ความดันโลหิตสูง
ทุกๆคนต้องมีความดันโลหิต เพราะความดันโลหิต จะเป็นแรงผลักดัน ให้เลือดไปเลี้ยงอวัยวะต่างๆของร่างกาย ดังนั้นทุกคนควรจะเรียนรู้เกี่ยวกับความดันโลหิต และรักษาให้ความดันโลหิตอยู่ในเกณฑ์ปกติ เพราะความดันโลหิตสูงจะทำให้เกิดหลอดแข็งและตีบ
เมื่อหัวใจบีบตัวหัวใจจะบีบเลือดไปยังหลอดเลือดแดง ทำให้เกิดความดันโลหิตซึ่งเกิดจากการบีบตัวของหัวใจ และแรงต้านทานของหลอดเลือด หัวใจคนเราเต้น 60-80ครั้ง ความดันก็จะเพิ่มขณะที่หัวใจบีบตัว และลดลงขณะที่หัวใจคลายตัว ความดันโลหิตของคนเราไม่เท่ากันตลอดเวลาขึ้นกับท่า ความเครียด การออกกำลังกาย การนอนหลับ ค่าปรกติของคนเราคือ 120/80 มิลิเมตรปรอท แต่ไม่ควรเกิน 140/90 หากสูงกว่านี้แสดงว่าคุณเป็นโรคความดันโลหิตสูง
โรคความดันโลหิตสูงเป็นปัจจัยเสี่ยงทำให้เกิดโรคหัวใจ โรคไต โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ โรคอัมพาต โรคหัวใจเป็นโรคที่มีอัตราตายสูง ดังนั้นการป้องกันความดันโลหิตสูงสามารถป้องกันอัตราการตายจากโรคหัวใจ และโรคอัมพาต โรคความดันโลหิตสูงเป็นภัยเงียบที่คุกคามชีวิตของทุกท่านเนื่องจากไม่มีอาการเตือนดังนั้น การจะทราบว่าเป็นความดันโลหิตสูงจำเป็นต้องวัดความดันโลหิต
เมื่อไรจึงเรียกว่าความดันโลหิตสูง
เนื่องจากความดันโลหิตมีปัจจัยที่เข้ามาเกี่ยวข้องมาก การจะบอกใครเป็นความดันโลหิตสูง จะต้องมีการวัดความดันหลายครั้ง และต้องพิจารณาว่ามีโรคประจำตัวหรือไม่ คนปรกติจะมีความดันโลหิตไม่เกิน 120/80 มิลิเมตร ความดันโลหิตที่สูงกว่า 140/90 มิลิเมตรปรอทจะเรียกว่าความดันโลหิตสูง นอกจากนั้นยังมีภาวะอื่นๆ
|
อาการของโรคความดันโลหิตสูง
ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงมักจะไม่มีอาการอะไร เนื่องจากร่างกายมีการปรับตัว ผู้ป่วยมักจะมาด้วยโรคหัวใจวาย กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด ไตวาย ตามัว สำหรับผู้ที่ความดันปกติให้วัดความดันโลหิตทุก 2 ปี
|
สาเหตุของโรคความดันโลหิตสูง
ผู้ป่วยที่ความดันโลหิตสูงแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มคือความดันโลหิตที่ไม่ทราบสาเหตุเรียกว่า Primary hypertension ส่วนอีกกลุ่มได้แก่ความดันโลหิตสูงเรียก Secondary hypertension ผู้ป่วยกลุ่มที่ไม่ทราบสาเหตุ จะเป็นกลุ่มที่พบมากที่สุดประมาณร้อยละ 95 เชื่อว่ามีสาเหตุหลายชนิดมารวมกันทำให้ความดันสูง
|
ผู้ที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคความดันโลหิตสูง
