วันอังคารที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2558

คัมภีร์ เปลี่ยนเส้นเอ็น ของ ปรมาจารย์ ตั๊กม้อ (3) เคล็ดวิชา 16 ประการ

1. ส่วนบนปล่อยให้ว่าง
2. ส่วนล่างควรให้แน่น
3. ศีรษะให้แขวนลอย (มองตรงไม่ก้มไม่เงยหน้า)
4. ปากปล่อยให้เงียบสงบตามปกติ
5. ทรวงอกเหมือนปุยฝ้าย (ปล่อยตามสบายไม่เกร็ง)
6. หลังยืดตรงให้ตระหง่าน
7. บั้นเอวตั้งตรงเป็นแกนเพลา
8. ลำแขนแกว่งไกว
9. ข้อศอกปล่อยให้ลดต่ำตามธรรมชาติ
10. ข้อมือปล่อยให้หนักหน่วง
11. สองมือพายไปตามจังหวัดแกว่งแขน
12. ช่วงท้องปล่อยตามสบาย
13. ช่วงขาผ่อนคลายืนตรงตามธรรมชาติ
14. บั้นท้ายควรให้งอนขึ้นเล็กน้อย
15. ส้นเท้ายืนถ่วงน้ำหนักเสมือนก้อนหิน
16. ปลายนิ้วเท้าทั้ง ข้างต้องงอจิกแน่นกับพื้น 
คำอธิบายเคล็ดวิชา 16 ประการ ของกายบริหารแกว่งแขน
1. ส่วนบนปล่อยให้ว่าง หมายถึง ส่วนบนของร่างกาย คือ ศีรษะ ควรปล่อยให้ว่างเปล่า อย่าคิดฟุ้งซ่าน มีสมาธิแน่วแน่ ควรทำอย่างตั้งอกตั้งใจมีสติ
2. ส่วนล่างควรให้แน่น หมายถึง ส่วนล่างของร่างกายใต้บั้นเอวลงไป ต้องให้ลมปราณสามารถเดินได้สะดวก เพื่อให้เกิดพลังสมบูรณ์ ฉะนั้นคำว่า ส่วนบนว่าง ส่วนล่างแน่น” จึงเป็นหลักสำคัญอย่างยิ่งในการบริหารแกว่งแขน ขณะทำกายบริหารหากไม่สามารถข้าถึงจุดนี้ได้แล้ว ก็จะทำให้ได้ผลน้อยลงไปมากทีเดียว
3. ศีรษะให้แขวนลอย หมายถึง ศีรษะของท่าต้องปล่อยสบาย ๆ ประหนึ่งว่ากำลังแขวนลอยไว้ในอากาศ กล้ามเนื้อบริเวณลำคอ จะต้องปล่อยให้ผ่อนคลายไม่เร็ง ไม่ควรโน้มศีรษะไปข้างหน้า หรือหงายไปข้างหลัง หรือเอียงไปข้าง ๆ ต้องมองตรงไม่ก้มไม่เงยหน้า
4. ปากปล่อยให้เงียบสงบตามปกติ หมายถึง ไม่ควรหุบปากแน่น หรืออ้าปากไปตามจังหวะที่ออกแรงแกว่งแขนไม่ควรให้ปากอ้าตามใจชอบ ให้หุบปากเพียงเล็กน้อยโดยผ่อนคลายกล้ามเนื้อคือ ไม่เม้มริมฝีปากจนแน่น
5. ทรวงอกเหมือนปุยฝ้าย คือกล้ามเนื้อทุกส่วนบนทรวงอกต้องให้ผ่อนคลายเป็นธรรมชาติ เมื่อกล้ามเนื้อไม่เกร็งก็จะอ่อนนุ่มเหมือนปุยฝ้าย
6. หลังยืดตรงให้ตระหง่าน หมายความว่าไม่แอ่นหน้าแอ่นหลัง หรือก้มตัวจนหลังโก่ง ต้องปล่อยแผนหลังให้ยืดตรงตามธรรมชาติ
7. บั้นเอวตั้งตรงเป็นแกนเพลา หมายถึง บั้นเอวต้องให้เหมือนเพลารถ ต้องให้อยู่ในลักษณะตรง
8. ลำแขนแกว่งไกว หมายถึง แกว่งแขนทั้งสองข้างไปมา ได้จังหวะอย่างสม่ำเสมอ
9. ข้อศอกปล่อยให้ลดต่ำตามธรรมชาติ หมายถึง ขณะที่แกว่งแขนทั้ง ข้าง ไปข้างหน้าและข้างหลังนั้น อย่าให้แขนแข็งทื่อ ควรให้ข้อศอกงอเล็กน้อยตามธรรมชาติ
