บล็อกนี้ ผู้เขียน เขียนจากประสบการณ์ตรง เพราะการต่อสู้กับ"สโตรค" ภัยร้ายที่ยืนอยู่หน้าบ้านคุณ มันพร้อมที่จะเคาะประตูมาเยือนคุณทุกเมื่อ มันคือโรค "เส้นเลือดในสมอง" ค่ะ มันอาจจะ "แตก ตีบ หรือตัน" แล้วแต่ใครเป็นมากหรือเป็นน้อย สาเหตุของโรคนี้ก็มีให้ศึกษาเยอะแยะ อาจจะเกิดจาก โรคความดันโลหิตสูง หรือเกิดจากความเครียด การดื่มแอลกอฮอล์มาก การพักผ่อนไม่เพียงพอ ( แนะนำให้อ่านจากเมนูต่าง ๆ ได้เลยค่ะ หรือจะไปคุยกันที่ กลุ่ม Facebook ก็เชิญที่กลุ่ม "สโตรค โรคเลือดในสมอง" ค่ะ
Living at Home After Stroke
- หน้าแรก
- Video about Fir infrared Sauna
- สุดยอดแม่พระ ดร. กฤษณา ไกรสินธุ์
- 🌷ข้อมูลที่มีประโยชน์
- คิดได้แบบนิรุตตื์ ก็สุดยอดแล้ว
- Workout video
- Resistance Band Workout
- 🌷"สโตรค" ของผู้เขียน
- นพ.บุญชัย อิศราพิสิษฐ์
- Travelling I nfo.
- You Are What You Eat
- 🌷คุยกัยผู้เขียน / Talk to the writer
- 🌹🌹🌹คิดถึงแม่
- หมอสมนึกมือทอง
- บทความโรคเลือดในสมอง
- Lost in myown Thoughts
- ❣️🌷บล็อกส่วนตัว ผู้เขียน
- คลิปมีประโยชน์
- 💖สุดยอดอาหารบำรุงสมอง
- 💖Facebook กลุ่ม สโตรค โรคเลือดในสมอง
- คุณรู้จักหมอสันต์หรือยัง
- ผ่าตัดโรคทางสมองโดยไม่ต้องเปิดกะโหลกศีรษะ
- Edit my stroke
- 🌹🌹สู้ดิวะ
วันพุธที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2557
อันตรายจากโรคระบาด
เป็นที่น่าห่วงว่า ในโลกสมัยใหม่ โรคชนิดใหม่ๆ เป็นอันตรายและรักษายากขึ้น โรคบางชนิดยังไม่มียารักษา โรคระบาดก็เช่นกัน ดูเหมือนว่ายิ่งวงการแพทย์พัฒนาไปมากเท่าใด โรคก็พัฒนาไปมากเท่านั้น ประเทศไทยในอดีต เราได้ผ่านจุดอันตรายมาแล้วในหลายยุคหลายสมัย ในประวัติศาสตร์ เราเคยต้องอพยพผู้คน ทิ้งเมือง ย้ายเมืองทั้งเมือง เพื่อหนีโรคร้าย
มีข่าวเล็กๆ แต่น่าเป็นห่วง ในสัปดาห์นี้ ที่พบว่า ในจังหวัดแม่ฮ่องสอน พบผู้ป่วยเป็นไข้เลือดออก 710 ราย มากที่สุดอำเภอเมืองแม่ฮ่องสอน 353 ราย อำเภอแม่สะเรียง 115 ราย อำเภอปาย 106 ราย อำเภอปางมะผ้า 65 ราย อำเภอสบเมย 35 ราย อำเภอขุนยวม 25 ราย และอำเภอแม่ลาน้อย 15 ราย รวมผู้ป่วยไข้เลือดออก 714 ราย และมีผู้เสียชีวิต 1 ราย
จังหวัดลำพูน มีผู้ป่วยสะสมไข้เลือดออก 512 ราย มีผู้เสียชีวิตแล้ว 1 ราย
สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดในจังหวัดปทุมธานี มีจำนวนผู้ป่วยที่เป็นโรคไข้เลือดออกแล้ว 438 ราย เสียชีวิตแล้ว 2 ราย อัตราการตาย 0.20 ต่อประชากรแสนคน และมีแนวโน้มที่จะมีผู้ป่วยเพิ่มขึ้นอีกจำนวนมากประกอบกับช่วงนี้เป็นช่วงฤดูฝนทำให้มีแหล่งพันธุ์ยุงลายเพิ่มขึ้น
