ลักษณะสมุนไพรที่ใช้ในการในการอบนั้น แบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม
กลุ่มที่ 1 สมุนไพรที่มีกลิ่นหอม กลุ่มนี้มีสารสำคัญที่ออกฤทธิ์เป็นน้ำมันหอมระเหย ซึ่งจะช่วยรักษาโรคต่างๆ เช่นโรคผิวหนัง ปวดเมื่อย หวัดคัดจมูก ตัวอย่างสมุนไพรเช่น ไพล ขมิ้นชัน
กลุ่มที่ 2 สมุนไพรที่มีรสเปรี้ยว กลุ่มนี้มีฤทธิ์เป็นกรดอ่อนๆซึ่งจะช่วยชะล้างสิ่งสกปรก และเพื่อมความต้านทานโรคให้กับผิวหนัง ตัวอย่างเช่น ใบมะขาม ใบและฝักส้มป่อย
กลุ่มที่ 3 เป็นสารประกอบที่ระเหิดได้เมื่อถูกความร้อนและมีกลิ่นหอม เช่นการบูร พิมเสน
กลุ่มที่ 4 สมุนไพรที่ใช้รักษาเฉพาะโรค เช่นรักษาโรคผิวหนัง ผื่นคัน จะต้องใช่เหงือกปลาหมอเป็นต้น
อย่างไรก็ตาม ก่อนที่จะอบสมุนไพร เราทำความรู้จักสรรพคุณของสมุนไพรแต่ละตัวกันก่อนสักเล็กน้อย เพื่อที่เราจะเลือกสมุนไพรมาอบให้ถูกกับความต้องการ เช่น “ไพล” แก้อาการปวดเมื่อย ครั่นเนื้อครั่นตัว “ขมิ้นชัน” แก้โรคผิวหนังสมานแผล “กระชาย” แก้ปากเปื่อย ปากแตกเป็นแผล ใจสั่น “ตะไคร้” ดับกลิ่นคาว บำรุงธาตุไฟ “ใบมะขาม” แก่อาการคันตามร่างกาย “ใบเปล้าใหญ่” ช่วยถอนผิดสำแดง บำรุงผิวพรรณ "ใบ-ลูกมะกรูด" แก้ลมวิงเวียน ช่วยระบบทางเดินหายใจ “ใบหนาด” แก้โรคผิวหนัง พุพองน้ำเหลืองเสีย “ใบส้มป่อย” แก้หวัด แก้ปวดเมื่อย “ว่านน้ำ” ช่วยขับเหงื่อ แก้ไข้ “พิมเสน การบูร” บำรุงหัวใจ รักษาโรคผิวหนัง “เหงือกปลาหมอ” แก้โรคผิวหนัง พุพองน้ำเหลืองเสีย “ชะลูด” แก้ร้อนในกระสับกระส่าย ดีพิการ “กระวาน” แก้เจ็บตา ตาแฉะ ตามัว และ “เกสรทั้ง 5” ช่วยระบบทางเดินหายใจ เป็นต้น
ทั้งนี้ โรคทุกไม่สามารถรักษาด้วยสมุนไพรได้หมด แต่โรคและอาการที่เหมาะแก่การรักษาด้วยการอบสมุนไพร ได้แก่ โรคภูมิแพ้ โรคหอบหืด ในระยะอาการที่ไม่รุนแรง เป็นหวัด น้ำมูกไหล โรคที่ไม่ได้เป็นการเจ็บเฉพาะที่ หรือเป็นเฉพาะที่มีหลายตำแหน่ง เช่นอำมพาต ปวดเมื่อยตามร่างกาย หรือาการบางอย่าง เช่น ยอก โรคเรื้อรังต่างๆ เช่นโรคเบาหวาน โรคเกาต์ ซึ่งโรคเหล่านี้อาจจะต้องใช้การอบสมุนไพรร่วมกับการรักษาอื่นๆ ตามความเหมาะสม อย่างเช่น หัตเวชกรรม ประคบสมุนไพร นอกจากนี้การอบสมุนไพรยังช่วยในเรื่องของสุขภาพแม่หลังคลอดบุตรด้วย
แต่สิ่งที่สำคัญก็คือ การอบสมุนไพรยังมีข้อควรระวังอยู่ โดยข้อห้ามสำหรับการอบสมุนไพร มีทั้งหมด 7 ข้อ คือ
1.ไม่ควรทำการอบสมุนไพรขณะมีไข้สูง (มากกว่า 38 องศาเซลเซียส) เพราะอาจมีการติดเชื้อ
2.ผู้ที่เป็นโรคติดต่อร้ายแรงทุกชนิด
3.มีโรคประจำตัว ได้แก่ โรคไต โรคหัวใจ โรคลมชัก โรคหอบหืดระยะรุนแรง โรคติดเชื้อระบบทางเดินหายใจที่รุนแรง ในรายที่มีความดันโลหิตสูง 180 มิลลิเมตรปรอท สามารถอบได้ตามดุลยพินิจของแพทย์แต่ต้องได้รับการดูแลอย่างไกล้ชิด
4.ผู้หญิงที่มีประจำเดือน ร่วมกับมีอาการไข้ร่วมด้วย
5.มีการอักเสบจากบาดแผลต่างๆ
6.อ่อนเพลีย อดนอน อดอาหาร หรือหลังรับประทานอาหารใหม่ๆ
และ 7.ปวดศีรษะชนิดรุนแรง คลื่นไส้
หากคุณผ่านฉลุยสำหรับข้อห้ามในการอบสมุนไพร ก็ลงมืออบสมุนไพรได้เลย ซึ่งมีขั้นตอนดังต่อไปนี้ 1.อาบน้ำ เพื่อชำระสิ่งสกปรกที่อาจติดอยู่ตามรูขุมขน และเพื่อเป็นการเตรียมเส้นเลือดให้พร้อมต่อการยืดขยายและหดตัว แล้วแต่งกายด้วยเสื้อผ้าน้อยชิ้น 2.เข้าอบตัวในห้องสมุนไพรที่มีการควบคุมอุณหภูมิให้อยู่ระหว่าง 42-45 องศาเซลเซียส ใช้เวลาในการอบ 30 นาที โดยอบสองครั้ง ครั้งละ 15 นาที และออกมาพัก 3-5 นาที พร้อมทั้งดื่มน้ำทดแทนแต่ไม่ควรเป็นน้ำเย็นจัด สำหรับบุคคลที่ไม่เคยอบควรจะให้อบ ครั้งละ 10 นาที 3 ครั้ง และ 3.หลังการอบสมุนไพรแล้วไม่ควรอาบน้ำทันทีให้นั่งพัก 3-5 นาทีหรือจนเหงื่อแห้งแล้งจึงอาบน้ำอีกครั้งเพื่อชำระคราบเหงื่อไคลและสมุนไพร และช่วยให้เส้นเลือกหดตัวลงเป็นปกติ เท่านี้คุณก็สามารถอบสมุนไพรได้อย่างปลอดภัย ช่วยให้ร่างกายสบาย ได้รับสรรพคุณต่างๆ จากสมุนไพรอย่างเต็มที่
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น