10. ข้อมือปล่อยให้หนักหน่วง หมายถึง ขณะที่แกว่งแขนทั้ง ข้างนั้น ควรผ่อนคลายกล้ามเนื้อที่ข้อมือ เมื่อไม่เกร็งแล้วจะรู้สึกคล้ายมือหนักเหมือนเป็นลูกตุ้มถ่วงอยู่ปลายแขน
11. สองมือพายไปตามจังหวะแกว่งแขน หมายถึง ขณะที่แกว่งแขนนั้นฝ่ามือด้านในหันไปด้านหลัง ทำท่าคล้ายกำลังพายเรือ
12. ช่วงท้องปล่อยตามสบาย หมายถึง เมื่อกล้ามเนื้อบริเวณช่องท้องถูกปล่อยให้ผ่อนคลายแล้วจะรู้สึกว่าแข็งแกร่งขึ้น 
13. ช่วงขาผ่อนคลาย หมายถึง ขณะที่ยืนให้เท้าทั้งสองแยกห่างกันนั้นควรผ่อนคลายกล้ามเนื้อที่ช่วงขา
14. บั้นท้าย ควรให้งอนขึ้นเล็กน้อย หมายถึง ระหว่างทำกายบริหารนั้น ต้องหดกันคือ ขมิบทวารหนัก คล้ายยกสูงให้หดหายเข้าไปใน ลำไส้
15. ส้นเท้ายืนถ่วงน้ำหนักเสมือนก้อนหิน หมายถึง การยืนด้วยส้นเท้าที่มั่นคงยึดแน่นเหมือนก้อนหินไม่มีการสั่นคลอน
16. ปลายนิ้วเท้าทั้ง ข้างต้องงอจิกแน่นกับพื้น หมายถึง ขณะที่ยืนนั้นปลายนิ้วเท้าทั้ง ข้างต้องงอจิกแน่นกับพื้นเพื่อยึดให้มั่นคง 
เคล็ดลับพิเศษของกายบริหารแกว่งแขน
          ข้อพิเศษของกายบริหารแกว่งแขนคือ บนสาม ล่างเจ็ด” ส่วนบน ว่างและเบา” เรียกว่าบนสาม” แต่ส่วนล่างแน่นและหนัก เรียกว่า ล่างเจ็ด” การเคลื่อนไหวอ่อนโยนละมุนละไม ตั้งจิตให้เป็นสมาธิ แล้วจึงแกว่งแขนทั้งสองข้าง ด้วยเคล็ดลับพิเศษนี้แหละ ที่จะช่วยให้ผู้ที่มีร่างกายอ่อนแอเพราะส่วนบนแข้งแรงแต่ส่วนล่างอ่อนแอ ให้สามารถปรับเปลี่ยนไปเป็นผู้ที่มีส่วนล่างแข็งแรงและส่วนบนกระชุมกระชวย อันเป็นลักษณะที่ถูกต้องซึ่งจะทำให้โรคภัยทั้งหายในร่างกายถูกขจัดออกไปเองจนหมด
อธิบายเคล็ดลับพิเศษ
          คำว่า บนสาม ล่างเจ็ด” หมายถึง อัตราส่วนเปรียบเทียบการออกแรงมากและน้อย บน” คือส่วนบนของร่างกาย หมายถึง มือ ล่าง” คือ ส่วนบ่างของร่างกาย หมายถึง เท้า
สาม” หมายถึง ใช้แรงสามส่วน เจ็ด” หมายถึง ใช้แรงเจ็ดส่วน เคล็ดวิชาคำว่า บนสาม ล่างเจ็ด” มีความหมาย ประการ คือ
ประการที่ 1
          ในการออกแรงแกว่งแขน หมายถึง เวลาแกว่งแขนขึ้นข้างบน ใช้แรงเพียงสามส่วน เวลาแกว่งแขนลงต่ำมาล่าง ใช้แรงเจ็ดส่วน 
ประการที่ 2
          ในการออกแรงทั้งตัว หมายถึง ถ้านับกันทั้งตัวการออกแรงก็มีอัตราส่วนเปรียบเทียบ คือ บน : ล่าง เท่ากับ 3 : 7 (บนต่อล่าง เท่ากับสามต่อเจ็ดคือแกว่งแขนไปข้างหน้านั้น จะเบาหรือแรงก็ตาม แต่มือจะต้องให้ได้ส่วนกับเท้า ในอัตราความแรง ต่อ อยู่ตลอดเวลา ดังนั้นหากแกว่งมือแรง เท้าก็ต้องอกแรงยิ่งกว่านั้น นี่คือความหมายที่กล่าวไว้ว่า