จากข่าวที่กล่าวมายังระบุว่า จังหวัดลำพูน มีผู้ป่วยเป็นลำดับที่ 21 ของประเทศและเป็นลำดับที่ 5 ของ 8 จังหวัดภาคเหนือตอนบน ส่วนจังหวัดปทุมธานี มีผู้ป่วยติดอันดับเป็นอันดับที่ 64 ของประเทศ ล่าสุดที่นครราชสีมา พบผู้ป่วยกว่า 3,000 รายโดยไม่ระบุลำดับ
นั่นแสดงว่า ยังมีผู้ป่วยอีกจำนวนมาก ในจังหวัดต่างๆ ที่ไม่ตกเป็นข่าว
อย่างเช่นที่จังหวัดขอนแก่น มีข่าวนักศึกษาชั้นปีที่ 1 คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เสียชีวิตด้วยโรคไข้เลือดออก
ข่าวว่า ปัจจุบันไข้เลือดออกรุนแรงขึ้นและระบาดมาก มีการพยากรณ์ว่าปีนี้ประเทศไทยจะมีผู้ป่วยเพิ่มขึ้นจากปกติถึง 3 เท่า และมากที่สุดที่เคยมีมา สาเหตุจากการพัฒนาเชื้อของยุง ที่ปรับตัวตามสภาวะโลกร้อน อุณหภูมิที่สูงขึ้น ทำให้วงจรชีวิตยุงเร็วขึ้น
นอกจากนี้ ยังพบการแพร่ระบาดของโรคฉี่หนู ในจังหวัดระนอง พบโรคไทฟอยด์ (ซึ่งไม่พบมานานแล้ว) ในกลุ่มของชนเผ่าซาไก ในจังหวัดสตูล
เราจึงหวังว่า ภาคส่วนของกระทรวงสาธารณสุข รวมทั้งรัฐบาล จะต้องให้ความสำคัญในลำดับต้นๆ ทั้งการให้ข้อมูลกับประชาชน และหาทางแก้ปัญหาโดยเร็ว
โรคระบาด ที่เคยเกิดขึ้นในอดีต และหายไปนานแล้ว กลับมาระบาดอีก อย่างเช่น โรคเท้าช้าง ซึ่งมาจากหนอนพยาธิ โดยมียุงเป็นพาหะนำโรค ที่มีลักษณะผิวหนังและเนื้อเยื่อข้างใต้หนาตัวขึ้น ทำให้ขาบวมโต รักษาไม่ได้
รวมทั้งโรคที่ต้องเฝ้าระวังอย่างเช่น กาฬโรค ที่ติดต่อจากสัตว์ ประเภทฟันแทะ เช่น หนู หมัด จะมีอัตราตายสูงถึงร้อยละ 30-60 มีอาการต่อมน้ำเหลืองอักเสบ ไข้สูง ความดันเลือดต่ำ เสียชีวิตภายใน 3-5 วัน หรือภายในไม่กี่ชั่วโมง
ไข้รากสาดใหญ่ มีเหา หมัดหนู ตัวไร เป็นพาหะ
อหิวาตกโรค หรือ โรคห่า อาการท้องร่วง อาเจียน ร่างกายจะขับน้ำออกมาเป็นจำนวนมาก เรียกว่าอาการ "ลงราก" จึงเรียกโรคนี้ว่า "โรคลงราก" ก็มี โดยมีแมลงวันเป็นพาหะนำโรค
โรคไข้กาฬหลังแอ่น คือโรคติดเชื้อ ผู้ป่วยบางคนที่ติดเชื้อชนิดนี้จะมีอาการที่รุนแรง และเสียชีวิตได้อย่างรวดเร็ว โรคนี้เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย เกิดภาวะติดเชื้อเข้าสู่กระแสเลือด
ผู้วิเคราะห์สถานการณ์ของโรคระบาดระบุว่า การที่ประเทศไทยเข้าสู่ประชาคมอาเซียน เราอาจได้รับผลดีในหลายทาง แต่ผลร้ายที่จะตามมาก็คือ พวกโรคที่เคยระบาดมาแล้วในอดีต มีโอกาสสูงมาก ที่จะกลับมาระบาดอีก โดยมี “แรงงานต่างด้าว” เป็นพาหะนำโรค จึงควรรับมือ ระวังป้องกันตั้งแต่เนิ่นๆ.
