วันจันทร์ที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2560

มาทำความรู้จักโรคสาเหตุการตาย อันดับต้น โรคฮิตสุดยอด"ปอดติดเชื้อ"!!

  
ปอดติดเชื้อ ภาวะอันตราย รู้ตัวสายไปอาจถึงชีวิต !
 
  ไม่เชื่อก็ต้องเชื่อว่าภาวะปอดติดเชื้อเป็นสาเหตุการตายอันดับต้น ๆ ของคนเรา โดยเฉพาะในผู้ที่มีภูมิคุ้มกันต่ำ หากป่วยขึ้นมาแล้วรู้ตัวเมื่อสาย อาการปอดติดเชื้ออาจรุนแรงถึงชีวิตได้เลย

          ปอดเป็นอวัยวะที่อยู่ภายในร่างกาย เวลาที่ปอดมีความผิดปกติหรือมีภาวะอันตรายเกิดขึ้นมา ร่างกายเราเลยจะรับรู้ได้ช้ากว่าแผลภายนอกทั่วไป ที่สำคัญอาการปอดผิดปกติอาจแสดงในรูปแบบการไอ จาม หรืออาการเจ็บป่วยเล็ก ๆ น้อย ๆ ก่อนก็ได้ ด้วยเหตุนี้ภาวะปอดติดเชื้อจึงอาจลุกลามอยู่ภายในร่างกายเราเงียบ ๆ จนมารู้ตัวอีกทีก็เมื่อสาย ฉะนั้นก่อนที่ปอดจะไม่สบายเรามาทำความรู้จักภาวะปอดติดเชื้อกันสักหน่อยจะดีกว่า
ปอดติดเชื้อ คือภาวะอะไร
          ปอดติดเชื้อ คือ ภาวะติดเชื้อเฉียบพลันทางระบบทางเดินหายใจ หรือภาวะติดเชื้อที่เนื้อปอด ซึ่งประกอบไปด้วยถุงลมปอดและเนื้อเยื่อโดยรอบถุงลมปอด ก่อให้เกิดอาการปอดบวมและมีหนองขัง โดยภาวะปอดติดเชื้อจัดว่าเป็นภาวะร้ายแรงถึงชีวิตได้ หากพบอาการปอดติดเชื้อในระยะลุกลาม

ปอดติดเชื้อคืออะไร รักษาให้หายเป็นปกติได้หรือไม่?
หลายครั้งที่เราได้ยินข่าวตามหน้าหนังสือพิมพ์ และข่าวการเสียชีวิตของญาติพี่น้องของเรา จากปากของหมอว่า มีสาเหตุการเสียชีวิตมาจาก ปอดติดเชื้อ เชื่อว่าหลายคนน่าจะเคยสงสัยว่า ปอดติดเชื้อคืออะไร ติดเชื้ออะไร ร้ายแรงมากแค่ไหน และหากติดเชื้อขึ้นมาจริงๆ จะมีโอกาสรักษาหายหรือไม่ มีคำตอบค่ะ
ปอดติดเชื้อ คืออะไร?
ปอดติดเชื้อ คืออาการติดเชื้อที่ปอดด้วยเชื้อโรคประเภทต่างๆ ตั้งแช่เชื้อแบคทีเรีย เชื้อไวรัส เชื้อพยาธิ เชื้อรา อื่นๆ ทำให้เกิดอาการอักเสบ ถุงลมจะเต็มไปด้วยน้ำ ปอดจะทำงานหนัก เพื่อพยายามแลกเปลี่ยนเป็นก๊าซ
ปอดติดเชื้อ เป็นโรคติดต่อหรือไม่?
ปอดติดเชื้อ เป็นโรคติดต่อค่ะ โดยติดต่อกันได้ผ่านน้ำลาย และเสมหะ


ปอดติดเชื้อเกิดจากอะไร
          ปอดติดเชื้อมีสาเหตุจากเชื้อไวรัส เช่น ไข้หวัดใหญ่ หัด อีสุกอีใส เชื้อไวรัสซาร์ส เชื้อไข้หวัดนก หรือเกิดจากเชื้อแบคทีเรีย อันได้แก่ เชื้อนิวโมค็อกคัส (pneumococcus) เชื้อสแตฟฟีโลค็อกคัส (staphylococus) เชื้อเคล็บซิลลา (klebsiella) และเชื้อรา ซึ่งผ่านเข้าไปยังเนื้อปอดได้จากการสูดอากาศที่มีเชื้อโรคดังกล่าว
          หรือในคนที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด ติดเชื้อแอนอานาโรป (Ananarob) จากฟันผุ หรือการสำลักน้ำลายที่ปนเปื้อนเชื้อโรคเข้าไปในปอด ก็อาจเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะปอดติดเชื้อได้