ส่วนบนว่าง ส่วนล่างเบา” หรือ บนสามบ่างเจ็ด” ถ้าแขนออกแรงแต่เท้าไม่ออกแรงเป็นการบริหารที่ไม่สมบูรณ์แบบ คือรู้จักใช้แต่แขนลืมใช้เท้า กรณีนี้จะทำให้ยืนได้ไม่มั่นคง ทำให้รู้สึกคล้าย จะหงายหลังล้ม การที่ไม่ต้องการให้ออกแรง มิใช่ว่าจะปล่อยเลยทีเดียว การที่ให้ออกแรงก็มิใช่ว่าให้ออกแรงจนสุดแรงเกิด การปล่อยให้ผ่อนคลายทั้งร่างกายโดยไม่ออกแรงเลยจนนิดเดียวก็จะไม่ได้ผล เพราะผิดหลัก ผิดอยู่ที่อัตราส่วนเนื่องจากแรงที่เท้าน้อยไป คือ ออกแรงเท้าเท่ากับส่วนบนนั่นเอง หรือหากแขนจะออกแรงมากไปสักหน่อยก็จะกลับตาละปัตร กลายเป็นว่าส่วนล่างว่างส่วนบนแน่น
          การแกว่างแขน ข้อสำคัญต้องระวังที่แขนให้มาก เมื่อต้องการให้ออกแรงก็มักจะคิดแต่การออกแรงที่แขน ลืมไปว่ายังมีเท้า ยังมีเอวที่จะต้องมีส่วนช่วยการเคลื่อนไหวเหมือนกัน การเคลื่อนไหวออกแรงของเท้าและเอวนี้สำคัญมากกว่าแขนเสียอีก การที่กล่าวเช่นนี้บางท่านอาจไม่เข้าใจ หากเคยฝึกมวยจีน ไทเก็กหรือศึกษาหลักการแพทย์จีนสมัยโบราณเกี่ยวกับเส้นเอ็นและชีพจนแล้วก็จะเข้าใจได้ไม่ยากนัก แขนที่แกว่งนั้นจะแกว่งไปจากเอวของเรา แต่รากฐานของเอวอยู่ที่เท้าเมื่อเป็นเช่นนี้หากส่วนบน (แขนออกแรงแกว่งสะบัด แต่ส่วนล่าง (เท้าไม่ออกแรงยึดเกาะพื้นไว้ ให้มั่นคงเราก็จะเสียการทรงตัว ขาดความสมดุลกัน ผู้ที่ป่วยเป็นโรคเรื้อรัง จำนวนไม่น้อย ก็เพราะเลือดลมขาดความสมดุล เป็นอัมพาตก็เพราะเลือดลมขาดความสมดุลเช่นกัน ความดีเด่นของการแกว่งแขนที่ปรากฏออกมาให้เห็นชัดก็คือ สามารถช่วยแก้ไขและปรับความไม่สมดุลต่าง ๆ ของร่างกายนั่นเอง
          เมื่อเราจะแก้ไขและปรับความสมดุลของร่างกายแล้ว ทำไมจะต้องออกกำลังเท้าด้วย ทั้งนี้ก็เพราะว่าที่ฝ่าเท้าของคนเรามีจุด ซึ่งทางแพทย์จีนเรียกว่า จุดน้ำพุ” จุดนี้ติดต่อไปถึงไต หากหัวใจเต้นแรงหรือนอนไม่หลับ ถ้าทำการบีบนวด ตรงจุดน้ำพุนี้ก็สามารถ ทำให้ประสาทสงบ ช่วยรักษาโรคนอนไม่หลับได้ ตามตำรายังกล่าวไว้ว่า ที่ฝ่าเท้ามีจุดอีกหลายจุด เกี่ยวโยงไปถึง อวัยวะภายในของคนเรา” เมื่อเราทราบตำแหน่งของจุดนั้น ๆ แล้วก็จะสามารถรักษาโรคซึ่งเกิดกับอวัยวะเหล่านั้นได้เช่นกัน ดังนั้นการออกกำลังโดยวิธีแกว่งแขนก็คือการปรับร่างกายให้สมดุล ซึ่งเป็น การบำบัดรักษาโรคนั่นเอง
          การที่มีคำกล่าวว่า โรคร้อยแปดอาจรักษาให้หายได้ด้วยเข็มเพียงเล่มเดียว” หลายคนคิดว่าออกจะเป็นการอวดอ้างเกินความจริง แต่สำหรับผู้ที่มีความรู้แตกฉานในวิธีฝังเข็มรักษาโรคย่อมได้ประจักษ์แจ้งความจริงด้วยตนเองแล้ว ฉะนั้นการที่จะกล่าวว่า การแกว่งแขน สามารถรักษาโรคได้ร้อยแปดนั้น จึงพูดได้ว่าไม่ใช่เป็นการอวดอ้างเกินความจริงแน่ เพราะวิชากายบริหารแกว่งแขนนี้ ถือได้ว่าเป็นสิ่งมหัศจรรย์ ในตัวเองอยู่แล้ว 