*********************************************************************************
โรคไข้เลือดออก โรคตัวร้ายที่มียุงลายเป็นพาหะ
ไข้เลือดออก เป็นโรคที่เกิดจากยุงซึ่งเป็นพาหะของโรค ไข้เลือดออกนอกจากจะเป็นปัญหาสาธารณสุขของประเทศไทยแล้ว ยังเป็นปัญหาสาธารณสุขทั่วโลกโดยเฉพาะประเทศในเขตร้อนชื้น และก่อให้เกิดความกังวลต่อผู้ปกครองเวลาเด็กมีไข้ และมักพบบ่อยในเด็กต่ำกว่า 15 ปี โดยเฉพาะช่วงอายุ 2-8 ปี แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าผู้ใหญ่จะไม่มีโอกาสเป็นโรคไข้เลือดออกได้ โดยเฉพาะต้องอาศัยอยู่ในแหล่งที่ชุกชุมไปด้วยยุงตัวร้าย
อาการของ ไข้เลือดออก
อาการของ ไข้เลือดออก ไม่จำเพาะอาการมีได้หลายอย่าง ในเด็กอาจจะมีเพียงอาการไข้และผื่น ในผู้ใหญ่ที่เป็น ไข้เลือดออก อาจจะมีไข้สูง ปวดศีรษะ ปวดตามตัว ปวดกระบอกตา ปวดกล้ามเนื้อ หากไม่คิดว่าเป็น โรค ไข้เลือดออก อาจจะทำให้การรักษาช้า ผู้ป่วยอาจจะเสียชีวิต ทั้งนี้ลักษณะที่สำคัญของ ไข้เลือดออก มีอาการสำคัญ 4 ประการคือ
1. ไข้สูงลอย : ไข้ 39-40 มักมีหน้าแดง โดยมากไม่ค่อยมีอาการน้ำมูกไหลหรือไอ เด็กโตอาจมีอาการปวดเมื่อยตามตัว และปวดศีรษะ อาการไข้สูงมักมีระยะ 4-5 วัน
2. อาการเลือดออก : เลือดกำเดาไหล เลือดออกตามไรฟัน เลือดออกในกระเพาะ โดยจะมีอาการ
อาเจียนเป็นเลือด หรือถ่ายดำ มีจุดเลือดออกตามตัว
3. ตับโต
4. ความผิดปกติของระบบไหลเวียนเลือด หรือช็อก : มักจะเกิดช่วงไข้จะลด โดยผู้ป่วยจะมีอาการกระสับกระส่ายมือเท้าเย็น รอบปากเขียว อาจมีอาการปวดท้องมาก ก่อนจะมีอาการช็อก ชีพจรเบาเร็ว ความดันต่ำ
แนวทางการรักษาโรค ไข้เลือดออก
โรค ไข้เลือดออก ไม่มีการรักษาเฉพาะ การรักษาเป็นเพียงการประคับประคองอย่างใกล้ชิดโดยการเฝ้าระวังภาวะช็อก และเลือดออก และการให้สารน้ำอย่างเหมาะสมก็จะทำให้อัตราการเสียชีวิตลดลง โดยทั่วไปการดูแลผู้ป่วยโรค ไข้เลือดออก มีแนวทางการดูแลอย่างใกล้ชิด ดังนี้
1. ให้ยาลดไข้ เช็ดตัวลดไข้ ยาลดไข้ที่ควรใช้คือ พาราเซตามอล ไม่ควรใช้ยาจำพวกแอสไพริน เนื่องจากจะทำให้เกล็ดเลือดผิดปกติ และระคายกระเพาะอาหาร