ปอดติดเชื้อ มีสาเหตุมาจากไหนบ้าง?
เชื้อโรคที่ทำให้ปอดติดเชื้อ อาจมาจาก
- เครื่องปรับอากาศ ที่ไม่ได้ล้างทำความสะอาดอย่างเพียงพอ
- อาการติดเชื้อจากโรคอื่นๆ ที่เป็นอยู่ก่อนแล้ว เช่น วัณโรค กรวยไตอักเสบ โรคพยาธิ เป็นต้น

- ในคนที่ภูมิคุ้มกันต่ำ อาจทำให้เชื้อโรคเข้าสู่ร่างกายได้ง่ายขึ้น ภูมิต้านทานไม่สามารถต่อสู้กับเชื้อโรคเหล่านั้นได้ เชื้อโรคจึงสามารถเข้าสู่ปอด จนทำให้เกิดอาการอักเสบ ติดเชื้อได้


          ทั้งนี้เราอาจจำแนกสาเหตุของภาวะติดเชื้อให้ชัดเจนได้ดังนี้
          1. การหายใจนำเชื้อเข้าสู่ปอดโดยตรง โดยการไอ จาม ซึ่งอาจทำให้เกิดปอดอักเสบจากเชื้อกลุ่ม atypical organisms เชื้อไวรัส เชื้อวัณโรค และเชื้อรา
          2. ติดต่อโดยการสำลักเอาเศษอาหารปนเปื้อนเชื้อเข้าไปในปอด
          3. การลุกลามของภาวะติดเชื้อที่อวัยวะข้างเคียงปอด เช่น ภาวะฝีในตับแตกเข้าสู่ปอด
          4. การทำหัตการบางอย่างที่ไม่ระวังการปนเปื้อน เช่น การสวนสายปัสสาวะที่ไม่ถูกสุขอนามัย การให้น้ำเกลือที่ไม่ถูกสุขลักษณะ หรือการดูดเสมหะที่ไม่ปลอดเชื้อ เป็นต้น
          5. เกิดจากสารเคมีบางชนิด เช่น น้ำมันก๊าด ที่ผู้ป่วยสูดดมหรือนำมาอมเล่นแล้วเกิดสำลักเข้าไปในปอด

ปอดติดเชื้อ มีอาการเริ่มต้นอย่างไรบ้าง?
1. มีไข้
2. มีอาการไอ มีเสมหะ
3. มีอาการหอบเหนื่อย หายใจเร็ว แค่นั่งอยู่เฉยๆ ก็รู้สึกเหนื่อย เหมือนหายใจเข้าได้ไม่เต็มปอด
4. ในรายที่ผู้ป่วยเป็นผู้สูงอายุ หากหายใจหอบเหนื่อยเป็นเวลานาน อาจเป็นอันตรายจนกระทั่งหายใจเร็วๆ ไม่ไหว ได้รับอากาศเข้าปอดไม่เพียงพอ จึงอาจทำให้เสียชีวิตได้
ระยะเวลาในแต่ละอาการ
ระยะเวลาของแต่ละอาการที่อาจเกิดขึ้น ขึ้นอยู่กับเชื้อโรค ที่ทำให้เกิดอาการปอดติดเชื้อ เช่น
หากปอดติดเชื้อไวรัส ระยะเวลาของอาการจะเร็ว อาจจะมีไข้เพียง 1-2 วัน มีอาการหอบเหนื่อยอย่างรุนแรง และอาจเสียชีวิตเร็วกว่าเชื้อโรคชนิดอื่นๆ
หากปอดติดเชื้อรา อาจจะแสดงอาการช้ากว่าไวรัส
ส่วนเชื้อแบคทีเรีย มีอาการได้ทั้งเร็ว หรือช้า ตั้งแต่ 1 สัปดาห์ ถึงเดือนๆ ขึ้นอยู่กับประเภทของเชื้อแบคทีเรีย ที่ทำให้ปอดติดเชื้อ