          เคล็ดวิชาทั้ง 16 ประการ และเคล็ดลับพิเศษในการบริหารแกว่งแขน ดังได้อธิบายมาทั้งหมดนี้ ขอให้ทุกท่านอ่านทบทวน จนเข้าใจแจ่มแจ้งดีแล้ว จึงลงมือปฏิบัติ จะทำให้ได้รับผลยอดเยี่ยมครบสมบูรณ์ 
หลักสำคัญพื้นฐานของกายบริหารแกว่งแขน
1. ยืนตรง เท้าทั้งสองข้างแยกออกจากกันให้มีระยะห่างเท่ากับช่วงไหล (ภาพประกอบที่ 1)
ภาพประกอบที่ 1
2. ปล่อยมือทั้ง ข้างลงตามธรรมชาติ อย่างเกร็งให้นิ้วมือชิดกัน หันอุ้งมือไปข้างหน้า (ภาพประกอบที่ 2) 3. ท้องน้อยหดเข้า เอวตั้งตรง เหยียดหลัง ผ่อนคลายกระดูกลำคอ ศีรษะและปากควรปล่อยไปตามสภาพธรรมชาติ (ภาพประกอบ 2)
เอวเป็นแกนเพลา ภาพประกอบที่ 2
จิกปลายนิ้วเท้ายึดเกาะพื้น ส่วนส้นเท้าก็ให้ออกแรกเหยียบลงพื้นให้แน่น ให้แรงจนรู้สึกว่ากล้ามเนื้อที่โคนเท้าและท้องตึง ๆ เป็นใช้ได้ (ภาพประกอบที่ 3)
ภาพประกอบที่ 3
5. สายตาทั้ง ข้าง ควรมองตรงไปยังจุดใดจุดหนึ่งแล้วมองอยู่ที่เป้าหมายนั้นจุดเดียว สลัดความกังวลหรือความนึกคิดฟุ้งซ่านต่าง ๆ ออกให้หมด ให้จุดสนใจความรู้สึกมารวมอยู่ที่เท้าเท่านั้น 6.การแกว่งแขน ยกมือแกว่งแขนไปข้างหน้าอย่างเบา ๆ ซึ่งตรงกับคำว่า ว่างและเบา” แกว่งแขนไปข้างหน้าไม่ต้องออกแรง ความสูงของแขนที่แกว่งไปพยายามให้อยู่ระดับที่เป็นไปตามธรรมชาติ ไม่ต้องฝืนให้สูงเกินไป คือ ให้ทำมุมกับลำตัวประมาณ 30 องศา แล้วตั้งสมาธินับ หนึ่ง… สองสาม… ไปเรื่อย ๆ ในขณะเดียวกันก็ต้องระวังอย่าลืมออกแรงส้นเท้าและลำแขนด้วย เมื่อมือห้อยตรงแล้ว แกว่งขึ้นไปข้างหลังต้องออกแรงหน่อย ตรงกับคำว่า แน่นหรือหนัก” แกว่งจนรู้สึกว่ากล้ามเนื้อไม่ยอมให้มือสูงไปกว่านั้นอีก เวลาแกว่งแขนกลับให้มีความสูงของแขนถึงลำตัวประมาณ 60องศา (ภาพประกอบที่ 4)
บนสาม คือว่าง และเปล่า ล่างเจ็ด คือ แน่นและหนัก 
ภาพประกอบที่ 4
สรุป แล้วก็คือ
      ขณะที่แกว่งแขนไปข้างหลังให้ออกแรงมากหน่อย ส่วนแกว่งไปข้างหน้าไม่ต้องออกแรง คือใช้แรงเหวี่ยงให้กลับไปเอง ก่อนการทำกายบริหารแกว่งแขน ควรแต่งกายด้วยเสื้อผ้าที่ไม่คับหรือรัดแน่นเกินไป สะบัดแขน มือ เท้าสักครู่ให้กล้ามเนื้อและร่างกายผ่อนคลาย หมุนศีรษะไปมาแล้วจัดลักษณะท่าทางให้ถูกต้อง 
การทำกายบริหารแกว่งแขนมีวิธีนับอย่างไร