2. ให้สารน้ำชดเชย เนื่องจากผู้ป่วยไข้เลือดออก มักมีภาวะขาดน้ำ เนื่องจากไข้สูง เบื่ออาหาร และอาเจียน ในรายที่พอทานได้ให้ดื่มน้ำเกลือแร่บ่อย ๆ ในรายที่ขาดน้ำมาก หรือมีภาวะเลือดออก เช่น อาเจียน หรือถ่ายเป็นเลือดต้องรับไว้รักษาในโรงพยาบาล เพื่อให้สารน้ำทางเส้นเลือด
3. ติดตามดูอาการใกล้ชิด ถ้าผู้ป่วยไข้เลือดออกมีอาการปวดท้อง ปัสสาวะน้อยลง กระสับกระส่าย มือเท้าเย็น โดยเฉพาะในช่วงไข้ลด ต้องรีบนำส่งโรงพยาบาลทันที
4. ตรวจนับจำนวนเกล็ดเลือดและความเข้มข้นของเลือดเป็นระยะ เพื่อใช้พิจารณาปริมาณการให้สารน้ำชดเชย
การปฏิบัติเมื่อมีคนในบ้าน/ข้างบ้านเป็น ไข้เลือดออก
เนื่องจากไข้เลือดออกระบาดโดยมียุงเป็นตัวแพร่พันธุ์ ดังนั้นเมื่อมีคนในบ้านหรือข้างบ้านเป็นไข้เลือดออก ควรจะบอกคนในบ้านหรือข้างบ้านว่า มีคนเป็นไข้เลือดออกด้วย และแจ้งสาธารณสุขให้มาฉีดยาหมอกควันเพื่อฆ่ายุง รวมถึงดูแลให้สมาชิกในครอบครัวป้องกันการถูกยุงกัด สำรวจภายในบ้าน รอบบ้าน รวมทั้งเพื่อนบ้านว่ามีแหล่งแพร่พันธุ์ยุงหรือไม่ หากมีให้รีบจัดการและทำลายแหล่งแพร่พันธุ์นั้น เพื่อป้องกันการเป็นไข้เลือดออก
นอกจากนี้ต้องคอยระวังเฝ้าดูอาการของสมาชิกในบ้านหรือข้างบ้านว่ามีไข้หรือไม่ หากมีไข้ให้ระวังว่าอาจจะเป็น ไข้เลือดออกได้
การป้องกันโรค ไข้เลือดออก
ทุกวันนี้ยังไม่ยาที่ใช้รักษา ไข้เลือดออก ดังนั้นการป้องกันจึงเป็นวิธีที่ดีที่สุดโดยป้องกันการแพร่ของยุง
การควบคุมสิ่งแวดล้อม Environmental management
การควบคุมสิ่งแวดล้อมเป็นการเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อมเพื่อไม่ยุงมีการขยายพันธุ์
แทงค์ บ่อ กะละมัง ที่เก็บกักน้ำจะเป็นแหล่งที่ยุงออกไข่และกลายเป็นยุง ต้องมีฝาปิดและหมั่นตรวจสอบว่ามีลูกน้ำหรือไม่
ให้ตรวจรอยรั่วของท่อน้ำ แทงค์น้ำหรืออุปกรณ์ที่เกี่ยวกับน้ำว่ารั่วหรือไม่ โดยเฉพาะฤดูฝน
ตรวจสอบแจกัน ถ้วยรองขาโต๊ะ ต้องเปลี่ยนน้ำทุกสัปดาห์ สำหรับแจกันอาจจะใส่ทรายผสมลงไป ส่วยถ้วยรองขาโต๊ะให้ใส่เกลือเพื่อป้องกันลูกน้ำ
หมั่นตรวจสอบถาดรองน้ำที่ตู้เย็นหรือเครื่องปรับอากาศเพราะเป็นที่แพร่พันธ์ของยุง โดยเฉพาะถาดระบายน้ำของเครื่องปรับอากาศซึ่งออกแบบไม่ดี โดยรูระบายน้ำอยู่เหนือก้นถาดหลายเซนติเมตร ทำให้มีน้ำขังซึ่งเป็นแหล่งเพาะพันธ์ยุง
