เซลลูไลท์
เซลลูไลท์ หรือ เซลลูไลต์ (Cellulite) หรือที่บ้างเรียกว่า “ผิวเปลือกส้ม” คือ เซลล์ไขมันที่เคลื่อนตัวสูงขึ้นมาสะสมอยู่ชั้นใต้ผิวหนัง มีลักษณะขรุขระเป็นตะปุ่มตะป้ำคล้ายกับผิวเปลือกส้มหรือผิวมะกรูด มักพบได้บ่อยบริเวณต้นขา สะโพก ต้นแขน และหน้าท้อง บางคนขึ้นเป็นลอน ๆ เพราะมีไขมันสะสมเป็นก้อนผสมอยู่กับของเสียและน้ำปะปนอยู่ในถุงนั้น ซึ่งในแต่ละก้อนไขมันจะมีเปลือกเหนียว ๆ ห่อหุ้มอยู่ จึงทำให้มองจากภายนอกแล้วเห็นเป็นลอนของไขมัน โดยเซลลูไลท์จะแตกต่างจากไขมันธรรมดาในร่างกายที่เราสามารถกำจัดออกไปได้ง่าย ๆ ด้วยการออกกำลังกาย แต่เซลลูไลท์ไม่สามารถกำจัดออกได้ง่ายเช่นนั้น เพราะต้องอาศัยทั้งการนวดผิวหนังร่วมกับการบริการ การออกกำลังกาย และควบคุมอาหารร่วมด้วย จึงจะสามารถกำจัดเซลลูไลท์ออกไปอย่างได้ผล
ปัญหาเซลลูไลท์ ไม่ได้พบบ่อยเฉพาะกับคนอ้วนเพียงอย่างเดียว แต่ในผู้หญิงผอม ๆ บางคนก็ยังมีเซลลูไลท์ด้วยเช่นกัน ส่วนในผู้ชายนั้นจะมีไขมันน้อยกว่าผู้หญิง และส่วนใหญ่ก็เป็นกล้ามเนื้อ ปัญหาเซลลูไลท์จึงพบได้น้อยกว่าผู้หญิง ยกเว้นกับผู้ชายบางคนที่อ้วนมาก ๆ ก็มีเซลลูไลท์ได้เหมือนกัน ผู้หญิงที่มีอายุมากกว่า 20 ปี กว่าร้อยละ 90 มักจะเริ่มมีอาการสะสมของเซลลูไลท์ ส่วนปัจจัยทางพันธุกรรมและเชื้อชาติก็เป็นส่วนหนึ่ง อย่างคนยุโรปจะมีเซลลูไลท์มากกว่าคนเอเชีย
แบบไหนที่เรียกว่ามีเซลลูไลท์ ?
ให้คุณลองเช็คด้วยวิธีง่าย ๆ ด้วยการเอามือตับส่วนหน้าท้องออกมาดูสักครึ่งนิ้ว หรือหงายท้องแขนแล้วใช้มืออีกข้างจับดึงชั้นไขมันท้องแขนออกมาให้ตึง หากพบว่าผิวของเรามีลักษณะคล้ายผิวส้มหรือผิวมะกรูด ก็นั่นแหละคือ “เซลลูไลท์” หากปล่อยทิ้งไว้ นานวันเข้ามันก็จะเริ่มมองเห็นได้ชัดเจนขึ้นโดยไม่ต้องจับหรือบีบดู
ให้คุณลองเช็คด้วยวิธีง่าย ๆ ด้วยการเอามือตับส่วนหน้าท้องออกมาดูสักครึ่งนิ้ว หรือหงายท้องแขนแล้วใช้มืออีกข้างจับดึงชั้นไขมันท้องแขนออกมาให้ตึง หากพบว่าผิวของเรามีลักษณะคล้ายผิวส้มหรือผิวมะกรูด ก็นั่นแหละคือ “เซลลูไลท์” หากปล่อยทิ้งไว้ นานวันเข้ามันก็จะเริ่มมองเห็นได้ชัดเจนขึ้นโดยไม่ต้องจับหรือบีบดู
ประเภทของเซลลูไลท์