      การแกว่งแขนนับโดยเริ่มออกแรงแกว่งไปข้างหลังแล้วให้แขนเหวี่ยงกลับมาข้างหน้าเองนับเป็น ครั้ง แล้วนับสอง… สามไปเรื่อย ๆ จนกว่าจะครบตามจำนวนที่เรากำหนดไว้ การแกว่งแขนแต่ละครั้งควรใช้เวลานานเท่าไร เริ่มแรกที่ทำกายบริหารควรทำตั้งแต่ 200 – 300 ครั้งก่อนแล้วค่อย ๆ เพิ่มจำนวนขึ้นครั้งละ 100 ตามลำดับจนกระทั่งถึง 1000 – 2000 ครั้ง ซึ่งจะใช้เวลาในการบริหารประมาณครั้ง 30 นาที (แกว่ง 500 ครั้งใช้เวลาประมาณ 10 นาที)
การแกว่งแขนควรทำเวลาไหน
      การทำกายบริหารแกว่งแขน สามารถทำได้ทุกเวลา คือ เวลาเช้า กลางวัน และเวลาค่ำ หรือแม้แต่ยามว่างสัก 10 นาที ก็สามารถทำได้ หากรับประทานอาหารอิ่มใหม่ ๆ ควรนั่งพักเสียก่อนสัก30 นาที แล้วจึงค่อยทำกายบริหาร 
การแกว่งแขนควรทำที่ไหน
      การทำกายบริหารแกว่งแขนนี้ไม่จำกัดสถานที่ สามารถทำได้ในที่ทำงาน ในบ้าน ฯลฯ แต่ถ้าเป็นไปได้ควรทำในที่โล่งซึ่งมีอากาศถ่ายเทสะดวก เช่น ในสวน ใต้ต้นไม้ จะเป็นการดีมากหากผู้ปฏิบัติสามารถยืนอยู่บนพื้นดิน หรือสนามหญ้า และที่สำคัญขนะทำกายบริหาแกว่งแขตต้องถอดรองเท้าเสมอ ในหนังสือตำราแพทย์โบราณกล่าวว่า การที่เราได้มีโอกาส เดินด้วยเท้าเปล่า ไปบนพื้นหญ้าที่มีน้ำค้างในยามเช้าเกาะอยู่ นับเป็นผลดีอันวิเศษยิ่งเพราะฝ่าเท้าทั้งสองจะดูดซึมเอาธาตุต่าง ๆ จากน้ำค้างบนใบหญ้า เข้าไปบำรุงหล่อเลี้ยงร่างกาย ทำให้เรามีสุขภาพพลานามัยที่สมบูรณ์ยอดเยี่ยม
ข้อแนะนำ
      การแกว่งแขนต้องอาศัยความอดทน การแกว่งแขนแต่ละครั้งจะมากหรือน้อย ย่อมขึ้นอยู่กับร่างกายของแต่ละคน ว่าอ่อนแอ หรือแข็งแรงเพียงใด อย่าใจร้อน อย่าฝืน แต่ก็ไม่ใช่ทำตามสบายเพราะหากปล่อยตามใจชอบแล้ว ก็จะขาดความเชื่อมั่นต่อการออกกำลังกาย และจะไม่บังเกิดผลเมื่อเริ่มปฏิบัติอย่าออกแรงหักโหมมากเกินไปให้แกว่งไปตามปกติทำอย่างนิ่มนวล ไม่ใช่แกว่งอย่างเอาเป็นเอาตาย ควรทำจิตใจให้เป็นสมาธิ อย่าฟุ้งซ่าน ถ้าหากไม่มีสมาธิแล้วเลือดก็จะหมุนเวียนสับสนไม่เป็นระเบียบ ทำให้การปฏิบัติไม่สัมฤทธิ์ผลเท่าที่ควร การบริหารแกว่งแขนนี้เมื่อปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอเป็นประจำสามารบำบัดโรคร้ายแรงและเรื้อรังต่าง ๆ ให้หายได้ ส่วนผู้ที่มีร่างกายปกติ หากปฏิบัติเป็นประจำจะช่วยเสริมสร้างสุขภาพพลานามัยให้ดียิ่งขึ้น ช่วยให้อารมณ์แจ่มใสจิตใจเบิกบานและเป็นสุข หลังจากการทำกายบริหารแกว่งแขนแล้ว ควรเดินพักตามสบายเพื่อผ่อนคลายร่างกายและจิตใจ 


ข้อมูลจาก www.mindcyber.com

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น