (meta-analysis) พบว่าการฉีดน้ำหล่อเลี้ยงข้อเข่าเทียมสามารถช่วยลดอาการปวด และเพิ่มการเคลื่อนไหวข้อเข่าได้ในผู้ป่วยบางคนเท่านั้น โดยจะช่วยรักษาอาการได้ประมาณ 6 เดือน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของข้อเข่าเสื่อมของผู้ป่วย
7. พฤติกรรมอะไรบ้างที่ส่งเสริมให้เกิดข้อเข่าเสื่อม?
การใช้งานข้อเข่าที่รุนแรงหรือในท่าผิดปกติ ต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน เช่น การวิ่งมาราธอน การทำงานหรือกิจกรรมที่ต้องนั่งยองหรือคุกเข่านานๆ สามารถส่งเสริมให้เกิดข้อเข่าเสื่อมและเจ็บเข่าได้ในอนาคต
8. ข้อเข่าเสื่อมจำเป็นต้องผ่าตัดหรือไม่?
ข้อเข่าเสื่อมแบ่งความรุนแรงทางภาพเอกซเรย์ได้ 4 ระดับ ซึ่งความรุนแรงระดับที่ 3 หรือ 4 เป็นระดับที่พบได้บ่อยในผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาด้วยวิธีผ่าตัด อย่างไรก็ตามการจะรักษาด้วยวิธีผ่าตัดยังต้องพิจารณาร่วมกับกับอาการปวด และคุณภาพชีวิตในด้านการยืน เดิน ของผู้ป่วย ดังนั้นผู้ป่วยข้อเข่าเสื่อมไม่จำเป็นต้องผ่าตัดรักษาทุกคน
9. การป้องกันข้อเข่าเสื่อมควรทำอย่างไร?
ปัจจัยหนึ่งที่ทำให้เกิดข้อเข่าเสื่อมคือ อายุที่มากขึ้น ซึ่งไม่สามารถเปลี่ยนแปลงแก้ไขได้ อย่างไรก็ตามยังมีปัจจัยเสี่ยงอื่นๆที่สามารถหลีกเลี่ยงได้ โดยการปรับเปลี่ยนท่าทางและพฤติกรรม เช่น รักษาน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน หลีกเลี่ยงการใช้งานข้อเข่าที่รุนแรง ติดต่อกันระยะเวลานาน และออกกำลังกายบริหารกำลังกล้ามเนื้อต้นขาให้แข็งแรง
Alter G ลู่วิ่งต้านแรงโน้มถ่วง สำหรับผู้ที่ต้องการออกกำลังกายด้วยการวิ่ง แต่ไม่สามารถทำได้เนื่องจากมีปัญหาเรื่อง เจ็บเข่า หรือ ไม่สามารถการลงน้ำหนัก เช่น หลังผ่าตัดใหม่ๆบริเวณขาหัวเข่าข้อเท้าหรือเท้า ผู้ที่เจ็บเข่าเวลาวิ่ง ผู้ที่มีน้ำหนักตัวมากจนการวิ่งอาจทำให้มีปัญหาของขาหรือเข่าในภายหลัง
ติดต่อได้ที่ BASEM สถาบันเวชศาสตร์การกีฬาและออกกำลังกายกรุงเทพ
2.2 น้ำหนักตัวมาก เช่น เป็นโรคอ้วน
2.3 การใช้งานข้อเข่าที่มาก และเกิดอาการเจ็บเข่า
2.4 ประวัติเคยประสบอุบัติเหตุบริเวณข้อเข่าอย่างรุนแรง เช่น กระดูกหักเข้าข้อ เอ็นข้อเข่าฉีกขาด แหวนรองข้อฉีดขาด
2.5 ประวัติเคยติดเชื้อในข้อเข่า
2.6 โรคข้ออักเสบเรื้อรัง เช่น รูมาตอยด์ หรือ เกาต์
2.7 เพศ จากการศึกษาพบว่าเพศหญิงมีความเสี่ยงเป็นโรคข้อเข่าเสื่อมมากกว่าเพศชาย
2.8 พันธุกรรม พบว่าผู้ที่มีพ่อ แม่ หรือญาติพี่น้อง เป็นข้อเข่าเสื่อม มีความเสี่ยงเป็นโรคข้อเข่าเสื่อมมากขึ้น มักจะมีลักษณะที่มีความเสื่อมของข้อทั่วตัวเช่น มือ นิ้ว กระดูกสันหลัง เข่า เป็นต้น
4. เวลาเดิน ลุก หรือนั่งแล้วเจ็บเข่า ควรทำอย่างไร?
ผู้ที่มีอาการเจ็บบริเวณข้อเข่าด้านหน้า ซึ่งมีความเสื่อมของข้อสะบ้า ให้หลีกเลี่ยงการลุกนั่ง การก้าวขึ้นที่สูง การออกแรงเหยียดเข่าโดยมีแรงต้าน เป็นต้น เพราะจะทำให้เจ็บและมีการเสื่อมมากขึ้น
Alter G ลู่วิ่งต้านแรงโน้มถ่วง สำหรับผู้ที่ต้องการออกกำลังกายด้วยการวิ่ง แต่ไม่สามารถทำได้เนื่องจากมีปัญหาเรื่อง เจ็บเข่า หรือ ไม่สามารถการลงน้ำหนัก เช่น หลังผ่าตัดใหม่ๆบริเวณขาหัวเข่าข้อเท้าหรือเท้า ผู้ที่เจ็บเข่าเวลาวิ่ง ผู้ที่มีน้ำหนักตัวมากจนการวิ่งอาจทำให้มีปัญหาของขาหรือเข่าในภายหลัง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น