ปอดติดเชื้อ มีอาการอย่างไร
          อาการปอดติดเชื้อมักจะเกิดขึ้นอย่างฉับพลัน ซึ่งสามารถสังเกตอาการได้ดังนี้
          - มีไข้สูง บางคนมีอาการตัวร้อนตลอดเวลาหรือหนาวสั่นมาก
          - ในระยะแรก ๆ อาจมีอาการไอแห้ง ๆ ไม่มีเสมหะ ต่อมาจะไอแบบมีเสมหะขุ่นข้นเป็นสีเหลือง สีเขียว สีสนิมเหล็ก หรือมีเลือดปนมากับเสมหะ
          - หายใจหอบเร็ว
          - รู้สึกเจ็บแปลบในหน้าอกเวลาหายใจเข้า ไอแรง ๆ แล้วเจ็บร้าวไปที่หัวไหล่ สีข้าง หรือท้อง
          ทั้งนี้อยากฝากให้สังเกตอาการปอดติดเชื้อในเด็กเล็กด้วยนะคะ โดยเฉพาะกับเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 5 ขวบ โดยสามารถสังเกตอาการปอดติดเชื้อในเด็กได้ดังนี้
          - มีอาการหายใจหอบเร็วเกินเกณฑ์ตามอายุ โดยจำแนกอาการตามอายุได้ดังนี้
          * อายุ 0-2 เดือน หายใจเกินนาทีละ 60 ครั้ง
          * อายุ 2 เดือน-1 ขวบ หายใจเกินนาทีละ 50 ครั้ง
          * อายุ 1-5 ขวบ หายใจเกินนาทีละ 40 ครั้ง

พฤติกรรมเสี่ยง อาการปอดติดเชื้อ
1. สูบบุหรี่
2. ประกอบอาชีพที่ทำให้ปอดมีโอกาสรับเชื้อโรคได้มากขึ้น เช่น คนงานโรงงานเหมืองแร่ ถ่านหิน โม่ปูน แกะสลักหิน
ปอดติดเชื้อ เป็นแล้วเสียชีวิตหรือไม่?
ขึ้นอยู่กับประเภทของเชื้อโรค เชื้อบางตัวอาจทำให้เสียชีวิต เชื้อบางตัวก็ไม่อันตรายถึงขั้นเสียชีวิตได้




ปอดติดเชื้อ ใครมีความเสี่ยงที่สุด
?
อาการปอดติดเชื้อ สามารถเกิดขึ้นได้ทุกเพศทุกวัย ตั้งแต่อายุแรกเกิด ไปจนถึงผู้สูงอายุ 70-80 ปี แต่ในช่วงวัยรุ่น วัยทำงาน หากเป็นคนที่มีสุขภาพพลานามัยแข็งแรงสมบูรณ์ดี ก็จะมีโอกาสติดเชื้อได้น้อยกว่าวัยอื่นๆ
ปอดติดเชื้อ ใครเสี่ยงบ้าง
          ภาวะปอดติดเชื้อมักพบในผู้ที่มีภูมิคุ้มกันต่ำ เช่น ในเด็กทารกและเด็กอายุต่ำกว่า 5 ขวบ เด็กขาดสารอาหาร ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยโรคพิษสุราเรื้อรัง ผู้ป่วยโรคทางปอดเรื้อรัง เช่น โรคหืด ถุงลมโป่งพอง หรือผู้ป่วยที่มีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง ผู้ป่วยเบาหวาน และผู้ป่วยที่รับประทานยาสเตียรอย์นาน ๆ เป็นต้น
          ทั้งนี้อาการปอดติดเชื้ออาจพบว่าเป็นภาวะแทรกซ้อนของโรคไข้หวัด ไข้หวัดใหญ่ ทอนซิลอักเสบ หัด อีสุกอีใส ไอกรน หรือผู้ที่ฉีดยาด้วยเข็มที่ไม่สะอาด ซึ่งอาจทำให้ติดเชื้อประเภทสแตฟฟีโลค็อกคัส (staphylococus) ได้

