โรคหลอดเลือดหัวใจตีบมีอาการเป็นอย่างไร
ในกรณีหลอดเลือดหัวใจตีบไม่มาก อาจจะไม่รู้สึกอาการใดๆ อาการต่างๆ จะเกิดขึ้นต่อเมื่อหลอดเลือดหัวใจตีบมากกว่า 75% อาทิ
– เจ็บหน้าอก รู้สึกปวด แน่น จุกเสียดบริเวณหน้าอก ลำคอ ท้องส่วนบน หรือต้นแขนในขณะเครียด หรือออกกำลัง เมื่อหยุดพักอาการมักจะดีขึ้น
– หายใจไม่ทั่วท้อง อาการหายใจลำบาก และเหนื่อยง่าย เกิดขึ้นได้ไม่ว่าขณะออกแรง พักผ่อนหรือนอนหลับ
– บวม อาการบวมบริเวณข้อเท้า มักเกิดขึ้นในเวลาค่ำ
– ใจสั่น หัวใจเต้นเร็ว แรงหรือผิดจังหวะ
– อ่อนเพลีย รู้สึกไม่มีแรง เหนื่อยง่ายผิดปกติ
– เป็นลม หมดสติอย่างเฉียบพลัน หรือรู้สึกศีรษะเบาหวิว
– เจ็บหน้าอก รู้สึกปวด แน่น จุกเสียดบริเวณหน้าอก ลำคอ ท้องส่วนบน หรือต้นแขนในขณะเครียด หรือออกกำลัง เมื่อหยุดพักอาการมักจะดีขึ้น
– หายใจไม่ทั่วท้อง อาการหายใจลำบาก และเหนื่อยง่าย เกิดขึ้นได้ไม่ว่าขณะออกแรง พักผ่อนหรือนอนหลับ
– บวม อาการบวมบริเวณข้อเท้า มักเกิดขึ้นในเวลาค่ำ
– ใจสั่น หัวใจเต้นเร็ว แรงหรือผิดจังหวะ
– อ่อนเพลีย รู้สึกไม่มีแรง เหนื่อยง่ายผิดปกติ
– เป็นลม หมดสติอย่างเฉียบพลัน หรือรู้สึกศีรษะเบาหวิว
แต่อย่างไรก็ตาม จากสถิติทางคลินิกพบว่าหัวใจพิบัติมักเกิดขึ้นโดยไม่มีอาการเตือนล่วงหน้า โดยเฉพาะในผู้หญิง เจ้าตัวไม่เคยรู้มาก่อนว่าเป็นโรคหัวใจ แต่อยู่ๆ ก็ล้มลง หายใจไม่ออก ต้องหามส่งโรงพยาบาล หรืออาจเสียชีวิตกระทันหัน ผู้ป่วยกลุ่มนี้จึงโชคร้ายกว่าผู้ป่วยโรคหัวใจกลุ่มที่มีอาการเตือน ทำให้มีการรักษาและเอาใจใส่ตนเองได้อย่างต่อเนื่อง
ปัจจัยเสี่ยงที่คุณเปลี่ยนแปลงได้
วิธีการดำเนินชีวิตมีผลต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบไม่น้อยเลยทีเดียว ถึงแม้ว่าคุณอาจมีปัจจัยเสี่ยงที่เปลี่ยนแปลงไม่ได้ เช่น กรรมพันธุ์ ประวัติครอบครัว อายุ เพศหรือเชื้อชาติ เป็นต้น แต่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในชีวิตประจำวันจะทำให้ลดความเสี่ยงได้ เช่น งดสูบบุหรี่ ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ทานผัก ผลไม้ ธัญพืชและเส้ยใยมากขึ้น ควบคุมน้ำหนัก ผ่อนคลายความเครียด
ข้อจำกัดของการทำบอลลูนและบายพาส
เมื่อมีอาการแล้วไปพบแพทย์มักจะได้รับคำแนะนำให้ฉีดสี หากพบว่าหลอดเลือดหัวใจตีบ อาจให้ทำบอลลูนขยายหลอดเลือดหรือในกรณีที่มีอาการมาก ต้องผ่าตัดหัวใจทำบายพาส
การทำบอลลูน คือ การสอดท่อที่มีบอลลูนเข้าไปในหลอดเลือดหัวใจเพื่อเบียดให้ไขมันแบนลงไปติดที่ผนังหลอดเลือดหรือกล่าวอีกนัยหนึ่งคือ ไขมันในหลอดเลือดยังมีมากเท่าเดิมเพียงแต่ถูกเบียดให้แขนลงเท่านั้น หลอดเลือดของผู้ป่วยจึงมักจะกลับมาตีบใหม่ภายใน 3-6 เดือน ต้องทำบอลลูน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้ป่วยที่มีไขมันในเลือดสูง เบาหวาน ความดันสูง โรคไต โอกาสมาตีบใหม่ก็จะเร็วขึ้น
การแพทย์จีนมีวิธีบำบัดอย่างไร
หลักการวินิจฉัยอันสำคัญ คือ ปวดแสดงว่าไม่โล่ง โล่งแล้วก็จะไม่ปวด ไม่โล่ง หมายถึง หลอดเลือดและเส้นลมปราณมีการติดขัดและสะดุด ทำให้เลือดและพลังชี่ไหลเวียนไม่สะดวก จนเกิดอาการปวดหรือเจ็บนั่นเอง การแพทย์จีนจึงใช้สมุนไพรที่มีสรรพคุณในการทำความสะอาดหลอดเลือดและเส้นลมปราณ เพื่อบำบัดอาการต่างๆ ของโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ
วิธีการบำบัดนี้ยังเหมาะกับผู้เป็นเบาหวาน ความดันสูง โรคไขมันในเลือดสูง อัมพฤกษ์ อัมพาต ไขมันพอกตับ เนื่องจากโรคเหล่านี้ล้วนเกิดจากสาเหตุที่คล้ายคลึงกันและมีความสัมพันธ์เป็นลูกโซ่ ทั้งยังเพิ่มความรุนแรงซึ่งกันและกัน เรามักจะพบโรคดังกล่าวอยู่ในคนๆ เดียวกัน จึงไม่ต้องแปลกใจเลยว่าทำไมการแพทย์จีนจึงให้หลักการและวิธีรักษาคล้ายๆ กันกับผู้ป่วยกลุ่มนี้ ทั้งๆ ที่แต่ละโรคดูไม่เหมือนกันเลย
วิธีแก้ไขโรคลิ่มเลือดอุดตันคือ พยายามทำให้หลอดเลือดสะอาดขึ้น เลือดจะได้ไหลเวียนได้สะดวก
– การแพทย์แผนไทยแนะนำให้ทานกระเทียม จะเป็นสดหรือเม็ดแคปซูลได้ทั้งนั้น กระเทียมช่วย ให้หลอดเลือดยืดหยุ่นได้ดี ลดความดัน รักษาแผลในหลอดเลือดได้ ที่คลินิกจะแนะนำให้ทาน น้ำมันมะพร้าว 1 ช้อนโต๊ะ และ กระเทียม 1 เม็ดแคปซูลก่อนอาหารเช้าและเที่ยง 20 นาทีช่วยรักษาความสะอาดในหลอดเลือดได้ดี
– ทานอาหารหรือยาที่เป็นธาตุน้ำ (น้ำช่วยให้ดินอ่อนนิ่มลง) เข้าสู่ร่างกายให้หลอดเลือดที่แข็งมีสภาพดีขึ้นไม่เกิดแผลจนตีบตันง่ายๆ เช่น ตำรับยาตรีผลา (สมอไทย สมอพิเภก มะขามป้อม) หรือ ตำรับยาจตุผลาธิกะ (มะขามป้อม สมอไทย สมอเทศ สมอพิเภก) เดี๋ยวนี้หาได้ไม่ยากมีหมักเป็นยาสำเร็จรูปจำหน่ายแล้ว
– นวดเท้าสัปดาห์ละครั้ง เพื่อช่วยให้เลือดไหลเวียนได้สะดวกไม่ติดขัดจนปัญหาบานปลายเป็นหลอดเลือดอุดตัน
– ออกกำลังกายเบาๆ อย่างต่อเนื่อง เพื่อฝึกให้กล้ามเนื้อหัวใจและกล้ามเนื้อหลอดเลือดแข็งแรงยืดหยุ่นได้ดี
– ลดอาหารไขมันสูงและขนมหวานลงบ้าง เช่น ชาเย็น นมเย็น กาแฟเย็น ไอศกรีม ใช้วิธีป้องกันดีกว่าการแก้ไขปัญหาที่ปลายเหตุ นอกจากจะทำให้หลอดเลือดไม่อุดตันง่ายๆ แล้วยังช่วยให้รู้สึกสดชื่นไม่ง่วงเหงา หาวนอนบ่อยๆ ขณะทำงานอีกด้วย ใช้วิธีป้องกันดีกว่าการแก้ไขปัญหาที่ปลายเหตุ นอกจากจะทำให้หลอดเลือดไม่อุดตันง่ายๆ แล้วยังช่วยให้รู้สึกสดชื่นไม่ง่วงเหงา หาวนอนบ่อยๆ ขณะทำงานอีกด้วย
– ทานอาหารหรือยาที่เป็นธาตุน้ำ (น้ำช่วยให้ดินอ่อนนิ่มลง) เข้าสู่ร่างกายให้หลอดเลือดที่แข็งมีสภาพดีขึ้นไม่เกิดแผลจนตีบตันง่ายๆ เช่น ตำรับยาตรีผลา (สมอไทย สมอพิเภก มะขามป้อม) หรือ ตำรับยาจตุผลาธิกะ (มะขามป้อม สมอไทย สมอเทศ สมอพิเภก) เดี๋ยวนี้หาได้ไม่ยากมีหมักเป็นยาสำเร็จรูปจำหน่ายแล้ว
– นวดเท้าสัปดาห์ละครั้ง เพื่อช่วยให้เลือดไหลเวียนได้สะดวกไม่ติดขัดจนปัญหาบานปลายเป็นหลอดเลือดอุดตัน
– ออกกำลังกายเบาๆ อย่างต่อเนื่อง เพื่อฝึกให้กล้ามเนื้อหัวใจและกล้ามเนื้อหลอดเลือดแข็งแรงยืดหยุ่นได้ดี
– ลดอาหารไขมันสูงและขนมหวานลงบ้าง เช่น ชาเย็น นมเย็น กาแฟเย็น ไอศกรีม ใช้วิธีป้องกันดีกว่าการแก้ไขปัญหาที่ปลายเหตุ นอกจากจะทำให้หลอดเลือดไม่อุดตันง่ายๆ แล้วยังช่วยให้รู้สึกสดชื่นไม่ง่วงเหงา หาวนอนบ่อยๆ ขณะทำงานอีกด้วย ใช้วิธีป้องกันดีกว่าการแก้ไขปัญหาที่ปลายเหตุ นอกจากจะทำให้หลอดเลือดไม่อุดตันง่ายๆ แล้วยังช่วยให้รู้สึกสดชื่นไม่ง่วงเหงา หาวนอนบ่อยๆ ขณะทำงานอีกด้วย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น