วัยทองหรือหมดประจำเดือนเป็นวัยหนึ่งของชีวิต ซึ่งเริ่มด้วย วัยทารก วัยเด็ก วัยรุ่น วัยกลางคน วัยทอง วัยรุ่นและวัยทองเป็นวัยที่รังไข่สร้างฮอร์โมนออกมาน้อยและไม่สม่ำเสมอ ทำให้มีประจำเดือนไม่สม่ำเสมอ วัยทองรังไข่ทำงานน้อยลงทำให้สร้างฮอร์โมนออกมาน้อยลง ทำให้บางท่านอาจจะมีประจำเดือนมากขึ้นบางคนน้อยลง บางคนประจำเดือนห่างบางคนก็มาถี่ ฮอร์โมนนี้จะช่วยในการมีประจำเดือน การตั้งครรภ์ ความแข็งแรงของกระดูก ลดระดับ cholesterol หญิงอายุตั้งแต่30 ปีขึ้นไปจน 50ปีสามารถเกิดวัยทองได้ โดยเฉลี่ยคืออายุ 51 ปีผู้ที่สูบบุหรี่จะเกิดวัยทองได้เร็วกว่าผู้ไม่สูบบุหรี่ ผู้ที่ตัดรังไข่ก็สามารถเกิดวัยทองได้ทันทีหลังตัดรังไข่
อาการเตือนของวัยทองมีอะไรบ้าง เมื่อระดับฮอร์โมน estrogen และ progesterone ลดลงจะทำให้เกิดอาการหลายอย่างบางคนเป็นมากบางคนเป็นน้อย( ผลของเอสโตรเจนต่อร่างกาย)อาการอาจจะเป็นไม่กี่เดือนก็หาย แต่โดยเฉลี่ยประมาณ 4 ปี อาการต่างๆมีดังนี้
- ประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอเช่นมาเร็ว มาช้า มามาก มาน้อย มานาน
- ร้อนตามตัว ผู้ป่วยจะมีร้อนโดยเฉพาะส่วนบนของร่างกาย แก้ม คอ หลังจะแดงหลังจากนั้นจะตามด้วยเหงื่อออกและหนาวสั่นในเวลากลางคืน อาการนี้จะเป็นนาน 1-5 นาที
- ปัญหาเกี่ยวกับช่องคลอดและกระเพาะปัสสาวะ เนื่องจากระดับ estrogen ลดลงทำให้เยื่อบุช่องคลอดแห้งและบางลง ผู้ป่วยจะมีอาการปวดขณะร่วมเพศ และมีการติดเชื้อในช่องคลอดบ่อยขึ้น นอกจากนั้นยังมีเรื่องกั้นปัสสาวะไม่อยู่ ปัสสาวะเล็ดเวลาจามหรือไอ
- การคุมกำเนิด ควรคุมกำเนิดอย่างน้อย 1 ปีหลังประจำเดือนครั้งสุดท้ายผู้ป่วยบางคนจะมีความรู้สึกทางเพศลดลง แต่บางรายมีความรู้สึกทางเพศสูงขึ้น
- มีปัญหาเรื่องการนอน นอนหลับยาก ตื่นเร็ว อาจจะตื่นกลางคืนและเหงื่อออกมาก ผู้ป่วยจะบ่นเรื่องเหนื่อย
- ผู้ป่วยจะมีอารมณ์ผันผวนโกรธง่าย
- การเปลี่ยนแปลงทางรูปร่าง เอวจะเริ่มหายไป ไขมันที่เคยเกาะบริเวณขาจะเปลี่ยนไปเกาะบริเวณเอวกล้ามเนื้อลดลงมีไขมันเพิ่ม ผิวหนังเริ่มเหี่ยว
- ปัญหาอื่น เช่นปวดศีรษะ ความจำลดลง ปวดตามตัว
- รายละเอียดเกี่ยวกับโรคหัวใจ โรคกระดูกพรุน โรคมะเร็งเต้านม
- ปัจจัยเสี่ยงของแต่ละโรค
- ผลของฮอร์โมนทดแทนต่อภาวะดังกล่าว โรคที่มักจะเกิดกับวัยทอง
- ผู้ป่วยจะเกิดโรคกระดูกพรุนได้เร็ว
- ผู้ป่วยวัยทองจะมีอัตราการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ และโรคหลอดเลือดสมองเพิ่มผู้ป่วยควรควบคุมปัจจัยเสี่ยง
- มะเร็งเต้านม
เมื่อเข้าสู่วัยทองต้องทำอะไรบ้าง
- ให้รับประทานอาหารที่มีแคลเซี่ยมสูง ลดไขมัน
- ลดปัจจัยเสี่ยงต่อโรคหัวใจ
- ลิกบุหรี่และแอลกอฮอล์
- ใช้สารหล่อลื่นก่อนร่วมเพศ
- ตรวจเต้านม มะเร็งปากมดลูกทุกปี