- Soft Cellulite เป็นเซลลูไลท์ที่พบได้บ่อยในผู้หญิงอายุ 20-30 ปี มีลักษณะเป็นก้อนขนาดเล็ก เป็นริ้วลูกคลื่นแบบนิ่ม สาเหตุส่วนใหญ่มักเกิดจากพันธุกรรม
- Hard Cellulite เป็นเซลลูไลท์ที่พบได้บ่อยในผู้หญิงอายุ 20-40 ปี มีลักษณะเป็นก้อนเล็กและแข็ง เมื่อบีบดูจะเห็นเป็นก้อนแข็งเล็ก ๆ อย่างชัดเจน พบได้บ่อยบริเวณบั้นท้ายและสะโพก
- Flaccid Cellulite เป็นเซลลูไลท์ที่มักพบได้ในผู้หญิงที่มีอายุมากกว่า 40 ปีขึ้นไปและไม่ค่อยได้ออกกำลังกาย ซึ่งจะลักษณะเป็นก้อนไขมันนุ่ม มีการหย่อนคล้อยของผิวหนังและกล้ามเนื้ออ่อนเหลว พบได้บ่อยบริเวณหน้าท้อง รอบเอว ท้องแขน และคาง
- Edmatous Cellulite เป็นเซลลูไลท์ที่มักได้กับผู้ที่มีการไหลเวียนของเลือดไม่ดี มีการคั่งของน้ำเหลือง จนทำให้มีลักษณะเหมือนการบวมน้ำ พอกดแล้วบุ๋ม พบได้บ่อยบริเวณสะโพก ต้นขา ซึ่งบริเวณที่เป็นนั้นจะมีผิวหนังบอบบางเห็นเส้นเลือดได้ชัดเจนและบวม
- Mixed Cellulite เป็นเซลลูไลท์ที่พบได้บ่อยที่สุด คือ ในคนเดียวกันจะมีเซลลูไลท์อยู่หลายแบบ ตั้งแต่ประเภทที่ 1-4 โดยมักพบในผู้หญิงที่แต่งงานแล้วและในวัยผู้ใหญ่ที่ไม่ได้ออกกำลังกาย หรือผู้ที่ชอบกินอาหารจำพวกไขมัน ของทอด น้ำตาล และแป้งมากจนเกินไป
พัฒนาการของเซลลูไลท์
- ระยะที่ 1 : เป็นระยะที่เริ่มจะมีพังผืดเกิดขึ้นแต่ยังไม่มาก ยังไม่สามารถสังเกตได้ทั้งจากการยืนหรือการนอน (ไม่เห็นเป็นผิวเปลือกส้ม) แต่เมื่อทดลองบีบเนื้อบริเวณนั้นดูจะปรากฏให้เห็นรอยบุ๋ม
- ระยะที่ 2 : เช่นเดียวกับระยะที่ 1 คือยังไม่สามารถเห็นรอยบุ๋มได้ แต่เมื่อทดลองบีบเนื้อขึ้นมาจะพบว่ามีรอยบุ๋มเพิ่มมากขึ้นกว่าระยะแรก
- ระยะที่ 3 : จะเริ่มสังเกตเห็นรอยของเซลลูไลท์ได้ชัดเจนในขณะยืน โดยไม่ต้องบีบดู แต่ในขณะนอนจะยังไม่สามารถเห็นรอยได้
- ระยะที่ 4 : สามารถเห็นผิวมีลักษระเป็นเปลือกส้มได้ทั้งหมดไม่ว่าจะยืนหรือนอน โดยไม่ต้องบีบดูแต่อย่างใด ระยะนี้จะเกิดการสะสมของเซลลูไลท์มาเป็นระยะเวลานานและรักษาได้ยากที่สุด
สาเหตุการเกิดเซลลูไลท์
ผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพเชื่อว่าเซลลูไลท์เกิดจากการสะสมของเสียในเนื้อเยื่อร่างกาย ส่วนแพทย์เชื่อว่าเซลลูไลท์นั้นเกิดจากการสะสมของไขมันในเซลล์ที่มีไขมันมาก โดยเซลลูไลท์จะเริ่มต้นด้วยการเกิดเป็นไขมันบาง ๆ ในบริเวณที่มีปัญหาเรื่องการไหลเวียนของเลือด เช่น บริเวณต้นขา บั้นท้าย และต้นแขน เมื่อนานวันเข้าไขมันเหล่านี้จะสะสมตัวกันแน่นขึ้นเป็นถุง มีน้ำ ไขมัน และของเสียอยู่ปนกันมากขึ้น จนขยายบริเวณกว้างขึ้นและทำให้โป่งออกเป็นถุง ๆ ซึ่งการสะสมไขมันนั้นก็เกิดได้จากหลายสาเหตุ โดยอาจจะเกิดจากสาเหตุเดียวหรือหลายสาเหตุร่วมกันก็ได้ คือ
- ไขมันส่วนที่เกิดจากการกินอาหาร ที่มีแป้ง ไขมัน รวมไปถึงผลไม้หวานจัดและน้ำตาลเข้าไป เมื่อร่างกายเผาผลาญหรือนำไปใช้ไม่หมดก็จะเกิดการเก็บสะสมไว้ในรูปของไขมัน เมื่อสะสมตัวมากเข้าก็จะกลายเป็นเซลลูไลท์ส่วนหนึ่งและทำให้ชั้นไขมันหนาขึ้น รูปร่างอ้วนด้วยอีกส่วนหนึ่ง
- ขาดการออกกำลังกาย การออกกำลังกายควรออกอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่องกันเป็นเวลา 30 นาที จะช่วยเร่งการเผาผลาญและกำจัดไขมันส่วนเกินออกไปได้ แต่การไม่ออกกำลังกายจะทำให้ระบบไหลเวียนในร่างกายทำงานได้ไม่ดี การกำจัดของเสียทางเลือดและน้ำเหลืองขัดข้องและคั่งค่าง และทำให้ฮอร์โมนไม่สมดุล จนกลายเป็นปัญหาต่อเนื่อง
- ลดความอ้วนอย่างรวดเร็ว จนส่งผลทำให้กลไกในร่างกายเกิดการตอบสนองว่าร่างกายเกิดการขาดสารอาหารและได้ทำการเก็บพลังงานเอาไว้ใช้ จนทำให้เกิดการสะสมของอาหารและไขมัน เมื่อไขมันส่วนเกินเหล่านี้ไม่ได้ถูกกำจัดออกไป ก็จะกลายเป็นเซลลูไลท์ขึ้นมา
- อยู่ในท่าเดียวนาน ๆ ไม่ว่าจะเป็นการนั่งนาน ๆ ยืนนาน ๆ หรืออยู่ในท่าเดียวเป็นระยะเวลานาน จะทำให้ระบบการไหลเวียนเลือดขัดข้อง การขับถ่ายของเสียทางเลือดและน้ำเหลืองไม่สะดวก นอกจากจะทำให้เกิดเซลลูไลท์แล้ว ยังอาจมีปัญหาเส้นเลือดขอดและเท้าบวมตามมาอีกด้วย
- ดื่มน้ำน้อยกว่าปกติ การดื่มน้ำให้มากพอจะช่วยหล่อเลี้ยงเซลล์ให้ทำงานได้ตามปกติ และน้ำยังเป็นส่วนหนึ่งของน้ำเลือดและน้ำเหลือง ที่จะช่วยให้การขับถ่ายของเสียนั้นเป็นไปอย่างปกติ
- การดื่มแอลกอฮอล์ การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์จะทำให้เซลล์สูญเสียน้ำ การกำจัดของเสียทำงานได้ไม่ดี และแอลกอฮอล์ยังเข้าไปทำลายเซลล์ตับ จนทำให้ตับขจัดสารพิษได้ไม่ดีอีกด้วย