แม้ว่าท่านยังไม่เป็นโรคความดันโลหิตสูง แต่่มีปัจจัยเสี่ยงต่อความดันโลหิตสูง จะมีโอกาศเป็นโรคความดันโลหิตสูง สำหรับท่านที่เป็นความดันโลหิตสูง เมื่อท่านลดปัจจัยเสี่ยงของความดันโลหิตสูง ความดันของท่านก็จะลดลง ปัจจัยเสี่ยงความดันโลหิตสูง
|
ทำไมต้องรักาษาโรคความดันโลหิตสูง
ความดันโลหิตสูงไม่มากหรือความดันค่อยๆสูง มักจะไม่มีอาการ หายท่านไม่ยอมรับประทานยา หลายท่านหยุดยาเมื่อรับประทานยาได้สักระยะหนึ่ง หลายท่านกลัวว่าหากรับประทานยามากๆ จะทำให้เกิดโรคไต แต่ผู้ป่วยและญาติคงต้องทราบว่าหากไม่รักษา จะเกิดอะไรได้บ้าง โรคความดันมีผลต่ออวัยวะใดบ้าง
|
การวินิจฉัยความดันโลหิตสูง
สิ่งที่สำคัญของการวินิจฉัยโรคความดันโลหิตสูง คือต้องบอกให้ได้ว่าเป็นโรคหรือไม่ ความรุนแรงของโรคความดันโลหิตเป็นอย่างไร นอกจากนั้นจะต้องตรวจหาสาเหตุของโรคความดันโลหิตสูง ตรวจอวัยวะต่างๆว่าได้ผลกระทบจากโรคความดันโลหิต และตรวจว่ามีโรคแทรกซ้อนจากความดันหรือยัง
|
การวัดความดันโลหิต
การวัดความดันโลหิตที่ถูกต้อง จะได้ค่าความดันโลหิตที่ถูกต้อง หากใช้เครื่องมือไม่เหมาะสม หรือการวัดผิดวิธีก็จะได้ค่าความดันผิด การวัดความดันโลหิตจะต้องใช้เครื่องมือที่ถูกต้อง การเตรียมตัวที่ถูกต้อง การวัดที่ถูกต้อง วิธีวัดความดันโลหิตมีได้หลายวิธี อ่านเรื่องการวัดความดันโลหิตที่นี่
|
ประโยชน์ของการรักษาความดันโลหิต
การลดความดันโลหิตนอกจากจะลดอาการปวดศีรษะ เนื่องจากความดันสูง แต่การลดความดันโลหิตยังลดโรคแทรกซ้อน ที่เกิดจากความดันโลหิตสูง เช่นหัวใจ จะลดโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด หัวใจโต โรคไต ลดการเกิดโปรตีนในปัสสาวะ นอกจากนั้นยารักษาความดันบางชนิดยังลดการเกิดโรคเบาหวาน ประโยชน์ของการรักษาโรคความดันโลหิตสูง
|
เมื่อไรจึงจะเริ่มรักษาความดันโลหิตสูง
การจะเริ่มต้นรักษาความดันโลหิตจะต้องพิจารณาถึง ระดับความดันโลหิต โรคหรือภาวะที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด อวัยวะเสียหายจากความดันโลหิต โรคแทรกซ้อนจากความดันโลหิต เมื่อไรจึงจะรักษาโรคความดันโลหิต
|
การรักษา
การรักษาโรคความดันโลหิตสูงแบ่งได้เป็น การรักษาที่ไม่ใช้ยาได้แก่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และการรักษาด้วยยา นอกจากนั้นจะต้องรักษาโรคแทรกซ้อน และการป้องกันโรคแทรกซ้อนที่จะเกิด
|
โรคแทรกซ้อนของความดันโลหิต
โรคความดันโลหิตสูงทำให้เกิดหลอดเลือดตีบ ซึ่งหากไปเลี้ยงอวัยวะไม่พอก็จะเกิดเสียหายต่ออวัยวะนั้น และหากกิดลิ่มเลือดจากผนังหลอดเลือด ก็จะเกิดโรคที่อวัยวะนั้นแบบเฉียบพลัน โรคแทรกซ้อนได้หลายระบบ ได้แก่ หัวใจและหลอดเลือด สมอง ไต เท้า ตา