ปอดติดเชื้อ ติดต่อทางไหนได้บ้าง
          อย่างที่บอกว่าภาวะปอดติดเชื้อเป็นภาวะที่ติดต่อถึงกันได้ โดยปอดติดเชื้อสามารถแพร่กระจายได้โดยการสำลักเอาน้ำลายและเสมหะของผู่ป่วยเข้าไปยังปอดนั่นเอง
ปอดติดเชื้อรุนแรงขนาดไหน
          โดยปกติแล้วหากตรวจพบภาวะปอดติดเชื้อในระยะแรกเริ่ม ก็ยังมีทางเยียวยารักษาให้หายได้ ทว่าหากปอดติดเชื้อรุนแรง อาจทำให้เกิดหนองในปอด เกิดภาวะน้ำท่วมปอดอย่างเฉียบพลัน ก่อให้เกิดอาการหายใจหอบ หายใจลำบาก หรือขั้นหนักอาจเกิดภาวะทางเดินหายใจล้มเหลวเฉียบพลันจนถึงแก่ชีวิตได้ ดังนั้นจึงควรดูแลรักษาสุขภาพให้ดี พร้อมกับสังเกตความผิดปกติของร่างกายตัวเองอยู่ตลอดด้วยนะคะ

ปอดติดเชื้อ ป้องกันได้โดยวิธีไหนบ้าง
          1. ควรดูแลสุขอนามัยของตัวเองอย่างดี ล้างมือบ่อย ๆ
          2. สวมใส่หน้ากากอนามัยเมื่อไม่สบาย หรือเมื่อร่างกายอยู่ในสภาวะอ่อนแอ ภูมิคุ้มกันต่ำ หรืออยู่ในที่แออัด
          3. เมื่อเป็นไข้หวัด ไข้หวัดใหญ่ โรคหัด โรคอิสุกอีใส ควรทำการรักษาโรคเสียแต่เนิ่น ๆ
          4. ป้องกันไม่ให้เป็นโรคทางปอดเรื้อรัง เช่น โรคถุงลมโป่งพอง ซึ่งมาจากพฤติกรรมการสูบบุหรี่
          ภาวะปอดติดเชื้ออันตรายกับสุขภาพก็จริง แต่หากเรารู้เท่าทันอาการ ความรุนแรงของภาวะปอดติดเชื้อก็จะลดน้อยลงไป และสามารถทำการรักษาให้หายขาดได้ค่ะ

ปอดติดเชื้อ กลายเป็นมะเร็งได้หรือไม่?
ไม่มีหลักฐานชัดเจนว่าอาการปอดติดเชื้อสามารถกลายเป็นมะเร็งปอดได้ หากแต่สามารถเป็นโรคถุงลมโป่งพองได้
ถึงแม้อาการปอดติดเชื้อจะไม่ได้เป็นกันได้ง่ายๆ แต่ก็ระมัดระวังตัวเอาไว้ก็ดีนะคะ เพียงแค่รักษาสุขภาพร่างกายให้แข็งแรงอยู่เสมอ ออกกำลังกาย พักผ่อนให้เพียงพอ ทานอาหารที่มีประโยชน์ ที่พักผ่อนสูดอากาศบริสุทธิ์ให้ปอดได้ชื่นใจบ้าง เท่านี้ก็ช่วยให้เราห่างไกลอาการปอดติดเชื้อได้มากแล้วล่ะค่ะ