ตรวจรอบ ๆ บ้านว่าแหล่งน้ำขังหรือไม่ ท่อระบายน้ำบนบนหลังคามีแองขังน้ำหรือไม่หากมีต้องจัดการ
ขวดน้ำ กระป๋อง หรือภาชนะอื่นที่อาจจะเก็บขังน้ำ หากไม่ใช้ให้ใส่ถุงหรือฝังดินเพื่อไม่ให้น้ำขัง
ยางเก่าที่ไม่ใช้ก็เป็นแหล่งขังน้ำได้เช่นกัน
หากใครมีรั้วไม้ หรือต้นไม้ที่มีรูกลวง ให้นำคอนกรีตเทใส่ปิดรู ต้นไผ่ต้องตัดตรงข้อและให้เทคอนกรีตปิดแอ่งน้ำ
การใช้สารเคมีในการควบคุม
ใช้ยาฆ่าลูกน้ำ วิธีการนี้จะสิ้นเปลืองและไม่เหมาะที่จะใช้อย่างต่อเนื่อง วิธีการนี้จะเหมาะสำหรับพื้นที่ที่มีการระบาดและได้มีการสำรวจพบว่ามีความชุกของยุงมากกว่าปกติ
การใช้สารเคมีพ่นตามบ้านเพื่อฆ่ายุง วิธีการนี้ใช้ในประเทศเอเชียหลายประเทศมามากกว่า 20 ปีแต่จากสถิติของการระบาดไม่ได้ลดลงเลย การพ่นหมอกควันเป็นรูปอธรรมที่มองเห็นว่ารัฐบาลได้ทำอะไรเกี่ยวกับการระบาด แต่การพ่นหมอกควันไม่ได้ลดจำนวนประชากรของยุง ข้อเสียคือทำให้คนละเลยความปลอดภัย การพ่นหมอกควันจะมีประโยชน์ในกรณีที่มีการระบาดของโรคไข้เลือดออก
********************************************************************************
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
กระทรวงสาธารณสุข เผยข่าวดี พบวิธีป้องกันโรคไข้เลือดออกได้ผล โดยใช้การแพทย์" โฮมิโอพาธีย์" ใช้สารสกัดจากสมุนไพรผสมน้ำดื่ม ช่วยกระตุ้นภูมิคุ้มกันร่างกายให้สูงขึ้น
ตอบลบสุขภาพแข็งแรง ใช้ต้นทุนต่ำมาก แต่ให้ผลสูง ใช้ง่าย หลังศึกษาการใช้ในกลุ่มนักเรียนอนุบาล-มัธยมต้นในพื้นที่ จ.สิงห์บุรี ปี 2555-2556 ตามความสมัครใจ พบได้ผลดี กลุ่มเด็กที่ใช้ป่วยเป็นไข้เลือดออกน้อยและอาการไม่รุนแรง ลดอัตราป่วยอยู่ในอับดับรั้งท้ายของประเทศ เตรียมใช้เต็มพื้นที่ จ.สิงห์บุรี ในปี 2557 คาดจะลดการเสียชีวิต ลดกังวลพ่อแม่ ลดภาระกุมารแพทย์ได้ดี
นายแพทย์จักรกฤษณ์ ภูมิสวัสดิ์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข ประธานคณะกรรมการบริหารเขตบริการสุขภาพที่ 4 ซึ่งมี 8 จังหวัด ได้แก่ นครนายก นนทบุรี ปทุมธานี พระนครศรีอยุธยา ลพบุรี สระบุรี สิงห์บุรี และอ่างทอง ให้สัมภาษณ์ว่า กระทรวงสาธารณสุขได้เร่งแก้ไขและลดปัญหาการเจ็บป่วยจากโรคไข้เลือดออก ซึ่งในปีที่ผ่านมาเกิดระบาดทั่วประเทศ มีผู้ป่วย 150,934 ราย มากกว่าปี 