วันอาทิตย์ที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2560

โรคเส้นเลือดสมอง

โรคเส้นเลือดสมอง

โรคหลอดเลือดสมองเป็นโรคที่เป็นสาเหตุการเสียชีวิตเป็นอันดับ 3 รองจากโรคหัวใจและมะเร็ง หากผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่มีชีวิตอยู่ก็มักจะมีความพิการหลงเหลืออยู่ได้แก่ อัมพฤกษ์ อัมพาต นั่นเอง โรคหลอดเลือดสมอง นิยมเรียกว่า stroke ในคนไทยเรียกว่า อัมพาต แต่ถ้าผู้ป่วยรายใดมีอาการไม่รุนแรงพอขยับได้เรียกโรคอัมพฤกษ์ โรคหลอดเลือดสมองแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ
โรคหลอดเลือดสมองแตก
โรคหลอดเลือดสมองตีบ หรืออุดตัน
ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคหลอดเลือดในสมองแบ่งเป็น 2 ลักษณะ
ปัจจัยเสี่ยงที่แก้ไขและควบคุมได้ มักสัมพันธ์กับผู้ป่วยที่เป็นโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน และโรคหัวใจ ไขมันในเลือดสูง ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ผสมอยู่ ขาดการออกกำลังกาย สูบบุหรี่ ความเครียด ความอ้วน
ปัจจัยเสี่ยงที่แก้ไขไม่ได้ ได้แก่ อายุ จากการศึกษาพบว่าโอกาสเกิดโรคหลอดเลือดสมองจะมากขึ้นตามอายุที่เพิ่มขึ้น เพศ เชื้อชาติ และกรรมพันธุ์
อาการเริ่มต้นของอัมพฤกษ์ ที่สังเกตได้และควรไปพบแพทย์ ดังนี้คือ
เกิดอาการชาหรือไม่มีแรง ตามใบหน้า แขน ขา ข้างใดข้างหนึ่งของร่างกาย
พูดไม่ได้ชั่วขณะ หรือลำบากในการพยายามพูด
ตาข้างใดข้างหนึ่งพร่ามัวไปชั่วขณะ
เวียนศีรษะโดยไม่มีสาเหตุหรือทรงตัวไม่ได้
หากมีอาการคสรไปพบแพทย์ให้เร็วที่สุด ภายใน 3 ชั่วโมง
การวินิจฉัย
ผู้ป่วยจะได้รับการตรวจร่างกาย ตรวจเอกซ์เรย์คอมพิวเตอร์หรือเอกซ์เรย์คลื่นแม่เหล็ก ในบางรายจะได้รับการตรวจหัวใจ Echocardiogram และตรวจอัลตร้าซาวด์หลอดเลือดใหญ่ที่คอ เพื่อวินิจฉัยประเมินความรุนแรงและพยากรณ์โรค
การรักษา
การรักษาทางยา
ในกรณีนี้หากไม่เกิน 3 ชั่วโมง แพทย์จะให้ยาละลายลิ่มเลือดในสมอง ซึ่งผลการรักษาจะดีกว่าผู้ป่วยที่ไม่ได้รับยา หลังจากนั้นแพทย์จะพิจารณาให้รับประทานยาต้านเกร็ดเลือด ยาต้านลิ่มเลือด รวมทั้งรักษาโรคที่เป็นปัจจัยเสี่ยง
การรักษาทางการผ่าตัด
เส้นเลือดในสมองแตก พบเลือดออกในสมอง ต้องรักษา ต้องผ่าตัดช่วยเหลือ ซึ่งปัจจุบันมีนวัตกรรมการผ่าตัดที่เรียกว่า Key Hole Surgery หรือการเจาะรูเล็กๆ คล้ายรูกุญแจที่ศีรษะเพื่อดูดเลือดออกจากสมอง นวัตกรรมนี้มีข้อดีอย่างมาก เพราะมีแผลผ่าตัดที่เล็กมาก และใช้ระยะเวลาในการพักฟื้นไม่นาน ทว่าคนไข้กลุ่มนี้มีความเสี่ยงที่จะทุพพลภาพ หรืออาจฟื้นตัวได้ช้ากว่ากลุ่มแรก
โรคหลอดเลือดในสมองป้องกันได้โดยหลีกเลี่ยงและควบคุมปัจจัยเสี่ยงดังนี้ คือ
การรับประทานอาหารที่ถูกต้อง โดยรับประทานอาหารที่มีสารอาหารครบถ้วนและมีปริมาณเพียงพอ ลดอาหารเค็ม หรือเกลือมาก ซึ่งจะช่วยป้องกันโรคความดันโลหิตสูงและหลอดเลือดแข็งได้ รับประทานอาหารที่มีกากใยสูงเป็นประจำ เช่น ผัก ผลไม้ หลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันมากโดยเฉพาะไขมันอิ่มตัว เช่น มันหมู มันไก่ ไข่แดง และกะทิมะพร้าว รวมทั้งอาหารที่หวานจัดต่างๆ เป็นต้น ซึ่งจะทำให้ระดับไขมันไนเลือดสูงได้
งดสูบบุหรี่ เนื่องจากบุหรี่มีสารนิโคติน ซึ่งสารนี้จะทำให้หัวใจเต้นเร็วหลอดเลือดหดตัว ความดันโลหิตสูง ทำให้เกิดการอุดตันของเส้นเลือด โดยเฉพาะผู้ป่วยที่มีความดันโลหิตสูง เบาหวาน และโรคหัวใจอยู่ก่อนแล้วจะทำให้เกิดอันตรายได้
ออกกำลังกายสม่ำเสมอ เพราะช่วยคลายเครียด ลดไขมัน และลดความดันโลหิตนอกจากนี้ยังทำให้สุขภาพแข็งแรงอีกด้วย
การควบคุมน้ำหนัก ความอ้วนเป็นสาเหตุของการเกิดโรคได้หลายอย่าง เช่น ไขมันในเลือดสูง ความดันสูง และทำให้เกิดโรคเบาหวานได้
หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์
ควรไปตรวจสุขภาพเป็นประจำ หากพบว่าท่านป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูง เบาหวาน โรคหัวใจ
โรคหลอดเลือดในสมอง ตีบ แตก ตัน ป้องกันและรักษาได้ หากเข้าใจและสังเกตตนเองอย่างสม่ำเสมอ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น