------------------------------------------------------------
โรคปอดอักเสบในผู้สูงอายุ
ปอดอักเสบเกิดจากอะไร
โรคปอดอักเสบ หรือที่เรียกว่า ปอดบวม คือโรคติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนล่าง ซึ่งอาจเกิดได้จากเชื้อแบคทีเรีย, เชื้อไวรัส และเชื้อรา โดยส่วนใหญ่จะเกิดจากเชื้อแบคทีเรียและไวรัสซึ่งสาเหตุของโรคจะมีความแตกต่างกันในแต่ละกลุ่มอายุและสภาพแวดล้อม โดยร่างกายจะได้รับเชื้อผ่านทางระบบทางเดินหายใจ โดยทั่วไปแล้วโรคปอดอักเสบมักเป็นอาการที่ต่อเนื่องมาจากโรคไข้หวัดใหญ่ ที่จะพบมากในช่วงฤดูฝน โดยระดับความรุนแรงของโรคจะมีความแตกต่างกันออกไป
ปอดอักเสบในผู้สูงอายุรุนแรงถึงชีวิตจริงหรือไม่
ในผู้สูงอายุที่มีภูมิต้านทานต่ำ โอกาสเสี่ยงที่จะเกิดโรคแทรกซ้อนจากปอดอักเสบสูงมาก เช่น การติดเชื้อในกระแสเลือด หรือระบบทางเดินหายใจล้มเหลว ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้ผู้สูงอายุที่เป็นโรคนี้เสียชีวิตสูงถึง 50% เป็นเหตุผลให้โรคปอดอักเสบในผู้สูงอายุน่ากลัวกว่าปอดอักเสบในคนทั่วไป ซึ่งอาการแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นกับระบบต่างๆ ในร่างกาย ทำให้การรักษาเป็นไปอย่างยากลำบาก
อาการของโรคเป็นอย่างไร
ปอดอักเสบมีระยะเวลาดำเนินโรคที่ไม่แน่ชัดขึ้นกับชนิดของเชื้อ อาจสั้นเพียง 1-3 วันหรือนานเป็นสัปดาห์ หลังจากเริ่มป่วยเป็นไข้หวัด ถ้าผู้ป่วยเริ่ม มีอาการไอมีเสมหะ หายใจเหนื่อยหอบ เจ็บแน่นหน้าอก คลื่นไส้อาเจียน อ่อนเพลีย และมีไข้สูง เป็นอาการที่แสดงให้เห็นว่าไม่ได้เป็นแค่ไข้หวัดธรรมดา แต่อาจมีโรคปอดอักเสบร่วมด้วย โดยอาการของโรคปอดอักเสบในผู้สูงอายุอาจมีอาการอื่นที่ไม่จำเพาะ ที่พบได้บ่อย คือมีอาการซึมลง หรือสับสน และไม่จำเป็นต้องมีไข้หรืออาการไอมาก่อน
รู้ได้อย่างไรว่าปอดอักเสบ
แพทย์จะวินิจฉัยจากอาการและการตรวจร่างกาย และทำการตรวจวินิจฉัยด้วยการตรวจ X- Ray ปอดและตรวจเลือด รวมถึงนำเสมหะของคนไข้ไปตรวจเพาะเชื้อเพื่อยืนยันการวินิจฉัยโรคและตรวจแยกเชื้อที่เป็นสาเหตุ ซึ่งผลตรวจที่ได้จะนำไปสู่แนวทางการรักษาที่ถูกต้อง
วิธีรักษาโรคปอดอักเสบ
โรคปอดอักเสบที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย รักษาได้โดยให้ยาฆ่าเชื้อในรูปแบบยากินและยาฉีด โดยแพทย์จะพิจารณาจากระดับความรุนแรงของโรค โดยทั่วไปหลังจากได้รับยาฆ่าเชื้อ อาการจะดีขึ้นภายใน 2-3 วัน ส่วนโรคปอดอักเสบที่เกิดจากเชื้อไวรัส มีความรุนแรงน้อยกว่าการติดเชื้อแบคทีเรีย ซึ่งการรักษาจะพิจารณาตามอาการ เน้นให้คนไข้ดูแลตัวเอง พักผ่อนให้เพียงพอ อย่างไรก็ตาม ในกรณีของผู้สูงอายุที่ป่วยที่มีโรคเรื้อรังควรได้รับการรักษาในโรงพยาบาล เพื่อดูแลอาการอย่างใกล้ชิด ป้องกันการเกิดโรคแทรกซ้อนตามมา
โรคปอดอักเสบสามารถป้องกันได้หรือไม่