- การสูบบุหรี่ ผู้ที่สูบบุหรี่จะมีแนวโน้มที่จะมีเซลลูไลท์มาก เพราะสารนิโคตินในบุหรี่จะไปอุดตันในเส้นเลือด ทำให้เส้นเลือดฝอยหดตัว และสารก่อมะเร็งชนิดอื่น ๆ ก็ยังเข้าไปทำลายเซลล์ ทำให้เนื้อเยื่อที่เชื่อมต่อกันถูกทำลาย เป็นผลให้เกิดคลื่นเซลลูไลท์ อีกทั้งบุหรี่ยังทำให้เกิดความผิดปกติของไตและปอดซึ่งเป็นอวัยวะในการขับถ่ายของเสีย
- ระบบเผาผลาญมีปัญหา อย่างบางคนกินอาหารน้อยแต่อ้วน เช่น ในคนที่อายุมากขึ้น หรือในโรคบางโรคก็มีส่วนทำให้ระบบเผาผลาญอาหารในร่างกายผิดปกติได้เช่นกัน เช่น โรคต่อมไทรอยด์ทำงานน้อย
- ความไม่สมดุลของระบบฮอร์โมนเอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรน โดยที่ฮอร์โมนเอสโตรเจนจะเป็นตัวกระตุ้นการสะสมของไขมันในร่างกาย ในผู้หญิงจะมีฮอร์โมนเอสโตรเจนมากกว่าผู้ชาย จึงทำให้ผู้หญิงมีไขมันมากกว่าผู้ชาย ส่วนฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนจะเป็นตัวทำลายระบบไหลเวียนของเลือดและน้ำเหลืองให้เสียไป จึงทำให้เกิดการสะสมของสารพิษและทำลายโครงสร้างผิวหนังให้หย่อนคล้อยเสียความยืดหยุ่น ผิวจึงเป็นก้อนไม่เรียบเนียน
- ความบกพร่องของระบบขับถ่ายของเสีย เมื่อร่างกายมีการขับถ่ายของเสียออกมาได้อย่างไม่ค่อยมีประสิทธิภาพ เช่น จากตับและไต ระบบการไหลเวียนของเลือดไม่ปกติ ของเสียที่สะสมไว้ในร่างกายเหล่านี้จะค่อย ๆ ก่อตัวเป็นเซลลูไลท์
- การตั้งครรภ์และภาวะหมดประจำเดือน จนทำให้เกิดความไม่สมดุลของระดับฮอร์โมนเอสโตรเจน
- ความเครียด อีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดเซลลูไลท์ เพราะความเครียดจะทำให้กล้ามเนื้อเกร็งตัว โดยเฉพาะกล้ามเนื้อบริเวณใบหน้า คอ บ่า ไหล่ และศีรษะ จนเกิดการสะสมของเสียในกล้ามเนื้อ ขัดขวางเนื้อเยื่อไม่ให้กำจัดของเสีย
- การสวมเสื้อผ้ารัดแน่น เช่น เสื้อนักศึกษาหญิงที่นิยมใส่จนรัดติ้ว ทำให้เคลื่อนไหวร่างกายได้น้อยลง และทำให้การไหลเวียนบริเวณผิวหนังลดลงด้วย
- เกิดจากยาบางชนิด เช่น การกินยาคุมกำเนิดแล้วทำให้เกิดความไม่สมดุลของระบบระดับฮอร์โมนเอสเตรโจน การกินยานอนหลับเข้าไปจนยาเข้าไปรบกวนการทำงานตามธรรมชาติ ทำให้ระบบแปรปรวน หรือการกินยาขับปัสสาวะจนทำให้ร่างกายขาดน้ำ เป็นต้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น