2555 ถึง 2 เท่าตัว เสียชีวิต 133 ราย ค่ารักษาผู้ป่วยไข้เลือดออกรายละตั้งแต่ 2,000 บาทจนถึง 10,000 บาท ขึ้นอยู่กับอาการความรุนแรง ขณะนี้โรคดังกล่าวยังไม่มีวัคซีนป้องกัน จึงเน้นใช้หลายมาตรการป้องกันควบคู่กัน เช่นการกำจัดลูกน้ำยุงลายในบ้าน รอบบ้าน เพื่อลดจำนวนยุงลายให้ได้มากที่สุด การนอนในมุ้ง ป้องกันยุงกัด และขณะนี้มีวิธีการสร้างภูมิต้านทานเพื่อป้องกันในตัวคน โดยนำศาสตร์การแพทย์ทางเลือกที่ชื่อว่า โฮมิโอพาธีย์ (Homeopathy) มีความปลอดภัยสูงเพราะยาที่ใช้สกัดมาจากธรรมชาติ ประหยัดมาก หลายประเทศทั่วโลกใช้การแพทย์สาขานี้ เช่น อังกฤษ ฝรั่งเศส อิตาลี สวิสเซอร์แลนด์ เบลเยี่ยม สหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย อินเดีย มาเลเซีย เป็นต้น
ในปีที่ผ่านมาได้มีการนำโฮมิโอพาธีย์มาศึกษาใช้ป้องกันป่วยโรคไข้เลือดออก ในพื้นที่จังหวัดสิงห์บุรี ตามความสมัครใจของนักเรียน ผู้ปกครอง เจ้าหน้าที่สาธารณสุข พบว่าได้ผลเป็นที่น่าพอใจ ทำให้สถานการณ์โรคไข้เลือดออกของจังหวัดสิงห์บุรีดีขึ้น ข้อมูลในปี 2554 จังหวัดสิงห์บุรี มีการระบาดโรคนี้ในอันดับที่ 67 ของประเทศ เสียชีวิต 1 ราย ปี 2555 มีการระบาดของไข้เลือดออกในอันดับที่ 76 ของประเทศ และในปี 2556 ซึ่งมีการระบาดใหญ่ของไข้เลือดออกทั่วประเทศ แต่อัตราป่วยต่อแสนประชากร ที่จังหวัดสิงห์บุรีเท่ากับ 44.95 อยู่ในอันดับสุดท้ายของประเทศ จึงมีนโยบายจะขยายการป้องกันโรคไข้เลือดออกด้วยโฮมิโอพาธีย์ ในเขตบริการที่ 4 ครบทุกจังหวัด ในปี 2557 โดยจังหวัดสิงห์บุรีจะดำเนินการทุกอำเภอ และ อีก 7 จังหวัด จะเริ่มดำเนินการอย่างน้อยจังหวัดละ 1 อำเภอ ทั้งนี้ หากได้ผลดีจะเสนอเป็นทางเลือกให้นำไปใช้ ทั่วประเทศต่อไป
ตอบลบด้านแพทย์หญิงวลี สุวัฒิกะ นายแพทย์ทรงคุณวุฒิด้านกุมารเวชกรรม ประจำโรงพยาบาลสิงห์บุรี กล่าวว่า ได้ศึกษาการใช้โฮมีโอพาธีย์ป้องกันโรคไข้เลือดออกทุกอำเภอในจังหวัดสิงห์บุรี โดยใช้สารที่มีชื่อว่า ยูพาโทเรียม (Eup.) ลักษณะเป็นยาเม็ด สกัดจากสมุนไพรในต่างประเทศ ซึ่งมีผลการศึกษาวิจัยพบว่าสารสกัดชนิดนี้ มีผลในการกระตุ้นให้ร่างกายเกิดภูมิต้านทานป้องกันโรคไข้เลือดออก วิธีการใช้จะใช้ยูพาโทเรียม 4 เม็ดผสมกับน้ำดื่มสะอาด 1.5 ลิตร และเขย่า 30 ครั้ง เพื่อเพิ่มความแรงและประสิทธิภาพยาให้สูงขึ้น ยาดังกล่าวดื่มเหมือนดื่มน้ำทั่วๆ ไปไม่มีรสชาติใดๆ จากนั้นให้เด็กดื่มคนละ 3 ซี.