เชื้อแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุของปอดอักเสบจากเชื้อแบคทีเรียส่วนใหญ่ คือ เชื้อ Streptococcus pneumoniae ซึ่งมีกว่า 90 สายพันธุ์ นอกจากนี้ เชื้อนี้ยังสามารถก่อให้เกิดโรคที่สำคัญคือการติดเชื้อที่เยื่อหุ้มสมอง และการติดเชื้อในกระแสเลือด ปัจจุบันได้มีการพัฒนาวัคซีนสำหรับป้องกันการติดเชื้อดังกล่าว โดยแบ่งชนิดของวัคซีนเป็น 2 ชนิด คือ Conjugated vaccine มี ชนิด ส่วนใหญ่ใช้ในเด็ก มีเพียงชนิด PCV13 ที่ครอบคลุมเชื้อ 13 สายพันธุ์ที่ก่อให้เกิดโรคส่วนใหญ่ ซึ่งได้รับการรับรองให้ใช้ในผู้ใหญ่อายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไป ส่วนวัคซีนชนิด Polysaccharide vaccine ที่เรียกว่า PPSV23 ครอบคลุมเชื้อ 23 สายพันธุ์ที่ก่อให้เกิดโรคส่วนใหญ่ ผลข้างเคียงที่พบได้จากการฉีดวัคซีนที่พบได้บ่อยประมาณ 30-50% คือ อาการปวด บวม แดงบริเวณที่ฉีด อาจมีไข้ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อได้ แต่พบน้อยกว่า 1 % ส่วนอาการข้างเคียงรุนแรง พบได้น้อยมาก นอกจากนี้วัคซีนเหล่านี้ทำมาจากส่วนประกอบของเชื้อ ไม่ใช่ตัวเชื้อที่ยังมีชีวิต จึงไม่ทำให้เกิดโรคหลังการฉีด ทำได้เพียงกระตุ้นภูมิคุ้มกันโรคเท่านั้น ซึ่งโดยมากจะมีผลหลังฉีด 2-3 สัปดาห์
ใครบ้างที่ควรฉีดวัคซีน
1. ผู้สูงอายุที่อายุมากกว่า 65 ปี
2. ผู้มีอายุ 2-65 ปี
·         ที่มีภูมิคุ้มกันผิดปกติ จากยาเช่น สเตียรอยด์, ยากดภูมิ, ยาต้านมะเร็งบางชนิด, ได้รับการฉายรังสี หรือเป็นจากตัวโรคเองเช่น โรคไตวาย, , มะเร็ง, ไม่มีม้ามหรือม้ามไม่ทำงาน, ได้รับการปลูกถ่ายอวัยวะหรือไขกระดูก, ติดเชื้อ HIV
·         มีปัญหาโรคเรื้อรัง ได้แก่ โรคปอด, โรคหัวใจ เบาหวาน, ตับแข็ง, พิษสุราเรื้อรัง, สภาวะที่มีการรั่วของน้ำไขสันหลัง, ได้รับการปลูกถ่าย cochlear
3. ผู้มีอายุ 19-64 ปี ที่สูบบุหรี่ หรือเป็นโรคหืด
โดยการฉีดจะฉีดเข้ากล้ามเนื้อ 1 ครั้ง และในบางรายอาจพิจารณาฉีดซ้ำหลังครั้งแรก 5 ปี เช่นในรายที่ภูมิต้านทานหลังฉีดลดลงง่าย เช่น ผู้ป่วยมะเร็ง, ติดเชื้อ HIV, ไม่มีม้ามหรือม้ามไม่ทำงาน,ใช้ยากดภูมิ, ได้รับการปลูกถ่ายอวัยวะ หรือหากการฉีดครั้งแรกที่ก่อนอายุ 65 ปีและได้รับการฉีดมานานกว่า 5 ปีแล้ว ก็พิจารณาฉีดกระตุ้น 1 ครั้ง หลังจากครั้งที่ 2 ไม่มีความจำเป็นต้องฉีดซ้ำอีกไม่ว่าจะผ่านไปนานเท่าใด
วัคซีนนอกจากจะช่วยป้องกันโรคปอดอักเสบแล้วยังช่วยลดความรุนแรงของโรค หากพบการติดเชื้อขึ้นในภายหลัง
ควรดูแลตัวเองอย่างไรไม่ให้เป็นโรคปอดอักเสบ
วิธีการง่ายๆ ในการดูแลตัวเองสำหรับผู้สูงอายุ คือพักผ่อนให้เพียงพอ และหลีกเลี่ยงที่จะอยู่ใกล้ชิดหรือสัมผัสกับผู้ป่วยเป็นไข้หวัดหรือเริ่มมีอาการไข้หวัด ควรล้างมือสม่ำเสมอเพื่อป้องกันเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกาย การดูแลตัวเองให้แข็งแรง โดยทานอาหารที่มีประโยชน์ และออกกำลังเป็นประจำ ก็จะช่วยลดความเสี่ยงของโรคปอดอักเสบได้อีกทางหนึ่ง




ภาพประกอบจาก istockphoto
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
หมอชาวบ้าน กรมควบคุมโรค
และขอบคุณเนื้อหาบางส่วนจาก siamhealth.com, giffarine channel


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น