|
การป้องกันความดันโลหิตสูง
การป้องกันโรคความดันโลหิตสูง สามารถนำมาใช้กับผู้ที่ร่างกายปรกติ หรือกลุ่มที่ความดันเริ่มจะสูง หรือกลุ่มผู้ป่วยที่ความดันโลหิตสูงแล้ว การป้องกันความดันโลหิตสูงจะเป็นการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม โดยสามารถลดความดันโลหิตได้ประมาณ 20 มม.ปรอท้
|
สัญญาณเตือนภัยของโรคแทรกซ้อนเฉียบพลัน
โรคความดันโลหิตสูงจะมีโรคแทรกซ้อนเฉียบพลัน ที่สำคัญคือหัวใจและสมอง โรคระบบทั้งสองจะมีอาการเตือนล่วงหน้า ก่อนที่จะเกิดความพิการ เช่นกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดจะมีอาการเจ็บหน้าอกเป็นหลัก ส่วนโรคหลอดเลือดสมองจะมีอาการอ่อนแรง หรือเดินเซ เป็นต้นผู้ที่เป็นโรคความดันต้องเรียนรู้
|
ความดันโลหิตและสุภาพสตรี
โรคความดันโลหิตสูง และสตรีมีเรื่องพิจารณามากว่าผู้ชายกล่าวคือ เรื่องการรับประทานยาคุมกำเนิดจะมีผลต่อความดัน การตั้งครรภ์ก็มีผลต่อความดันโลหิตสูง วัยทอง รวมทั้งน้ำหนักตัวที่เพิ่มมีผลต่อสุขภาพโดยรวมของสตรี สตรีจะมีโอกาศเป็นความดันโลหิตสูง หากรับประทานยาคุมกำเนิด ตั้งครรภ์หรือวัยทอง
|
ความดันโลหิตต่ำ
ปกติความดันโลหิตยิ่งต่ำยิ่งดีเพราะเกิดโรคน้อย แต่หากความดันโลหิตที่ต่ำทำให้เกิดอาการ เวียนศีรษะ เป็นลมเวลาลุกขึ้นแสดงว่าความดันต่ำไป สาเหตุที่พบได้มีดังนี้
- ผู้ป่วยที่มีโรคระบบประสาทหรือต่อมไร้ท่อ
- ผู้ที่นอนป่วยนานไป
- ผู้ที่เสียน้ำหรือเลือด
เคล็ดลับในการรักษาความดันโลหิตสูง
|
|
ความดันโลหิตสูงในเด็ก
เราไม่ค่อยพบความดันโลหิตสูงในเด็ก แต่เด็กก็สามารถเป็นความดันโลหิตสูง การค้นพบความดันโลหิตสูงตั้งแต่แรก จะสามารถป้องกันโรคหัวใจ โรคไต ดังนั้นเด็กควรที่จะได้รับการวัดความดันโลหิตเหมือนผู้ใหญ่ สาเหตุก็มีทั้ง primary และ secondary พบว่าเด็กที่มีน้ำหนักตัวมาก เด็กที่มีประวัติครอบครัวเป็นความดันโลหิต หรือบางเชื้อชาติ กลุ่มเหล่านี้จะมีโอกาสเป็นความดันโลหิตสูง แพทย์แนะนำอาหาร และการออกกำลังกาย หากความดันโลหิตไม่ลงจึงให้ยารับประทาน
คนที่เป็นความดันโลหิตสูงสามารถอบ Sauna ได้หรือไม
คนที่เป็นโรคความดันโลหิตสูงสามารถอาบน้ำอุ่นหรืออบ Sauna ได้โดยที่ไม่เกิดผลเสีย ผู้ป่วยที่มีอาการแน่นหน้าอก หรือหายใจหอบควรจะหลีกเลี่ยงการอบ Sauna หรือแช่น้ำร้อน และไม่ควรที่จะดื่มสุรา นอกจากนั้นไม่ควรอาบน้ำร้อนสลับกับน้ำเย็นเพราะจะทำให้ความดันโลหิตสูงขึ้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น