ก่อนการให้ฮอร์โมนทดแทนจะต้องประเมินความรุนแรงของโรคที่พบร่วมกับวัยทองเช่นอาการร้อนตามตัว กระดูกโปร่งบางและต้องมาเปรียบเทียบกับความเสี่ยงที่จะเกิดโรคจากการให้ฮอร์โมน เช่นมะเร็ง โรคหัวใจและหลอดเลือด และจะต้องพิจารณาว่ามีทางเลือกอื่นอีกหรือไม่ในการรักษาภาวะเหล่านี้
ถ้าหากท่านมีอาการร้อนตามตัวจะแก้ไขอย่างไร
- เมื่อเริ่มเกิดอาการร้อนให้ไปอยู่ที่เย็นๆ
- ให้นอนในห้องที่เย็น
- ให้ดื่มน้ำเย็นเมื่อเริ่มรู้สึกร้อน
- หลีกเลี่ยงอาหารเผ็ดๆ และร้อน
- หลีกเลี่ยงสุรา
- หลีกเลี่ยงความเครียด เมื่อเวลาเครียดให้หายใจเข้าออกยาวๆ ช้าและใจเย็นๆ
- ถ้าหนาวให้ใส่เสื้อหลายชั้น และหากร้อนก็สามารถถอดทีละชั้น
- แพทย์บางท่าแนะนำให้ใช้วิตามิน อีซึ่งจะลดอาการได้ร้อยละ 40 clonidine และยาลดอาการซึมเศร้ากลุ่ม SSRI เช่น Prozac Zoloft
- อาหารซึ่งมีถั่วเหลืองจะช่วยลดอาการร้อนตามตัว
- เนื่องจากเนื้อเยื่อของช่องคลอดและกระเพาะปัสสาวะจะฝ่อทำให้เกิดอาการดังกล่าว และหากมีข้อห้ามในการรับประทานฮอร์โมนทดแทน หรือผู้ป่วยไม่อยากจะรับความเสี่ยงจากการให้ฮอร์โมนก็สามารถใช้ฮอร์โมนเอสโตรเจนชนิดทาช่องคลอดได ้โดยระดับยาในเลือดจะมีน้อยกว่าชนิดรับประทาน 1 ใน 4 แต่จะให้ผลดีต่อช่องคลอดมากกว่าชนิดรับประทาน 4 เท่า ในการใช้ยาครั้งแรกให้ทาทุกวันหลังจากนั้นให้ทาอาทิตย์ละ 2-3 ครั้งหรือแล้วแต่การปรับของผู้ป่วย
- นอกจากนั้นบางคนอาจจะใช้ยาที่เพิ่มความชุ่มชื้นแก่ช่องคลอดแต่ไม่ทำให้เนื้อเยื่อหนาตัว อาการนอนไม่หลับและอารมณ์แปรปรวน
- ใช้ยายาลดอาการซึมเศร้ากลุ่ม SSRI ซึ่งจะไปเปลี่ยนแปลงระดับ serotonin ในสมองทำให้ลดอาการซึมเศร้า
ก่อนการให้ฮอรโมนทดแทนจะต้องประเมินความรุนแรงของโรคที่พบร่วมกับวัยทองเช่นอาการร้อนตามตัว กระดูกโปร่งบางและต้องมาเปรียบเทียบกับความเสี่ยงที่จะเกิดโรคจากการให้ฮอร์โมน เช่นมะเร็ง โรคหัวใจและหลอดเลือด และจะต้องพิจารณาว่ามีทางเลือกอื่นอีก หรือไม่ในการรักษาภาวะเหล่านั้นผู้ป่วยบางคนเมื่อเริ่มเข้าสู่วัยทองแพทย์จะให้ยาคุมกำเนิดรับประทานซึ่งมีผลดีหลายประการ เช่นทำให้ประจำเดือนมาสม่ำเสมอ ลดอาการร้อนตามตัว ลดอัตราการเกิดมะเร็งรังไข่ ข้อเสียคือไม่ทราบว่าหมดประจำเดือนหรือยัง ถ้าสงสัยก็ให้หยุดยาคุมกำเนิด 4-5 เดือนแล้วดูว่าประจำเดือนมาหรือไม่ เมื่อเข้าสู่วัยทองจริงแพทย์จะพิจารณาให้ฮอร์โมนที่มีส่วนประกอบของ estrogen และ progesteroneผลดีของการให้คือ ลดอาการ ป้องกันกระดูกพรุน และป้องกันโรคหัวใจ แต่ต้องระวังโรคแทรกซ้อนคือ โรคตับอักเสบ ไขมัน triglyceride สูง โรคมะเร็งเต้านม Phytoestrogen
พืชหลายชนิด เช่น ธัญพืช ผัก ถั่วต่าง ถั่วเหลือง จะมีสารซึ่งออกฤทธิ์คล้าย estrogen แต่ยังไม่แนะนำให้ใช้รักษาเนื่องจากยังไม่มีรายงานเรื่องประสิทธิภาพ และผลข้างเคียง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น