ซี. ทุก 3 เดือน โดยเริ่มให้ในเดือนกรกฎาคม 2555 ซึ่งเป็นเดือน ที่โรคระบาดสูงที่สุด ได้ให้ยากลุ่มนักเรียนตั้งแต่ระดับอนุบาลจนถึงมัธยมตอนต้นในอำเภอเมือง ตามความสมัครใจ โดยนักเรียนทั้งหมด 7,106 คน ได้รับยา 4,250 คน หรือครอบคลุมกว่าร้อยละ 50
แพทย์หญิงวลีกล่าวต่อว่า จากการติดตามผลต่อเนื่องตลอด 1 ปี พบว่าเด็กนักเรียนที่ได้รับยาโฮมิโอพาธีย์ จำนวน 4,250 คน ป่วยเป็นไข้เดงกี่ จำนวน 4 คน และมีอาการไม่รุนแรง อัตราป่วยเฉลี่ย 1 ต่อ 1,000 ประชากร ส่วนกลุ่มเด็กที่ไม่ได้กินยาโฮมิโอพาธีย์ จำนวน 2,856 คน ป่วยเป็นไข้เลือดออกและไข้เดงกี่ 7 ราย และมีอาการรุนแรงกว่ากลุ่มที่ได้รับยาโฮมิโอพาธีย์ คิดเป็นอัตราป่วย 2.5 ต่อ 1,000 ประชากร หรือป่วยสูงกว่าเด็กที่ดื่มยา 2.5 เท่าตัว
ทั้งนี้ กลไกของการรักษาแบบโฮมิโอพาธีย์ จะทำหน้าที่เป็นตัวกระตุ้นภูมิคุ้มกันในร่างกายในแต่ละบุคคล ให้สูงขึ้น ทำให้แข็งแรง เช่นเดียวกับหลักการให้วัคซีนป้องกันโรค ปริมาณยาที่ใช้ในผลิตภัณฑ์โฮมีโอพาธีย์ จะมีขนาดน้อยมาก แต่สามารถใช้ป้องกันได้พร้อมกันจำนวนมาก คือทั้งครอบครัว โรงเรียน ชุมชน ลงทุนประมาณ 12,000 บาทต่อปี สำหรับจังหวัดขนาดเล็ก เช่น จังหวัดสิงห์บุรี จะได้ผลทั้งอำเภอ ทั้งจังหวัด และหากลดจำนวนผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกในแต่ละปี จะช่วยประหยัดงบประมาณในการรักษาไข้เลือดออกทั่วประเทศได้ปีละไม่ต่ำกว่า 300 ล้านบาท เหมาะสำหรับการพึ่งตนเองของประชาชน ตลอดจนสามารถใช้ในระบบบริการสาธารณสุขได้ ช่วยคลายความกังวลผู้ปกครอง ลดภาระกุมารแพทย์หรือแพทย์อายุรกรรมที่รักษาผู้ใหญ่ได้ และมีหลายแห่งที่นำวิธีการนี้ไปใช้แล้ว เช่นที่ รพ.สูงเนิน จ.นครราชสีมา รพ.เกาะยาว จ.พังงา ขณะนี้สนใจใช้โฮมิโอพาธีย์ศึกษาการป้องกันโรคมือเท้าปาก ซึ่งเกิดจากเชื้อไวรัส ไม่มีวัคซีนป้องกันเช่นกัน แพทย์หญิงวลีกล่าว
This is the most interesting information and fit into our topic. I want to share it with my friends qnc jelly gamat Thankyou
ตอบลบ